วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ทางเลือก ทางรอด ของอุดมศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21

1.ต่อกรณีนศ.ลดลงมากทุก ม. แนวทางแก้ไขระยะยาววางแผนสนับสนุนให้ประชากรที่พร้อมมีบุตรในวัยอันควร เพื่อช่วยชาติ อาจจะเห็นผลในอีก 10 ปีข้างหน้า มีมาตรการภาษีคนโสด และมีโปรโมชั่นให้คนคุณภาพแต่งงานมีลูกมากขึ้น

2.แนวโน้ม ป.ตรี นศ.ลดลงทุก ม. ดังนั้น ม.ต่าง ๆ จึงควรมองกลุ่มผู้เรียนกลุ่มใหม่ เช่น วัยทำงานแล้ว วัยผู้สูงอายุ หรือ อบรมคอร์สสั้น ๆ เพื่อการทำงาน อาจจะเปิดเสาร์อาทิตย์ ภาคค่ำ สำหรับวัยทำงาน และ ป.โท เพราะฐานของ ป.โท ยังมีความต้องการศึกษาต่อเยอะ

3. ให้อาจารย์พนง.ทำวิจัยมากขึ้น  เน้น Track วิจัยไปเลย การสอนก็ปรับให้ได้คุณภาพเท่าที่บริบทจะเอื้ออำนวย เช่น NIDA และ ม.มหิดล ที่เปิดสอนสาขา รปศ. ระดับบัณฑิตศึกษา (ไม่เปิดป.ตรี) 

4. บาง ม.ให้อาจารย์ในสาขาต่าง ๆ หารายได้เข้า ม. โดยเน้นทำวิจัยกับองค์กรเอกชน เช่น กลุ่มพลังงาน กลุ่มวิศวะ /สายสังคมและมนุษย์ฯ ควรเน้นที่ลงพท.กับชุมชนและชาวบ้านมากขึ้น 

5.ปรับหลักสูตร อาจยุบรวมหลักสูตรใกล้เคียงกันอยู่ในร่มเดียวกัน เพื่อสร้างความเข้มแข็ง เช่น การรวมกันของ รัฐศาสตร์ รปศ. พัฒนาชุมชน เป็นวิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น เช่น COLA (มข.) วิทยาลัยปกครองท้องถิ่น ส่วน COPAG (ม.มหาสารคาม) ใช้ชื่อว่า วิทยาลัยการเมืองการปกครอง เป็นต้น 

อย่างกรณีของสาขา PA ของบรรดา มรภ.ต่าง ๆ ทั้ง 38 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ใต้ร่มคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย ภาษาจีน ภาษาไทย ภาษามลายู ภาษาอังกฤษ ดนตรี จิตรกรรม  พัฒนาชุมชน รัฐประศาสนศาสตร์ รัฐศาสตร์ การจัดการวัฒนธรรม ...ปัญหาที่พบเหมือน ๆ กัน คือ บางหลักสูตรนศ.น้อย (น่าตกใจ) บางหลักสูตรไม่ผ่านประเมิน บางหลักสูตรยังมีนศ.สนใจเรียน ฯลฯ

ผล คือ สาขาที่มีนศ.เยอะ ทำงานเลี้ยงทั้งคณะ ดูแลสาขาอื่นด้วย ประคับประคองกันไป ดังนั้น สาขาฯ ที่มีศักยภาพ และยังมีนศ.สนใจเรียน จึงรวมตัวกัน Independence จากร่มใหญ่ เพื่อความอยู่รอดของสาขา เป็นต้น 

นอกจากนี้ จะ Back to basic ค่ะ อย่างที่ ม.ในต่างประเทศนำกลับมาทบทวนใหม่ คือ ม.เฉพาะทาง เช่น ม.มหิดล เน้นการแพทย์ ม.ราชภัฏ เน้นผลิตครู กล่าวคือ ถ้าม.ค้นพบแนวทางและจุดยืนของตนเองอาจปรับให้เป็นเลิศทางด้านนั้นไปเลยค่ะ 

