เคยอ่านเจอ และล่าสุดได้ฟังคลิปที่คุณฌอน พูด ซึ่งก็คือเรื่องเดียวกัน สาระสำคัญของเรื่อง คือ...
ของสิ่งหนึ่งจะมีคุณค่าหรือไม่ มากน้อยเพียงใด ขึ้นกับคนที่มอง คนที่ตัดสิน รวมถึงสถานที่ที่มันปรากฏอยู่
หินก้อนหนึ่ง ดูว่าน่าจะมีค่า มีราคา ถ้าอยู่ในตลาด ค่าของมันก็จะประมาณหนึ่ง เช่น คนอาจจะให้ราคา 200 บาท
หินก้อนเดียวกัน ถ้าเอาไปวางในพิพิธภัณฑ์ คนมองอาจประเมินค่าว่ามันเป็นของเก่าแก่ โบราณ หายาก คนนั้นอาจประเมินค่าของมันสูงถึง 200000 บาท
หินก้อนเดียวกัน ถ้าเอาไปวางในร้านเพชร ถ้ามันได้รับการเจียระไน มันอาจมีมูลค่าสูงมาก คนจึงประเมินค่าหินก่อนนี้ 2 ล้านบาท
หินก้อนเดียวกัน ต่างกรรม ต่างวาระ ต่างคนมอง ต่างสถานที่ ถูกตีความ และให้ความหมายให้คุณค่าต่างกัน
ฉันฟังเรื่องนี้ คิดเชื่อมโยงได้หลายอย่าง แต่สิ่งหนึ่งอาจหมายถึง "คน" ที่เป็น Talent ขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง ฉันเคยได้ยินมาว่า สิ่งหนึ่งที่จะรักษาคนลักษณะ Talent เอาไว้ได้ผู้นำจะต้อง 1) มีความยุติธรรม 2) มีความสามารถ และ 3) มีคุณธรรม
ถ้าองค์กรวางคนลักษณะ Talent ไว้ถูกคน ถูกที่ ถูกเวลา องค์กรจะพัฒนาไปไกลมาก
วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2561
ฟองสบู่ลดโลกร้อน
หลายวันก่อน ขับรถกลับจากทำภารกิจสำคัญ ขณะจอดไฟแดงแถว central มีรถคันนึง ป้ายทะเบียน กทม. จู่ ๆ ก็ลงกระจก (ราว 10 cm.) ดิฉันจอดใกล้ ๆ เลยมองอย่างใจจดใจจ่อว่ารถคันนั้นจะทำอะไร...สักพัก มีลูกโป่งน้ำ ลูกเล็ก ลูกใหญ่ ลูกกลาง ลอยละล่องออกมาจากทางด้านคนขับ แสดงว่าคนขับเป็นคนเป่าลูกโป่งเล็ก ๆ เหล่านั้น มันลอยผ่านทางด้านข้างรถฉัน สายตาของรถที่ติดไฟแดงมองตามลูกโป่งไป...บรรยากาศที่ร้อนระอุช่วงเกือบ 3 โมง ลดอุณหภูมิลงทันที แล้วรอยยิ้มและเสียงหัวเราะของฉันก็ดังออกมาสะเทือนรถทันที ช่างน่ารักอะไรปานนั้น...ฉันขอบคุณคนขับท่านนั้นที่ช่วยสร้างสีสันในชีวิตช่วงรถติดไฟแดงอันแสนน่าเบื่อ ทำให้กลายเป็นช่วงเวลาที่น่ามหัศจรรย์ยิ่งนัก...คนขับคันนั้นเป่าลูกโป่งออกมาไม่นาน (ราว ๆ 10 ลูก) เขาก็รีบปิดกระจก...นึกถึงประโยคนี้ขึ้นมาเลย #มาทำให้อยากแล้วจากไป 555
ที่สุดของที่สุด
คมธรรมประจำวัน by ท่าน ว.วชิรเมธี
1.คนที่จริงใจที่สุด...จะคบเพื่อนน้อยที่สุด
2.คนที่ฉลาดที่สุด...จะอวดฉลาดน้อยที่สุด
3.คนที่เก่งที่สุด...จะหวงวิชาน้อยที่สุด
4.คนที่ใจกว้างที่สุด...จะทำดีเอาหน้าน้อยที่สุด
5.คนที่เห็นค่าตัวเองที่สุด...จะเรียกร้องน้อยที่สุด
6.คนที่ผลงานดีที่สุด...จะวิจารณ์น้อยที่สุด
7.คนที่พัฒนาเร็วที่สุด...จะ ego น้อยที่สุด
8.คนที่เป็นอิสระที่สุด...จะแคร์คนอื่นน้อยที่สุด
9.คนที่รวยที่สุด...จะโอ้อวดน้อยที่สุด
10.คนที่มีความสุขที่สุด...จะใช้ชีวิตยุ่งยากน้อยที่สุด
1.คนที่จริงใจที่สุด...จะคบเพื่อนน้อยที่สุด
2.คนที่ฉลาดที่สุด...จะอวดฉลาดน้อยที่สุด
3.คนที่เก่งที่สุด...จะหวงวิชาน้อยที่สุด
4.คนที่ใจกว้างที่สุด...จะทำดีเอาหน้าน้อยที่สุด
5.คนที่เห็นค่าตัวเองที่สุด...จะเรียกร้องน้อยที่สุด
6.คนที่ผลงานดีที่สุด...จะวิจารณ์น้อยที่สุด
7.คนที่พัฒนาเร็วที่สุด...จะ ego น้อยที่สุด
8.คนที่เป็นอิสระที่สุด...จะแคร์คนอื่นน้อยที่สุด
9.คนที่รวยที่สุด...จะโอ้อวดน้อยที่สุด
10.คนที่มีความสุขที่สุด...จะใช้ชีวิตยุ่งยากน้อยที่สุด
ผู้หญิง...อย่าหยุดสวย
ฟังรายการสนทนาเกี่ยวกับความงาม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญของรพ.แห่งหนึ่งออกรายการให้ความรู้แก่บรรดาคนรักสวยรักงาม ข้อมูลใหม่ที่ฉันเพิ่งทราบ คือ ปริมาณของครีมกันแดดที่เหมาะสมและถูกต้องเท่ากับ 1 ช้อนชา ที่ผ่านมา หลายคนเป็นฝ้าเพราะอาจทาในปริมาณที่น้อยเกินไปจึงไม่สามารถปกป้องได้ คุณหมอบอกว่าถ้าทำงานอยู่แต่ใน office SPF 30 เอาอยู่ค่ะ แต่ถ้าต้องออกกลางแจ้ง ควรใช้ SPF สูงกว่านั้นยิ่งสูงยิ่งดี คุณหมอบอกว่าควรเลือกที่กัน UVA ได้ด้วย คนมักเข้าใจผิดว่าใช้เครื่องสำอางตัวนั้น 30 ตัวนี้ 15 ตัวนี้ 20 แล้วมันจะไปผสมกันเองแล้วเพิ่มค่า SPF ขึ้นมา อันนั้นคิดผิดนะคะ ต้องเลือกที่มีค่า SPF เหมาะสมเลยจ้า ทิ้งท้ายเกี่ยวกับครีมกันแดด คุณหมอคนสวยบอกว่า กลางคืนไม่ต้องใช้กันแดดนะคะ ไม่ต้องใช้เครื่องสำอางที่มี SPF เพราะมันจะสิ้นเปลืองและหนักหน้าเปล่า ๆ เขาจึงผลิตแยกกันเป็นตัวกลางวัน (Day cream) กับ กลางคืน (Night cream) ยังงัยละจ้าทุกคน
พระอนุรุทธะ #1
เมื่อวานฟังธรรมะจากพระไตรปิฎก แสดงธรรมโดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ท่านเล่าเรื่อง บุรพกรรมของพระอนุรุทธะผู้เลิศด้วยทิพยจักขุญาณ ท่านเล่าว่า...
