ประทุมทิพย์ ทองเจริญ
ล่วงเลยมาถึงภาคการศึกษาที่ ๒/๒๕๕๕ เป็นเวลากว่า ๑ ปี ๗ เดือน ที่ผู้เขียนมาศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาคการศึกษานี้ผู้เขียนและเพื่อนๆ
นักศึกษา รวม ๖ คน ไม่มีเรียนเนื้อหาวิชา (Coursework) แล้ว แต่ก็มีภาระงานอื่นๆอีกหลายรายการ ได้แก่
การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ การสัมมนา การสอบวัดคุณสมบัติ
(QE : Qualifying Examination) การสอบปลายภาควิชาประเด็นนโยบายสาธารณะเชิงวิพากษ์
และการวิพากษ์หลักสูตรฯ
สำหรับการสัมมนาวิชาการหัวข้อ ““ทิศทางการวิจัยและการพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ไทยสู่ประชาคมอาเซียน”ณ ห้องรับรอง (กันภัยมหิดล) คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา ได้รับเกียรติจากวิทยากรภายนอก ๒ คน คือ
ศาสตราจารย์ ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หัวหน้าพรรครักษ์สันติ ท่านที่สอง คือ ศาสตราจารย์ ดร.บุญทัน ดอกไธสง อดีตรองประธานวุฒิสภา
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และวิทยากรภายใน ๑
คน คือ รองศาสตราจารย์ ดร.กัมปนาท ภักดีกุล
คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ โดยมี อ.ดร.โชคชัย สุทธาเวศ
เป็นผู้ดำเนินรายการรับเชิญ
การสัมมนาในครั้งนี้ได้ข้อคิดจากวิทยากรมากมาย
โดยเฉพาะการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ วิทยากรเล่าว่าปัจจุบันมีผู้สูงอายุกว่า
๑๐ ล้านคน หรือ คิดเป็นสัดส่วน ๑ ใน ๔
ของประชากรทั้งหมด ที่สำคัญ
วิทยากรให้ข้อคิดว่าเราจะใช้ชีวิตอย่างไรในอนาคตให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ ได้แก่
การมีสุขภาพดี สามารถเดินไปไหนมาไหนคล่องแคล่ว รวมถึงการมีสมองและความจำที่ดีไม่เป็นโรคความจำเสื่อม
(Alzheimer's
Disease : AD) นี่ต่างหากคือข้อคิดที่ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะต้องนำไปคิดต่อทั้งในฐานะที่เป็นนักวิชาการ
นักนโยบายสาธารณะ ตลอดจนการดูแลสุขภาพของตนเองและคนรอบข้าง
เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่จะไปถึงจุดนั้น ในอนาคตไม่ช้าก็เร็วทุกคนก็ต้องย่างก้าวเข้าสู่การเป็น
“ผู้สูงอายุ” ดังนั้น จึงควรเตรียมความพร้อมเสียตั้งแต่วันนี้
สำหรับช่วงบ่ายเป็นการนำเสนอผลงานวิชาการของคณาจารย์และนักศึกษา
ซึ่งผู้เขียนได้นำเสนอผลงานวิจัย หัวข้อ “การประเมินสถานภาพองค์ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ไทยและทิศทางการวิจัยในอนาคต
: กรณีศึกษาด้านการคลังและงบประมาณ” ส่วนหนึ่งในรายวิชาการศึกษาอิสระสำหรับนักนโยบาย
สอนโดย อ.ดร.โชคชัย สุทธาเวศ ใช้เวลาในการนำเสนอคนละประมาณ ๑๕ นาที นอกจากนี้