ขออนุญาตยก case ของ สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ ซึ่งเดิมอยู่ใต้ร่มของสำนักวิชาศิลปศาสตร์ฯ เขาวางแผนแยกออกมาตั้งคณะใหม่ เพื่อความเป็นเฉพาะทางโดยรวมกับนิติศาสตร์ เพิ่งแยกออกมาราว ต้นปี 2560 ที่ผ่านมาค่ะ 

คงต้องยอมรับว่า จริงอยู่ก.ศึกษาธิการมีความสำคัญมาก (ก ล้านตัว) แต่ในทางปฏิบัติ นโยบายและงบประมาณของเกือบทุกรัฐบาลกลับไปทุ่มให้กับ ก.อื่น ๆ ก.ศึกษา คือ กระทรวงเกรด D E F ที่จะได้งบน้อยที่สุด เพิ่งจะปีล่าสุดที่ได้งบเยอะที่สุด แต่ถามว่า...เพิ่งจะมาเห็นความสำคัญมันช้าไปรึเปล่า...ทุ่มงบให้แล้วเอาไปใช้ถูกที่ถูกทางรึเปล่า ทุ่มงบวันนี้ การพัฒนาคนต้องใช้เวลา อาจเห็นผลอีก 10-20 ปีข้างหน้า อย่างที่สิงคโปร์เคยทำมาแล้ว และล่าสุด นายกมหาเธ ของมาเลเซียก็ดึงมาเลเซียกลับมาเน้น HR HCM มากขึ้น 

ที่ผ่านมา รัฐบาลพยายามผลักภาระอุดมศึกษามานานแล้ว ตั้งแต่การไม่รับข้าราชการ หันมารับ พนง.แทน เท่ากับลดทอนสวัสดิการของรัฐที่จะให้กับส่วนนี้ไปและอนาคตข้าราชการจะหมดไป เหลือพนง.ต้องรับความเสี่ยงเอง ถ้าทำงานได้ มีผลงานก็จะยังจ้างต่อ ถ้าไม่เป็นไปตาม TOR หรือ ล้มป่วย หรือ เกิดอะไรขึ้น ไม่มีใครรับผิดชอบใด ๆ เลย การจ้างงานในอุดมศึกษาทุกวันนี้ แทบจะมองคนทำงานเป็นหุ่นยนต์ กลับไปเป็นยุคแรก ๆ อีกครั้ง รวมถึงความพยายามที่รัฐผลักให้ ม.ต่าง ๆ ที่พอเลี้ยงตัวเองได้ออกนอกระบบภายใต้ชื่อ "ม.ในกำกับ" (autonomous university)

นอกจากนี้ ยังมีการเปลี่ยนแปลง ปรับโฉมของวงการอุดมศึกษาของไทยอีกมาก ภายหลังจากการจัดตั้งกระทรวงอุดมศึกษาอย่างเป็นทางการ...ซึ่งคงจะประกาศในไม่ช้า

จากปัญหานศ.ลด ยังมีอีกข้อมูลนะคะ พี่ฟังจากบรรดาผู้ปกครอง เล่าว่า ตอนนี้ลูก ๆ ของเธอไม่มีที่เรียน เพราะเขาปรับระบบใหม่ นักเรียนจำนวนมาก เคว้งคว้าง หาที่ลงไม่ได้ เพราะระบบการรับสมัครแบบใหม่ ทำเอาทุกคนมึน งง ผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยบ่นอุบว่า ต้องพาลูกไปสมัครเอกชน และจ่ายค่าเทอมแพง เพราะกลัวว่าลูกจะไม่มีที่เรียนค่ะ...เลยมองว่า การปรับระบบใหม่ แล้วไม่ทำความเข้าใจให้ตรงกันทุกฝ่าย ปรับบ่อย และไม่ทำให้เรื่องยากเป็นเรื่องง่าย ตรงข้ามบางทีกลับทำให้เรื่องง่ายกลายเป็นยาก...เลยทำให้ระบบการรับสมัครนศ.ปีนี้ รวน ทุกแห่งค่ะ ... งง ๆ กันไป 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น