ชาติหนึ่งพระอนุรุทธเคยเกิดเป็นคนธรรมดา ยากจนเข็ญใจ เป็นข้าทาสรับใช้ในบ้านของเศรษฐีผู้ใจบุญท่านหนึ่งนามว่า “อันนภาระ”
วันหนึ่ง “อันนภาระ” ออกไปทำงาน ภรรยาได้คดข้าวไปให้ เป็นอาหารของคนยากจนที่ไม่ได้มีอะไรวิเศษนัก หวังเพียงให้สามีมีกำลังพอที่จะใช้แรงงานทำการงานของบ่าวผู้รับใช้นายตามแต่นายจะสั่งให้ทำอะไร โดยมากก็จะเป็นงานแบกหาม และงานใช้กำลังกายเสียส่วนใหญ่
วันนั้นเอง ขณะที่ “อันนภาระ” ออกไปทำงาน ระหว่างทางก็ไปพบกับพระปัจเจกพุทธเจ้าท่านหนึ่ง พระองค์ทรงวินิจฉัยแล้วว่าจะมาโปรดบุรุษเข็ญใจผู้นี้ จึงออกจากนิโรธสมาบัติ แล้วเหาะมายังป่าที่ “อันนภาระ” ทำงาน
“อันนภาระ” พอเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็อดที่จะตื้นตันใจไม่ได้ จึงคิดว่าเป็นโชคดีของเราแล้วที่พบพระองค์ ในชาตินี้ไม่รู้ว่าเราจะมีโอกาสดีแบบนี้อีกหรือไม่ จึงได้นำห่อข้าวที่ภรรยาเตรียมให้ไว้กินขณะอยู่ในป่า ใส่บาตรถวายภัตตาหารแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า โดยที่ไม่คิดเลยว่าตนเองจะอดตายในป่าเพราะได้ถวายอาหารไปจนหมดสิ้น ขณะใส่บาตรก็ได้อธิษฐานในใจว่า ชาตินี้ข้าพเจ้ายากจนเข็ญใจยิ่งนัก ไม่มีเงินทอง ทรัพย์สินใด ๆ เลย แร้นแค้นฝืดเคืองยิ่งนัก นับจากนี้ขอให้ข้าพเจ้าจงอย่าพบเจอกับคำว่า "ไม่มี" อีกเลยในทุกภพทุกชาติ
ชาติหนึ่งพระอนุรุทธเคยเกิดเป็นคนธรรมดา ยากจนเข็ญใจ เป็นข้าทาสรับใช้ในบ้านของเศรษฐีผู้ใจบุญท่านหนึ่งนามว่า “อันนภาระ”
วันหนึ่ง “อันนภาระ” ออกไปทำงาน ภรรยาได้คดข้าวไปให้ เป็นอาหารของคนยากจนที่ไม่ได้มีอะไรวิเศษนัก หวังเพียงให้สามีมีกำลังพอที่จะใช้แรงงานทำการงานของบ่าวผู้รับใช้นายตามแต่นายจะสั่งให้ทำอะไร โดยมากก็จะเป็นงานแบกหาม และงานใช้กำลังกายเสียส่วนใหญ่
วันนั้นเอง ขณะที่ “อันนภาระ” ออกไปทำงาน ระหว่างทางก็ไปพบกับพระปัจเจกพุทธเจ้าท่านหนึ่ง พระองค์ทรงวินิจฉัยแล้วว่าจะมาโปรดบุรุษเข็ญใจผู้นี้ จึงออกจากนิโรธสมาบัติ แล้วเหาะมายังป่าที่ “อันนภาระ” ทำงาน
“อันนภาระ” พอเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็อดที่จะตื้นตันใจไม่ได้ จึงคิดว่าเป็นโชคดีของเราแล้วที่พบพระองค์ ในชาตินี้ไม่รู้ว่าเราจะมีโอกาสดีแบบนี้อีกหรือไม่ จึงได้นำห่อข้าวที่ภรรยาเตรียมให้ไว้กินขณะอยู่ในป่า ใส่บาตรถวายภัตตาหารแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า โดยที่ไม่คิดเลยว่าตนเองจะอดตายในป่าเพราะได้ถวายอาหารไปจนหมดสิ้น ขณะใส่บาตรก็ได้อธิษฐานในใจว่า ชาตินี้ข้าพเจ้ายากจนเข็ญใจยิ่งนัก ไม่มีเงินทอง ทรัพย์สินใด ๆ เลย แร้นแค้นฝืดเคืองยิ่งนัก นับจากนี้ขอให้ข้าพเจ้าจงอย่าพบเจอกับคำว่า "ไม่มี" อีกเลยในทุกภพทุกชาติ
พระอนุรุทธะ #2
สิ้นคำอธิษฐานของ "อันนภาระ" พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ได้กระทำอนุโมทนาว่า “ขอความปรารถนาของท่านจงเป็นอย่างนั้นเถิด ท่านผู้มีบุญมาก” แล้วท่านก็หลีกไป และด้วยอานิสงส์แห่งการทำบุญกับพระปัจเจกพุทธเจ้านี้เอง จึงส่งผลให้บุญเกิดขึ้นทันทีในภพชาติปัจจุบัน
เทวดาที่ประจำบ้านเศรษฐีก็กล่าวคำอนุโมทนาสาธุดังออกมาจนท่านเศรษฐีได้ยิน ท่านเศรษฐีผู้เป็นนายสงสัยว่าอันนภาระทำบุญใดหนอที่ทำให้เทวดาทั้งหลายกล่าวคำสาธุการออกมา เราผู้เป็นเศรษฐี ทำบุญมามากมายแต่ไม่เคยได้ยินเทวดาเปล่งวาจาสาธุการออกมาเลย จำต้องไปสอบถามบ่าวผู้นี้ให้รู้ความ
เศรษฐีจึงเรียกอันนภาระมาสอบถาม อันนะภาระเล่าไปตามความจริง แล้วเศรษฐีก็คิดว่าจะขอบุญทั้งหมดจากอันนะภาระมาเป็นของตน โดยจะมอบเงินทองทรัพย์สินให้เป็นการตอบแทน เศรษฐียื่นข้อเสนอให้เท่าใด อันนะภาระก็ปฏิเสธทุกครั้งแม้ว่าจะเป็นจำนวนมหาศาลก็ตาม
อันนภาระด้วยความที่เป็นบ่าว จึงตอบแก่ท่านเศรษฐีไปว่า ข้าทำบุญไปแล้วด้วยทุกอย่างที่ข้ามี ข้าตั้งใจถวายแด่องค์พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าไม่สามารถยกบุญนี้ทั้งหมดให้แก่ท่านได้ เศรษฐีจึงเสนอว่า ถ้าเช่นนั้นท่านจงแบ่งบุญของท่านส่วนหนึ่งให้กับเราเถิด
อันนภาระได้ยินก็เกิดความสงสัยจึงกล่าวกับเศรษฐีว่า อันนี้ข้าไม่มีความรู้ว่าให้ท่านได้หรือไม่ ข้าขอไปสอบถามพระปัจเจกพุทธเจ้าก่อน ท่านคงยังเดินไปไม่ไกลนัก ทราบความอย่างไรแล้วข้าจะมาบอก
เทวดาที่ประจำบ้านเศรษฐีก็กล่าวคำอนุโมทนาสาธุดังออกมาจนท่านเศรษฐีได้ยิน ท่านเศรษฐีผู้เป็นนายสงสัยว่าอันนภาระทำบุญใดหนอที่ทำให้เทวดาทั้งหลายกล่าวคำสาธุการออกมา เราผู้เป็นเศรษฐี ทำบุญมามากมายแต่ไม่เคยได้ยินเทวดาเปล่งวาจาสาธุการออกมาเลย จำต้องไปสอบถามบ่าวผู้นี้ให้รู้ความ