ผู้เขียนยังได้นำบทความดังกล่าวมาพัฒนาเพื่อใช้ประกวดในการประชุมวิชาการระดับชาติในวันคล้ายวันสถาปนาสถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์ ประจำปี ๒๕๕๖ หัวข้อ “พรมแดนความรู้ใหม่สู่อนาคตการบริหารการพัฒนา”
(The Next Frontier of Development Administration) ณ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
(NIDA) ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๖
เสร็จสิ้นการสัมมนา ผู้เขียนและเพื่อนๆ ก็ต้องเตรียมตัวสอบวัดคุณสมบัติ
หรือ QE (Qualifying Examination) ซึ่งบางแห่งใช้คำว่า
การประมวลความรอบรู้ (Comprehensive)
ซึ่งหลายคนเทียบเคียงความหมายของสองคำนี้ในทำนองเดียวกัน แต่ในความเห็นของผู้เขียนมองว่าการสอบ QE มีความยากและเข้มข้นกว่าส่วนใหญ่มักใช้กับการสอบระดับดุษฎีบัณฑิต ขณะที่การสอบประมวลความรอบรู้มักใช้กับการสอบวัดความรู้ความสามารถของผู้ที่จะสำเร็จเป็นมหาบัณฑิต สำหรับการสอบ QE ของนศ.รุ่น 2 รอบแรกจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๓๐-๓๑
ตุลาคม ๒๕๕๕ สอบปากเปล่าวันที่ ๘
พฤศจิกายน ๒๕๕๕ วัตถุประสงค์ของการจัดสอบเพื่อเป็นการทดสอบผู้เรียนหลังจากเรียนเนื้อหาวิชา
(Coursework) เสร็จสิ้นแล้ว
เพื่อประเมินผลว่าผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ
และการประยุกต์ใช้ทฤษฎีและองค์ความรู้ต่างๆที่เรียนมาได้มากน้อยเพียงใด หากสอบผ่านก็ถือว่าผู้นั้นมีคุณสมบัติเพียงพอที่จะได้เป็น
“Doctoral candidate” แล้ว (ที่นี่ใช้คำนี้เนื่องจากปริญญาที่จะได้รับ คือ Doctor of Public Administration : DPA) ส่วนผู้ที่เรียนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตถ้าสอบผ่านก็จะได้เป็น "Ph.D candidate" จากนั้นก็จะไปสู่ขั้นตอนการพัฒนาโครงร่างดุษฎีนิพนธ์เพื่อเตรียมตัวสอบโครงร่างฯ
ในลำดับถัดไป
นอกจากนี้ ผู้เขียนยังสืบทราบมาว่าเกณฑ์การสอบ QE ของบัณฑิตวิทยาลัยแต่ละแห่งจะแตกต่างกัน
เช่น จำนวนครั้งของการเปิดสอบ มีตั้งแต่ ๑ ครั้ง ไปจนถึง ๓ ครั้ง
รวมถึงเกณฑ์คะแนนที่สอบผ่าน มีตั้งแต่ ๖๐% ไปจนถึง ๘๐% ส่วนใหญ่จะกำหนดให้มีการสอบวัดคุณสมบัติเพียง ๒
ครั้ง อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Cornell University บางแห่งเกณฑ์บีบหัวใจนักศึกษามากเพราะกำหนดสอบเพียงครั้งเดียว
(แบบวัดใจและวัดดวงกันไปเลย) ถ้าได้ก็ไปต่อถ้าไม่ได้ก็เก็บกระเป๋ากลับบ้าน
คล้ายการแข่งขันประกวดร้องเพลงและรายการ Reality หลายรายการในบ้านเรา
แต่สำหรับการศึกษาอาจจะมีผลกระทบที่เกิดขึ้นแตกต่างออกไป
ทั้งนี้
การสอบวัดคุณสมบัติ หรือ QE (Qualifying Examination) ของมหาวิทยาลัยมหิดล
บัณฑิตวิทยาลัยกำหนดให้มีการสอบได้ไม่เกิน ๓ ครั้ง
แต่ละครั้งจะมีการจัดสอบห่างกันประมาณ ๑ เดือน
เพื่อให้นักศึกษาที่สอบไม่ผ่านมีโอกาสเตรียมตัวเพื่อสมัครสอบในครั้งต่อไป หากสอบครบตามจำนวนแล้วยังสอบไม่ผ่านก็จะถูกคัดชื่อออกจากสารระบบ