เศรษฐีจึงเรียกอันนภาระมาสอบถาม อันนะภาระเล่าไปตามความจริง แล้วเศรษฐีก็คิดว่าจะขอบุญทั้งหมดจากอันนะภาระมาเป็นของตน โดยจะมอบเงินทองทรัพย์สินให้เป็นการตอบแทน เศรษฐียื่นข้อเสนอให้เท่าใด อันนะภาระก็ปฏิเสธทุกครั้งแม้ว่าจะเป็นจำนวนมหาศาลก็ตาม
อันนภาระด้วยความที่เป็นบ่าว จึงตอบแก่ท่านเศรษฐีไปว่า ข้าทำบุญไปแล้วด้วยทุกอย่างที่ข้ามี ข้าตั้งใจถวายแด่องค์พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าไม่สามารถยกบุญนี้ทั้งหมดให้แก่ท่านได้ เศรษฐีจึงเสนอว่า ถ้าเช่นนั้นท่านจงแบ่งบุญของท่านส่วนหนึ่งให้กับเราเถิด
อันนภาระได้ยินก็เกิดความสงสัยจึงกล่าวกับเศรษฐีว่า อันนี้ข้าไม่มีความรู้ว่าให้ท่านได้หรือไม่ ข้าขอไปสอบถามพระปัจเจกพุทธเจ้าก่อน ท่านคงยังเดินไปไม่ไกลนัก ทราบความอย่างไรแล้วข้าจะมาบอก
พระอนุรุทธะ #3
ด้วยพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้มีญาณหยั่งรู้กาลเบื้องหน้าทราบว่าภายหลังการใส่บาตรของอันนภาระแล้วจะเกิดอะไรขึ้น ท่านจึงรีรออยู่ในป่าละแวกนั้น มิได้เหาะกลับไปยังทีพำนักเดิมของท่านตามปกติวิสัย
อันนภาระเดินตามมาท้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้เรียนถามท่านไปว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เศรษฐีผู้เป็นนายของข้าพระองค์มีความปรารถนาบุญส่วนหนึ่งที่ข้าพระพุทธเจ้าทำโดยการใส่บาตรแก่พระองค์ไปเมื่อสักครู่ ข้าพระองค์สามารถแบ่งบุญส่วนหนึ่งให้แก่ท่านเศรษฐีได้หรือไม่พระพุทธเจ้าข้า"
พระปัจเจกพุทธเจ้าตรัสว่า "ดูก่อนอันนภาระ ท่านเคยเห็นแสงจากไต้หรือตะเกียงใช่หรือไม่ เมื่อมีคนเอาคบมาจุดต่อ ๆ กันไป คนแล้วคนเล่า ไต้/ตะเกียงนั้นยังสว่างดีอยู่หรือไม่" อันนภาระตอบไปว่า ยังสว่างพระพุทธเจ้าข้า พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงตรัสต่อว่า บุญที่ท่านทำแก่เราในวันนี้ก็เช่นกัน ดุจแสงสว่างจากไต้/ตะเกียงที่โชติช่วง แม้จะมีคนมาขอแบ่งบุญ หรือ ท่านจะยกบุญส่วนนี้ให้กับผู้ใดก็ตาม บุญนั้นก็ยังคงอยู่กับท่านเช่นเดิมมิได้ลดลงเลย หากแต่บุญส่วนหนึ่งที่ท่านแบ่งให้กับผู้อื่นต่อ ๆ ไปนั้น ผู้ที่รับบุญนั้นจากท่านก็จะไปทำบุญทำกุศลต่อ ทำความสว่างกับจิตใจ ทำความดีงามแก่ตนเองและแก่ผู้อื่นไม่จบสิ้นเช่นกัน จึงเสมือนแสงสว่างที่ค่อย ๆ สว่าง แผ่กว้างออกไปนั่นเอง"
ได้ยินดังนั้น อันนภาระผู้มีความจงรักภักดีต่อนาย จึงรีบกลับไปบอกท่านเศรษฐีด้วยความยินดี
อันนภาระเดินตามมาท้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้เรียนถามท่านไปว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เศรษฐีผู้เป็นนายของข้าพระองค์มีความปรารถนาบุญส่วนหนึ่งที่ข้าพระพุทธเจ้าทำโดยการใส่บาตรแก่พระองค์ไปเมื่อสักครู่ ข้าพระองค์สามารถแบ่งบุญส่วนหนึ่งให้แก่ท่านเศรษฐีได้หรือไม่พระพุทธเจ้าข้า"
พระปัจเจกพุทธเจ้าตรัสว่า "ดูก่อนอันนภาระ ท่านเคยเห็นแสงจากไต้หรือตะเกียงใช่หรือไม่ เมื่อมีคนเอาคบมาจุดต่อ ๆ กันไป คนแล้วคนเล่า ไต้/ตะเกียงนั้นยังสว่างดีอยู่หรือไม่" อันนภาระตอบไปว่า ยังสว่างพระพุทธเจ้าข้า พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงตรัสต่อว่า บุญที่ท่านทำแก่เราในวันนี้ก็เช่นกัน ดุจแสงสว่างจากไต้/ตะเกียงที่โชติช่วง แม้จะมีคนมาขอแบ่งบุญ หรือ ท่านจะยกบุญส่วนนี้ให้กับผู้ใดก็ตาม บุญนั้นก็ยังคงอยู่กับท่านเช่นเดิมมิได้ลดลงเลย หากแต่บุญส่วนหนึ่งที่ท่านแบ่งให้กับผู้อื่นต่อ ๆ ไปนั้น ผู้ที่รับบุญนั้นจากท่านก็จะไปทำบุญทำกุศลต่อ ทำความสว่างกับจิตใจ ทำความดีงามแก่ตนเองและแก่ผู้อื่นไม่จบสิ้นเช่นกัน จึงเสมือนแสงสว่างที่ค่อย ๆ สว่าง แผ่กว้างออกไปนั่นเอง"
ได้ยินดังนั้น อันนภาระผู้มีความจงรักภักดีต่อนาย จึงรีบกลับไปบอกท่านเศรษฐีด้วยความยินดี
พระอนุรุทธะ #4
อันนภาระบอกกับเศรษฐีผู้เป็นนายว่า "ข้ายินดีแบ่งบุญของข้าที่ได้ทำในวันนี้แก่ท่าน ท่านจงรับไว้เถิด" เศรษฐีได้ยินจึงเปล่งคำว่า "สาธุ" ออกมาด้วยเสียงอันดัง แล้วบอกกับอันนภาระว่า ท่านจงรับเอาเงินจำนวนนี้ไว้เถิด อันนภาระปฏิเสธเงินจากเศรษฐีเพราะตนมิได้ทำบุญเพื่อหวังจะขายบุญ หรือ ตีเป็นราคาค่างวดแต่อย่างใด
เศรษฐีได้เห็นความดีงามของอันนภาระ จึงบอกไปว่า สหายของข้า ท่านจงรับเอาเงินจำนวนนี้ไว้เถิด ข้ามอบให้เจ้าเพราะตอบแทนความดีงามในตัวของเจ้า มันสมควรเป็นของผู้มีจิตใจดีงามอย่างเจ้า และจงอย่าได้ไปไหนอีกเลยสหายของข้า ท่านจงปลูกเรือนหลังงามในเขตบริเวณบ้านของข้าเถิด
ความเรื่องนี้ ทราบถึงกษัตริย์ผู้ปกครองแคว้นนั้น กษัตริย์จึงทรงแต่งตั้งให้อันนภาระเป็นเศรษฐี และมอบเงินจำนวนหนึ่งให้เขา หลังจากนั้น ทั้งอันนภาระเศรษฐี และสุมมนาเศรษฐีผู้เป็นนายของอันนภาระแต่เดิม ทั้งสองได้เป็นสหายกันมา เกื้อกูลกันมา และจรรโลงพุทธศาสนาสืบจนอายุขัยของคนทั้งสอง
บุรพกรรมของอันนภาระที่ถวายอาหารแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นกรรมดีอันยิ่งใหญ่ แม้แต่เทวดายังสาธุการ จึงบังเกิดผลในปัจจุบันตามคำอธิษฐานของอันนภาระ ที่ไม่พึงปรารถนาจะพบกับคำว่า "ไม่มี" อีกเลย นับแต่ภพชาตินั้น ไม่ว่าอันนภาระจะไปเกิดในภพชาติใด เขาก็ไม่เคยแร้นแค้น ขัดสน จะมีในทุกสิ่งที่เขาปรารถนาจะมี แม้บางอย่างไม่มี เทวดาละแวกนั้นก็ไปจัดหามาจนได้ เพราะจะให้อันนภาระพบกับคำว่า "ไม่มี" เห็นทีจะไม่ได้ เพราะเป็นอานิสงส์ที่ท่านทำมาแต่กาลก่อนส่งผลสืบไปในทุกภพชาติจนกว่าจะเข้าสู่พระนิพพาน
แม้แต่เศรษฐีผู้เป็นนายของอันนภาระก็เช่นกัน ในชาติที่อันนภาระมาเกิดเป็นพระอนุรุทธ เศรษฐีก็เกิดมาเป็นเด็กอายุ 7 ขวบ มีพี่ชาย 1 คน ในบ้านหลังหนึ่งที่พระอนุรุทธะรู้จักดี เมื่อพระอนุรุทธะได้ทิพยจักขุญาณตามคำอธิษฐานครั้งแรก (ก่อนหน้าจะอธิษฐานที่จะไม่พบกับคำว่า ไม่มี) ท่านจึงใช้ทิพยจักขุญาณตรวจสอบว่าสหายของท่านอยู่ที่ใด ท่านปรารถนาจะไปโปรดสหายท่านนั้นด้วยเช่นกัน พอทราบว่าสหายผู้นี้จะได้บรรลุอรหัตผลขณะปลงผมเป็นสามเณรท่านจึงเหาะไปที่หมู่บ้านนั้น แล้วจำพรรษาที่นั่น
พอสิ้นพรรษาพ่อของเด็กก็ยกลูกชายคนโตให้บวชเป็นสามเณร ท่านอนุรุทธะนิ่ง บิดาของเด็กทั้งสองคนจึงเสนอลูกชายคนเล็กให้บวช ท่านอนุรุทธะกล่าวตอบว่า "ดีแล้ว" เมื่อเด็กชายอายุ 7 ขวบผู้นั้นบวช ด้วยบุญและอานิสงส์ที่ทำมาในชาติปางก่อน จึงส่งผลให้เด็กน้อยผู้นั้นบรรลุอรหันต์ขณะกำลังปลงผมเป็นสามเณร...สิ่งนี้แสดงว่า บุรพกรรมที่เรากับกัลยาณมิตรเกื้อหนุนกันมาย่อมส่งผลให้ติดตามกันไปเกื้อหนุนกันทุกภพทุกชาติและเข้าถึงพระนิพพานไปพร้อม ๆ กัน หรือในเวลาอันใกล้เคียงกัน เฉกเช่น อันนภาระ กับ เศรษฐี ผู้เป็นสหายต่อกันนั่นเอง
เศรษฐีได้เห็นความดีงามของอันนภาระ จึงบอกไปว่า สหายของข้า ท่านจงรับเอาเงินจำนวนนี้ไว้เถิด ข้ามอบให้เจ้าเพราะตอบแทนความดีงามในตัวของเจ้า มันสมควรเป็นของผู้มีจิตใจดีงามอย่างเจ้า และจงอย่าได้ไปไหนอีกเลยสหายของข้า ท่านจงปลูกเรือนหลังงามในเขตบริเวณบ้านของข้าเถิด
ความเรื่องนี้ ทราบถึงกษัตริย์ผู้ปกครองแคว้นนั้น กษัตริย์จึงทรงแต่งตั้งให้อันนภาระเป็นเศรษฐี และมอบเงินจำนวนหนึ่งให้เขา หลังจากนั้น ทั้งอันนภาระเศรษฐี และสุมมนาเศรษฐีผู้เป็นนายของอันนภาระแต่เดิม ทั้งสองได้เป็นสหายกันมา เกื้อกูลกันมา และจรรโลงพุทธศาสนาสืบจนอายุขัยของคนทั้งสอง
บุรพกรรมของอันนภาระที่ถวายอาหารแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นกรรมดีอันยิ่งใหญ่ แม้แต่เทวดายังสาธุการ จึงบังเกิดผลในปัจจุบันตามคำอธิษฐานของอันนภาระ ที่ไม่พึงปรารถนาจะพบกับคำว่า "ไม่มี" อีกเลย นับแต่ภพชาตินั้น ไม่ว่าอันนภาระจะไปเกิดในภพชาติใด เขาก็ไม่เคยแร้นแค้น ขัดสน จะมีในทุกสิ่งที่เขาปรารถนาจะมี แม้บางอย่างไม่มี เทวดาละแวกนั้นก็ไปจัดหามาจนได้ เพราะจะให้อันนภาระพบกับคำว่า "ไม่มี" เห็นทีจะไม่ได้ เพราะเป็นอานิสงส์ที่ท่านทำมาแต่กาลก่อนส่งผลสืบไปในทุกภพชาติจนกว่าจะเข้าสู่พระนิพพาน
แม้แต่เศรษฐีผู้เป็นนายของอันนภาระก็เช่นกัน ในชาติที่อันนภาระมาเกิดเป็นพระอนุรุทธ เศรษฐีก็เกิดมาเป็นเด็กอายุ 7 ขวบ มีพี่ชาย 1 คน ในบ้านหลังหนึ่งที่พระอนุรุทธะรู้จักดี เมื่อพระอนุรุทธะได้ทิพยจักขุญาณตามคำอธิษฐานครั้งแรก (ก่อนหน้าจะอธิษฐานที่จะไม่พบกับคำว่า ไม่มี) ท่านจึงใช้ทิพยจักขุญาณตรวจสอบว่าสหายของท่านอยู่ที่ใด ท่านปรารถนาจะไปโปรดสหายท่านนั้นด้วยเช่นกัน พอทราบว่าสหายผู้นี้จะได้บรรลุอรหัตผลขณะปลงผมเป็นสามเณรท่านจึงเหาะไปที่หมู่บ้านนั้น แล้วจำพรรษาที่นั่น
พอสิ้นพรรษาพ่อของเด็กก็ยกลูกชายคนโตให้บวชเป็นสามเณร ท่านอนุรุทธะนิ่ง บิดาของเด็กทั้งสองคนจึงเสนอลูกชายคนเล็กให้บวช ท่านอนุรุทธะกล่าวตอบว่า "ดีแล้ว" เมื่อเด็กชายอายุ 7 ขวบผู้นั้นบวช ด้วยบุญและอานิสงส์ที่ทำมาในชาติปางก่อน จึงส่งผลให้เด็กน้อยผู้นั้นบรรลุอรหันต์ขณะกำลังปลงผมเป็นสามเณร...สิ่งนี้แสดงว่า บุรพกรรมที่เรากับกัลยาณมิตรเกื้อหนุนกันมาย่อมส่งผลให้ติดตามกันไปเกื้อหนุนกันทุกภพทุกชาติและเข้าถึงพระนิพพานไปพร้อม ๆ กัน หรือในเวลาอันใกล้เคียงกัน เฉกเช่น อันนภาระ กับ เศรษฐี ผู้เป็นสหายต่อกันนั่นเอง
พระอนุรุทธะ #5 (ตอนจบ)
สมัยที่พระอนุรุทธะยังทรงพระเยาว์ ทรงมีพระสหายเป็นลูกกษัตริย์ 5 พระองค์จากเมืองใกล้เคียง รวมพระอนุรุทธก็เป็น 6 พระองค์ พระโอรสลูกกษัตริย์มักมารวมตัวกันเล่นสนุก ๆ ด้วยกันเสมอ ใครแพ้ก็ส่งคนไปบอกพระมารดาเพื่อขอขนมมาเป็นเดิมพัน
พระอนุรุทธะเล่นเกมแพ้ถึง 3 ครา แต่ละครั้งก็จะส่งคนไปบอกพระมารดาขอขนม พระมารดาก็เตรียมถาดทองคำใบใหญ่ ข้างในบรรจุขนมแสนอร่อยเต็มถาดแล้วให้คนส่งไปมอบให้พระอนุรุทธะเอาไปกินกันกับเพื่อน ๆ ในฐานะที่แพ้พนันขันต่อทุกครั้ง
มาจนถึงครั้งที่ 4 พระอนุรุทธะยังคงเล่นเกมแพ้ลูกกษัตริย์จากเมืองอื่น คราวนี้พระองค์ก็ทรงทำแบบเดิม แต่คราวนี้พระมารดาต้องการอบรมพระอนุรุทธผู้เป็นที่รักว่า ในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดที่เจ้าต้องการแล้วจะได้ไปเสียทุกสิ่ง แม้เป็นลูกกษัตริย์เพียบพร้อมไปทุกอย่าง เจ้าก็ต้องเรียนรู้สิ่งนี้ พระมารดาจึงตอบกับคนส่งขนมว่า ไม่มีหรอกนะขนม เราทำขนมจนหมดสิ้นแล้ว ไม่มีขนมให้อีกแล้ว จงไปทูลกับพระอนุรุทธะว่า "ขนมไม่มี" ว่าแล้วพระองค์ก็ทรงนำถาดทองคำใบใหญ่ แล้วเอาถาดเปล่าวางลงไป คนส่งขนมมองในถาดก็สงสัยแต่มิกล้าถามพระมารดา เขาได้ถือถาดทองคำไปให้พระอนุรุทธยังเมืองที่ทรงเล่นกับเพื่อน ๆ นั่นเอง
ระหว่างทาง ร้อนถึงบรรดาเทวดาในละแวกนั้น เทวดาประชุมกันว่า ในบุพกาลพระอนุรุทธะได้ทรงอธิษฐานว่าจะไม่พบกับคำว่า "ไม่มี" อีก และพระปัจเจกพุทธเจ้าก็ทรงตรัสอนุโมทนาบุญนี้แล้วและทรงอวยพรให้เป็นไปตามคำอธิษฐานนั้น เทวดาจึงเสกขนมทิพย์เต็มถาดทองคำ
พอคนส่งขนมวางถาดลงตรงหน้าพระพักตร์ พระอนุรุทธะจึงตรัสถามว่า คราวนี้พระมารดาส่งขนมอะไรมาให้เรานะ เราหิวแล้วและเพื่อน ๆ ก็รอกินขนมเช่นกัน คนส่งขนมกราบทูลไปตามความจริงว่า "ขนมไม่มี" พระพุทธเจ้าข้า พระอนุรุทธะไม่เคยได้ยินชื่อขนมนี้มาก่อน จึงอยากเห็นหน้าตาว่า "ขนมไม่มี" หน้าตาเป็นยังงัย
ครั้นพระอนุรุทธะเปิดถาดทองคำออกมา ก็พบกับความหอมหวานของขนมทิพย์ ที่กลิ่นหอมไปทุกสารทิศ หอมไปทั่วแคว้น จึงหยิบขึ้นมาลองชิมดูพบว่าเป็นขนมรสเลิศที่ไม่เคยกินที่ไหนมาก่อน พระองค์จึงได้เชื้อเชิญบรรดาลูกกษัตริย์มากินขนมไม่มีด้วยกัน
พระอนุรุทธะกินขนมไป ในใจก็อดน้อยใจพระมารดาว่า พระมารดาคงไม่รักเรา เพราะที่ผ่านมาไม่เคยทำขนมนี้ให้เรากินเลย จนมาครั้งนี้จึงได้ทำขึ้นมาเพื่อการณ์ใดหนอ จะต้องกลับไปสอบถามความจริงให้ได้
พอไปถึงก็ทรงตรัสถามพระมารดา พระมารดามองหน้าคนส่งขนม ทั้งสองรู้ดีว่า ไม่มีขนมในถาด แล้วผู้ใดกันเล่าเอาขนมแสนอร่อยมาวางไว้ให้ลูกเราเสวย คงเป็นเทวดาเนรมิตขึ้นมา แต่พระมารดาก็มิได้บอกสิ่งนี้แก่พระอนุรุทธะ เพื่อมิให้เด็กเล็กเกิดความสงสัยเพราะในวัยนี้อาจไม่เข้าใจว่าเทวดาคือใคร พระมารดากับคนส่งขนมจึงเก็บเรื่องนี้ไว้ตลอดมา เมื่อใดที่พระอนุรุทธะกุมารปรารถนาที่จะกินขนมไม่มีของพระมารดา บรรดาเทวดาก็จะต้องมาเนรมิตขนมนี้ให้พระอนุรุทธะเรื่อยไป เพราะท่านจะพบกับคำว่า "ไม่มี" ไม่ได้นั่นเอง
ครั้นพระอนุรุทธะเจริญวัย ก็ถึงคราวที่จะต้องครองราชย์/ครองเรือน หรือจะไปบวชในสำนักขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นพระญาติ พระอนุรุทธะถามว่า ถ้าเราเลือกครองเรือนเราจะต้องทำอะไรบ้าง ขุนนางพี่เลี้ยงลำบากใจมากที่จะต้องอธิบายให้พระองค์ทราบว่า ข้าวที่พระองค์เสวยทุกวันนี้ ไม่ได้อยู่ ๆ จะปรากฏในหม้อในถาดแล้วเอามาปรุงได้เลย ต้องทำนากว่าจะได้ข้าวมาแสนลำบากยากเข็ญ ต้องทำเช่นนี้เรื่อยไป ข้าวหมดก็ต้องทำนาให้มีข้าวกิน พอได้ข้าวมาก็กิน พอใกล้หมดก็ต้องทำนา ทำแบบนี้เรื่อยไป "ไม่มี" คำว่าจบสิ้น ทันทีที่พระอนุรุทธะได้ยินคำว่า "ไม่มี" พระองค์ก็ตรัสกับขุนนางพี่เลี้ยงว่า เราไม่ปรารถนาที่จะไม่มีไม่จบสิ้นหรอกนะ...เราตัดสินใจแล้ว ว่าเราจะออกผนวชตามเสด็จองค์ตถาคตพระญาติของเรา
พระอนุรุทธะเล่นเกมแพ้ถึง 3 ครา แต่ละครั้งก็จะส่งคนไปบอกพระมารดาขอขนม พระมารดาก็เตรียมถาดทองคำใบใหญ่ ข้างในบรรจุขนมแสนอร่อยเต็มถาดแล้วให้คนส่งไปมอบให้พระอนุรุทธะเอาไปกินกันกับเพื่อน ๆ ในฐานะที่แพ้พนันขันต่อทุกครั้ง
มาจนถึงครั้งที่ 4 พระอนุรุทธะยังคงเล่นเกมแพ้ลูกกษัตริย์จากเมืองอื่น คราวนี้พระองค์ก็ทรงทำแบบเดิม แต่คราวนี้พระมารดาต้องการอบรมพระอนุรุทธผู้เป็นที่รักว่า ในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดที่เจ้าต้องการแล้วจะได้ไปเสียทุกสิ่ง แม้เป็นลูกกษัตริย์เพียบพร้อมไปทุกอย่าง เจ้าก็ต้องเรียนรู้สิ่งนี้ พระมารดาจึงตอบกับคนส่งขนมว่า ไม่มีหรอกนะขนม เราทำขนมจนหมดสิ้นแล้ว ไม่มีขนมให้อีกแล้ว จงไปทูลกับพระอนุรุทธะว่า "ขนมไม่มี" ว่าแล้วพระองค์ก็ทรงนำถาดทองคำใบใหญ่ แล้วเอาถาดเปล่าวางลงไป คนส่งขนมมองในถาดก็สงสัยแต่มิกล้าถามพระมารดา เขาได้ถือถาดทองคำไปให้พระอนุรุทธยังเมืองที่ทรงเล่นกับเพื่อน ๆ นั่นเอง
ระหว่างทาง ร้อนถึงบรรดาเทวดาในละแวกนั้น เทวดาประชุมกันว่า ในบุพกาลพระอนุรุทธะได้ทรงอธิษฐานว่าจะไม่พบกับคำว่า "ไม่มี" อีก และพระปัจเจกพุทธเจ้าก็ทรงตรัสอนุโมทนาบุญนี้แล้วและทรงอวยพรให้เป็นไปตามคำอธิษฐานนั้น เทวดาจึงเสกขนมทิพย์เต็มถาดทองคำ
พอคนส่งขนมวางถาดลงตรงหน้าพระพักตร์ พระอนุรุทธะจึงตรัสถามว่า คราวนี้พระมารดาส่งขนมอะไรมาให้เรานะ เราหิวแล้วและเพื่อน ๆ ก็รอกินขนมเช่นกัน คนส่งขนมกราบทูลไปตามความจริงว่า "ขนมไม่มี" พระพุทธเจ้าข้า พระอนุรุทธะไม่เคยได้ยินชื่อขนมนี้มาก่อน จึงอยากเห็นหน้าตาว่า "ขนมไม่มี" หน้าตาเป็นยังงัย
ครั้นพระอนุรุทธะเปิดถาดทองคำออกมา ก็พบกับความหอมหวานของขนมทิพย์ ที่กลิ่นหอมไปทุกสารทิศ หอมไปทั่วแคว้น จึงหยิบขึ้นมาลองชิมดูพบว่าเป็นขนมรสเลิศที่ไม่เคยกินที่ไหนมาก่อน พระองค์จึงได้เชื้อเชิญบรรดาลูกกษัตริย์มากินขนมไม่มีด้วยกัน
พระอนุรุทธะกินขนมไป ในใจก็อดน้อยใจพระมารดาว่า พระมารดาคงไม่รักเรา เพราะที่ผ่านมาไม่เคยทำขนมนี้ให้เรากินเลย จนมาครั้งนี้จึงได้ทำขึ้นมาเพื่อการณ์ใดหนอ จะต้องกลับไปสอบถามความจริงให้ได้
พอไปถึงก็ทรงตรัสถามพระมารดา พระมารดามองหน้าคนส่งขนม ทั้งสองรู้ดีว่า ไม่มีขนมในถาด แล้วผู้ใดกันเล่าเอาขนมแสนอร่อยมาวางไว้ให้ลูกเราเสวย คงเป็นเทวดาเนรมิตขึ้นมา แต่พระมารดาก็มิได้บอกสิ่งนี้แก่พระอนุรุทธะ เพื่อมิให้เด็กเล็กเกิดความสงสัยเพราะในวัยนี้อาจไม่เข้าใจว่าเทวดาคือใคร พระมารดากับคนส่งขนมจึงเก็บเรื่องนี้ไว้ตลอดมา เมื่อใดที่พระอนุรุทธะกุมารปรารถนาที่จะกินขนมไม่มีของพระมารดา บรรดาเทวดาก็จะต้องมาเนรมิตขนมนี้ให้พระอนุรุทธะเรื่อยไป เพราะท่านจะพบกับคำว่า "ไม่มี" ไม่ได้นั่นเอง
ครั้นพระอนุรุทธะเจริญวัย ก็ถึงคราวที่จะต้องครองราชย์/ครองเรือน หรือจะไปบวชในสำนักขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นพระญาติ พระอนุรุทธะถามว่า ถ้าเราเลือกครองเรือนเราจะต้องทำอะไรบ้าง ขุนนางพี่เลี้ยงลำบากใจมากที่จะต้องอธิบายให้พระองค์ทราบว่า ข้าวที่พระองค์เสวยทุกวันนี้ ไม่ได้อยู่ ๆ จะปรากฏในหม้อในถาดแล้วเอามาปรุงได้เลย ต้องทำนากว่าจะได้ข้าวมาแสนลำบากยากเข็ญ ต้องทำเช่นนี้เรื่อยไป ข้าวหมดก็ต้องทำนาให้มีข้าวกิน พอได้ข้าวมาก็กิน พอใกล้หมดก็ต้องทำนา ทำแบบนี้เรื่อยไป "ไม่มี" คำว่าจบสิ้น ทันทีที่พระอนุรุทธะได้ยินคำว่า "ไม่มี" พระองค์ก็ตรัสกับขุนนางพี่เลี้ยงว่า เราไม่ปรารถนาที่จะไม่มีไม่จบสิ้นหรอกนะ...เราตัดสินใจแล้ว ว่าเราจะออกผนวชตามเสด็จองค์ตถาคตพระญาติของเรา
ความกตัญญูของอุ้ยอ้าย
ครอบครัว พี่น้อง ญาติมิตร เพื่อนฝูง คือ ผู้ที่มีอิทธิพลกับเราไม่มากก็น้อย ตามความสัมพันธ์ หลังจากดำจังสุนัขที่โรงแรมตายไป ฉันก็เป็นแม่ทูนหัวของสุนัขตัวใหม่ ฉันตั้งชื่อมันว่า "อุ้ยอ้าย" เพราะนางเป็นจอมขี้เกียจ เวลาเห็นรถวิ่งมาก็ไม่ยอมหลีก เลื้อยอยู่นานมากกว่าจะเคลื่อนตัวออกไป ฉันตื่นเช้าใส่บาตรเป็นประจำ แล้วก็ซื้อข้าวมาทาน แน่นอนว่าทุกครั้งที่ฉันไปใส่บาตรฉันจะมีหมูทอดมาฝากอุ้ยอ้ายด้วยเสมอ จนกระทั่งนางติดดิฉัน ทำตัวสนิทสนม มารับมาส่งฉัน ทุกครั้งที่นางเห็นฉัน ไม่ว่าฉันจะอยู่ที่ไหน และไม่ว่าฉันจะเห็นนางหรือไม่ ไม่กี่นาทีนางจะมายืนกระดิกหาง และทำท่าทางดีใจจนออกนอกหน้าทุกครั้ง
ฉันเข้าใจสัตว์โลกนะ อย่างอุ้ยอ้ายที่เป็นสุนัขที่ไม่มีเจ้าของ วัน ๆ ใช้ชีวิตตามลำพัง หาของกินตามถังขยะ บางคนหมั่นไส้ก็เอาไม้ไล่ตี มีลูก ลูกเล็ก ๆ กำลังน่ารัก ก็มีสุนัขตัวอื่นมาแอบกัดลูกของมันจนตาย อุ้ยอ้ายก็ทนดูลูกถูกกัดโดยที่ทำอะไรไม่ได้ ทนนอนนมคัดเต้าอยู่เกือบเดือน เห็นแล้วหนักอกหนักใจแทน กลางคืน ฉันเห็นนางนอนคุดคู้ขดตัวกลางถนน คงจะหนาว ไม่มีที่นอนนุ่ม ๆ นมอุ่น ๆ ให้ดื่มก่อนนอนแบบที่ฉันมี ชีวิตของสุนัขจรจัดมิได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ แต่ละวันมันก็ต้องต่อสู้ดิ้นรนเหมือนกัน บางทีชีวิตของมันอาจมีเรื่องราวน่าฉงนกว่านี้ แต่ฉันไม่รู้เท่านั้นเอง
ฉันสัมผัสได้ถึงคุณธรรมข้อหนึ่งของอุ้ยอ้าย คือ ความกตัญญู ทำให้ฉันนึกถึงเหตุการณ์สมัยพุทธกาล ที่ครั้งหนึ่งมียาจกคนหนึ่งมาขอบวช ตถาคตถามพระในสำนักว่ามีใครรู้จักคนนี้บ้างมั้ยว่าเขามีความดีอะไรบ้างที่ควรบวชให้ พระสารีบุตรนึกได้ว่าบุคคลท่านนี้เคยใส่บาตรด้วยข้าวหยิบมือหนึ่ง เท่าที่เขามีติดตัว ตถาคตจึงบวชให้บุคคลนั้น แล้วกล่าวยกย่องความกตัญญูของพระสารีบุตร ดังนั้น ความกตัญญูจึงเป็นคุณธรรมสำคัญที่ทั้งบุคคลและสัตว์โลกผู้ประเสริฐพึงมี
อุ้ยอ้าย แม้จะขี้เกียจแต่เขาก็มีความดี คือ มีความกตัญญู
ฉันเข้าใจสัตว์โลกนะ อย่างอุ้ยอ้ายที่เป็นสุนัขที่ไม่มีเจ้าของ วัน ๆ ใช้ชีวิตตามลำพัง หาของกินตามถังขยะ บางคนหมั่นไส้ก็เอาไม้ไล่ตี มีลูก ลูกเล็ก ๆ กำลังน่ารัก ก็มีสุนัขตัวอื่นมาแอบกัดลูกของมันจนตาย อุ้ยอ้ายก็ทนดูลูกถูกกัดโดยที่ทำอะไรไม่ได้ ทนนอนนมคัดเต้าอยู่เกือบเดือน เห็นแล้วหนักอกหนักใจแทน กลางคืน ฉันเห็นนางนอนคุดคู้ขดตัวกลางถนน คงจะหนาว ไม่มีที่นอนนุ่ม ๆ นมอุ่น ๆ ให้ดื่มก่อนนอนแบบที่ฉันมี ชีวิตของสุนัขจรจัดมิได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ แต่ละวันมันก็ต้องต่อสู้ดิ้นรนเหมือนกัน บางทีชีวิตของมันอาจมีเรื่องราวน่าฉงนกว่านี้ แต่ฉันไม่รู้เท่านั้นเอง
ฉันสัมผัสได้ถึงคุณธรรมข้อหนึ่งของอุ้ยอ้าย คือ ความกตัญญู ทำให้ฉันนึกถึงเหตุการณ์สมัยพุทธกาล ที่ครั้งหนึ่งมียาจกคนหนึ่งมาขอบวช ตถาคตถามพระในสำนักว่ามีใครรู้จักคนนี้บ้างมั้ยว่าเขามีความดีอะไรบ้างที่ควรบวชให้ พระสารีบุตรนึกได้ว่าบุคคลท่านนี้เคยใส่บาตรด้วยข้าวหยิบมือหนึ่ง เท่าที่เขามีติดตัว ตถาคตจึงบวชให้บุคคลนั้น แล้วกล่าวยกย่องความกตัญญูของพระสารีบุตร ดังนั้น ความกตัญญูจึงเป็นคุณธรรมสำคัญที่ทั้งบุคคลและสัตว์โลกผู้ประเสริฐพึงมี
อุ้ยอ้าย แม้จะขี้เกียจแต่เขาก็มีความดี คือ มีความกตัญญู
ความสุขจากการให้ ยิ่งใหญ่กว่าการรับ
วันนี้ช่วงบ่ายแก่ ๆ เกือบเย็น หลังจากแวะทำธุระก็เข้า 7 หาขนม ไอติม และน้ำเย็น ๆ ไว้ดื่มดับกระหาย ขับรถเข้า ม.ตามปกติ มาถึงประตูทางเข้า อมยิ้มลงกระจกนิดนึง แล้วยื่นโออิชิชาดำเย็นรสน้ำผึ้งมะนาวให้คุณลุงยาม 1 ขวด แล้วบอกไปว่า ดื่มคลายร้อนค่ะ นั่งตรงนี้คงร้อนน่าดู แล้วก็ขับรถเข้าม. ฉันเห็นดาวระยิบระยับล้านดวงในดวงตาของชายสูงอายุผู้นั้น แล้วท่านก็กล่าวคำว่าขอบคุณพร้อมยกมือไหว้ ดิฉันรีบบอกไปว่าไม่ต้องไหว้หรอกค่ะ
ทั้ง ๆ ที่ดิฉันมิได้เอาทอง/รถมาแจกแบบคุณตัน (อิชิตัน) แต่สิ่งเล็ก ๆ นี้ มันทำให้ทั้งฉันและคุณลุงยามตื้นตันไปด้วยกัน #ความสุขของการให้เป็นแบบนี้นี่เอง
ทั้ง ๆ ที่ดิฉันมิได้เอาทอง/รถมาแจกแบบคุณตัน (อิชิตัน) แต่สิ่งเล็ก ๆ นี้ มันทำให้ทั้งฉันและคุณลุงยามตื้นตันไปด้วยกัน #ความสุขของการให้เป็นแบบนี้นี่เอง
เชื่อยิ้ม
เป็นสาวกความงามของคุณเชื่อชัย มีคลิปนึงน่าสนใจ คุณเชื่อชัยบอกว่า หลังการล้างหน้า 3 นาทีแรก คือ นาทีทองในการบำรุงผิวให้ชุ่มชื่น ควรหา "น้ำตบ" จำพวก Essence มาทาหน้าแบบแปะ ๆ 3-4 ครั้งก็เป็นอันเรียบร้อย ผิวดี ผิวสุขภาพดีเคล็ดลับอยู่ที่ขั้นตอนนี้นะจ๊ะสาว ๆ #เชื่อยิ้ม :)
คุณเชื่อชัยยังบอกอีกว่า การแต่งหน้า ควรให้ครีมที่เราทาลงไปแห้งดีก่อน อย่าทาทับลงไป มันจะทำให้หน้ามัน และทุกอย่างกองรวมกันบนหน้า ไม่ซึมสู่ผิว เราต้องรอให้แต่ละตัวซึมสู่ผิวดีก่อน จึงทาตัวใหม่ลงไป คุณเชื่อชัยใช้ไดร์เป่าผม แบบลมเย็นช่วยเป่าหน้าให้แห้งไวขึ้น การแต่งหน้าวิธีนี้จะช่วยให้ไม่เป็นคราบ สวย ติดทนนาน
คุณเชื่อชัยยังบอกอีกว่า การแต่งหน้า ควรให้ครีมที่เราทาลงไปแห้งดีก่อน อย่าทาทับลงไป มันจะทำให้หน้ามัน และทุกอย่างกองรวมกันบนหน้า ไม่ซึมสู่ผิว เราต้องรอให้แต่ละตัวซึมสู่ผิวดีก่อน จึงทาตัวใหม่ลงไป คุณเชื่อชัยใช้ไดร์เป่าผม แบบลมเย็นช่วยเป่าหน้าให้แห้งไวขึ้น การแต่งหน้าวิธีนี้จะช่วยให้ไม่เป็นคราบ สวย ติดทนนาน
ชิชิมารุผู้กินยางลบ
ชิชิมารุสุนัขนินจา ผู้ทีมีหน้าตาคล้ายหลายอย่าง บางตอนลูกหมูที่หลงทางจำผิดคิดว่าชิชิมารุ คือ แม่หมู เพราะหน้าตาเหมือนกันมาก ของกินที่ชิชิมารุชอบ คือ ชิกุวะ (ขนมม้วน ๆ นุ่ม ๆ มีลาย) วันหนึ่งชินโซ (นินจาชุดแดงน้องฮาโตริ) มียางลบใหม่ลายชิกุวะ ชินโซไปถามแม่ว่าจะซ่อนที่ไหนดี ไม่ให้ชิชิมารุเห็น มิเช่นนั้นเขาจะต้องเข้าใจผิดแล้วเอาไปกิน แม่เลยแนะนำว่าให้เอาไปซ่อนในตู้เย็น...ในที่สุดชิชิมารุก็มาเจอยางลบในตู้เย็นจนได้ ชิชิมารุเอายางลบลายชิกุวะมากินจนเกลี้ยง ชินโซรู้เข้าก็โกรธชิชิมารุไปหลายวัน ทำยังงัยก็ไม่ยอมคืนดีกัน ฮาโตริคุงจึงคิดแผนการโดยเอาชิชิมารุไปปล่อยในป่า แล้วมาบอกชินโซว่าชิชิมารุอยู่ในป่าคงลำบากแย่ ไหนจะหมีที่ดุร้ายอาจจะทำร้ายชิชิมารุ เล่าจบก็ขยำแผนที่ในมือลงถังขยะต่อหน้าชินโซ ชินโซจินตนาการว่าชิชิมารุถูกหมีทำร้ายจึงไปหยิบแผนที่กระดาษในถังขยะแล้วออกตามหาในป่า...พอไปถึงก็พบว่าชิชิมารุนอนเล่นใต้ต้นไม้สบายใจไม่ทุกข์ร้อนอะไรเลย...แต่ช้าก่อนมีเงาตะคุ่ม ๆ มันคือหมีนั่นเอง ชินโซจะเข้าไปช่วยชิชิมารุ แต่ตัวเองก็ยังเป็นเด็กวิชานินจายังไม่แก่กล้าพอ ดีนะที่ฮาโตริเข้ามาช่วยไว้ทันเรื่องจึงจบลงด้วยภาพที่ชินโซและชิชิมารุจอมตะกละกลับมาคืนดีกัน กอดคอกัน
ทางเลือก ทางรอด ของอุดมศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21
1.ต่อกรณีนศ.ลดลงมากทุก ม. แนวทางแก้ไขระยะยาววางแผนสนับสนุนให้ประชากรที่ พร้อมมีบุตรในวัยอันควร เพื่อช่วยชาติ อาจจะเห็นผลในอีก 10 ปีข้างหน้า มีมาตรการภาษีคนโสด และมีโปรโมชั่นให้คนคุณภาพแต่ งงานมีลูกมากขึ้น
2.แนวโน้ม ป.ตรี นศ.ลดลงทุก ม. ดังนั้น ม.ต่าง ๆ จึงควรมองกลุ่มผู้เรียนกลุ่ มใหม่ เช่น วัยทำงานแล้ว วัยผู้สูงอายุ หรือ อบรมคอร์สสั้น ๆ เพื่อการทำงาน อาจจะเปิดเสาร์อาทิตย์ ภาคค่ำ สำหรับวัยทำงาน และ ป.โท เพราะฐานของ ป.โท ยังมีความต้องการศึกษาต่อเยอะ
3. ให้อาจารย์พนง.ทำวิจัยมากขึ้น เน้น Track วิจัยไปเลย การสอนก็ปรับให้ได้คุณภาพเท่าที่ บริบทจะเอื้ออำนวย เช่น NIDA และ ม.มหิดล ที่เปิดสอนสาขา รปศ. ระดับบัณฑิตศึกษา (ไม่เปิดป.ตรี)
4. บาง ม.ให้อาจารย์ในสาขาต่าง ๆ หารายได้เข้า ม. โดยเน้นทำวิจัยกับองค์กรเอกชน เช่น กลุ่มพลังงาน กลุ่มวิศวะ /สายสังคมและมนุษย์ฯ ควรเน้นที่ลงพท.กับชุ มชนและชาวบ้านมากขึ้น
5.ปรับหลักสูตร อาจยุบรวมหลักสูตรใกล้เคียงกั นอยู่ในร่มเดียวกัน เพื่อสร้างความเข้มแข็ง เช่น การรวมกันของ รัฐศาสตร์ รปศ. พัฒนาชุมชน เป็นวิทยาลัยการจัดการเพื่ อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น เช่น COLA (มข.) วิทยาลัยปกครองท้องถิ่น ส่วน COPAG (ม.มหาสารคาม) ใช้ชื่อว่า วิทยาลัยการเมืองการปกครอง เป็นต้น
อย่างกรณีของสาขา PA ของบรรดา มรภ.ต่าง ๆ ทั้ง 38 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ใต้ร่มคณะมนุ ษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย ภาษาจีน ภาษาไทย ภาษามลายู ภาษาอังกฤษ ดนตรี จิตรกรรม พัฒนาชุมชน รัฐประศาสนศาสตร์ รัฐศาสตร์ การจัดการวัฒนธรรม ...ปัญหาที่พบเหมือน ๆ กัน คือ บางหลักสูตรนศ.น้อย (น่าตกใจ) บางหลักสูตรไม่ผ่านประเมิน บางหลักสูตรยังมีนศ.สนใจเรียน ฯลฯ
ผล คือ สาขาที่มีนศ.เยอะ ทำงานเลี้ยงทั้งคณะ ดูแลสาขาอื่นด้วย ประคับประคองกันไป ดังนั้น สาขาฯ ที่มีศักยภาพ และยังมีนศ.สนใจเรียน จึงรวมตัวกัน Independence จากร่มใหญ่ เพื่อความอยู่รอดของสาขา เป็นต้น
นอกจากนี้ จะ Back to basic ค่ะ อย่างที่ ม.ในต่างประเทศนำกลั บมาทบทวนใหม่ คือ ม.เฉพาะทาง เช่น ม.มหิดล เน้นการแพทย์ ม.ราชภัฏ เน้นผลิตครู กล่าวคือ ถ้าม.ค้นพบแนวทางและจุดยื นของตนเองอาจปรับให้เป็นเลิ ศทางด้านนั้นไปเลยค่ะ
ขออนุญาตยก case ของ สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติ ศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ ซึ่งเดิมอยู่ใต้ร่มของสำนักวิ ชาศิลปศาสตร์ฯ เขาวางแผนแยกออกมาตั้งคณะใหม่ เพื่อความเป็นเฉพาะทางโดยรวมกั บนิติศาสตร์ เพิ่งแยกออกมาราว ต้นปี 2560 ที่ผ่านมาค่ะ
คงต้องยอมรับว่า จริงอยู่ก.ศึกษาธิการมีความสำคั ญมาก (ก ล้านตัว) แต่ในทางปฏิบัติ นโยบายและงบประมาณของเกือบทุกรั ฐบาลกลับไปทุ่มให้กับ ก.อื่น ๆ ก.ศึกษา คือ กระทรวงเกรด D E F ที่จะได้งบน้อยที่สุด เพิ่งจะปีล่าสุดที่ได้งบเยอะที่ สุด แต่ถามว่า...เพิ่งจะมาเห็ นความสำคัญมันช้าไปรึเปล่า...ทุ่ มงบให้แล้วเอาไปใช้ถูกที่ถู กทางรึเปล่า ทุ่มงบวันนี้ การพัฒนาคนต้องใช้เวลา อาจเห็นผลอีก 10-20 ปีข้างหน้า อย่างที่สิงคโปร์เคยทำมาแล้ว และล่าสุด นายกมหาเธ ของมาเลเซียก็ดึงมาเลเซียกลั บมาเน้น HR HCM มากขึ้น
ที่ผ่านมา รัฐบาลพยายามผลักภาระอุดมศึ กษามานานแล้ว ตั้งแต่การไม่รับข้าราชการ หันมารับ พนง.แทน เท่ากับลดทอนสวัสดิการของรัฐที่ จะให้กับส่วนนี้ไปและอนาคตข้ าราชการจะหมดไป เหลือพนง.ต้องรับความเสี่ยงเอง ถ้าทำงานได้ มีผลงานก็จะยังจ้างต่อ ถ้าไม่เป็นไปตาม TOR หรือ ล้มป่วย หรือ เกิดอะไรขึ้น ไม่มีใครรับผิดชอบใด ๆ เลย การจ้างงานในอุดมศึกษาทุกวันนี้ แทบจะมองคนทำงานเป็นหุ่นยนต์ กลับไปเป็นยุคแรก ๆ อีกครั้ง รวมถึงความพยายามที่รัฐผลักให้ ม.ต่าง ๆ ที่พอเลี้ยงตัวเองได้ ออกนอกระบบภายใต้ชื่อ "ม.ในกำกับ" (autonomous university)
นอกจากนี้ ยังมีการเปลี่ยนแปลง ปรับโฉมของวงการอุดมศึ กษาของไทยอีกมาก ภายหลังจากการจัดตั้งกระทรวงอุ ดมศึกษาอย่างเป็นทางการ...ซึ่ งคงจะประกาศในไม่ช้า
จากปัญหานศ.ลด ยังมีอีกข้อมูลนะคะ พี่ฟังจากบรรดาผู้ปกครอง เล่าว่า ตอนนี้ลูก ๆ ของเธอไม่มีที่เรียน เพราะเขาปรับระบบใหม่ นักเรียนจำนวนมาก เคว้งคว้าง หาที่ลงไม่ได้ เพราะระบบการรับสมัครแบบใหม่ ทำเอาทุกคนมึน งง ผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยบ่นอุบว่า ต้องพาลูกไปสมัครเอกชน และจ่ายค่าเทอมแพง เพราะกลัวว่าลูกจะไม่มีที่เรี ยนค่ะ...เลยมองว่า การปรับระบบใหม่ แล้วไม่ทำความเข้าใจให้ตรงกันทุ กฝ่าย ปรับบ่อย และไม่ทำให้เรื่องยากเป็นเรื่ องง่าย ตรงข้ามบางทีกลับทำให้เรื่องง่ ายกลายเป็นยาก...เลยทำให้ ระบบการรับสมัครนศ.ปีนี้ รวน ทุกแห่งค่ะ ... งง ๆ กันไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)