และต้องหาที่เรียนใหม่ ซึ่งสถานศึกษาบางแห่งอาจจะเปิดโอกาสให้เทียบโอนหน่วยกิตบางรายวิชาไปได้ขึ้นกับหลักเกณฑ์ของแต่ละหลักสูตรฯแต่ละมหาวิทยาลัย ยิ่งกว่านั้น นักศึกษาบางคนที่สอบไม่ผ่านก็อาจจะเลิกล้มความตั้งใจที่จะเรียนต่อไปเลยก็มี
กรณีนี้ถือเป็นความสูญเปล่าทางการศึกษาซึ่งไม่มีใครต้องการให้เกิดขึ้น
นอกจากนี้ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ยังกำหนดเกณฑ์คะแนนไว้ว่านักศึกษาจะต้องสอบให้ได้คะแนนไม่ต่ำกว่า
๘๐% ในทุกหมวด โดยการสอบจะแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ๑) การสอบข้อเขียน
ซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ หมวด ได้แก่ หมวดทฤษฎี หมวดวิจัย และหมวดประยุกต์ โดยจะทำการสอบ
จำนวน ๒ วัน ใช้เวลาหมวดละไม่เกิน ๓ ชั่วโมง
โดยวันแรกเป็นการสอบหมวดทฤษฎี (ช่วงเช้า) และหมวดวิจัย (ช่วงบ่าย) ส่วนวันที่สองเป็นการสอบหมวดประยุกต์
๒) การสอบปากเปล่า (Oral)
จัดสอบหลังจากสอบข้อเขียนแล้วเสร็จประมาณ ๑ สัปดาห์ โดยเริ่มจากการนำเสนอโครงร่างดุษฎีนิพนธ์
(Dissertation Proposal) ของผู้สอบซึ่งจะใช้เวลาไม่เกิน
๑๐ นาที จากนั้นเป็นการซักถามของคณะกรรมการสอบ ประมาณ ๕ นาที ทั้งนี้
การสอบปากเปล่าของนักศึกษาทั้ง รุ่น ๑ และ รุ่น ๒ สามารถจัดสอบให้แล้วเสร็จภายในครึ่งวันเช้าเนื่องจากมีจำนวนนักศึกษาไม่มาก
(รุ่นละ ๖ คน) หากจำนวนนักศึกษาเกินกว่านี้ อาทิ นักศึกษารุ่น ๓ (จำนวน ๑๔ คน) ก็อาจมีความจำเป็นต้องจัดสอบทั้งช่วงเช้าและช่วงบ่าย
หรือจัดสอบสองวันทำการ เป็นต้น
ในทรรศนะของผู้เขียน มองว่าการสอบวัดคุณสมบัติ (QE) เป็นการวัดทั้ง IQ และ EQ กล่าวคือ IQ (Intelligence Quotient) หมายถึง ความสามารถทางเชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลซึ่งถูกกำหนดขึ้นจากพันธุกรรมไปจนถึงสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ แสดงออกให้เห็นผ่านพฤติกรรมต่างๆ โดยมี นายวิลเลียม สเตอร์น เป็นคนคิดคำว่า ไอ.คิว. เป็นคนแรก สำหรับสูตรการคำนวณหาระดับ IQ คือ IQ = [ อายุสมอง (Mental Age) / อายุจริง (Chronologic Age) ] * 100 ซึ่ง IQ ถูกแบ่งออกเป็น ๓ ประเภทหลัก ได้แก่ ๑. ไอ.คิว. ด้านภาษา (Verbal I.Q.) ๒. ไอ.คิว. ด้านการปฏิบัติ (Performance I.Q.) ๓. ไอ.คิว. รวม (Full I.Q.) ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้คิดค้นวิธีการวัดระดับเชาวน์ปัญญาโดยสร้างแบบทดสอบขึ้นมาเพื่อวัดทักษะด้านต่างๆ ของบุคคล ได้แก่ ทักษะด้านคณิตศาสตร์ การใช้ภาษา การคิดเชิงตรรกะ การมองเห็น การจัดหมวดหมู่ ด้านความจำในระยะสั้นๆ ด้านความรู้ทั่วไป และด้านความเร็วในการคำนวณ โดยปกติการวัดระดับไอคิวจะต้องอาศัยนักจิตวิทยาคลินิกที่ได้รับการฝึกฝนการใช้แบบทดสอบจนชำนาญเป็นผู้วัดให้จึงจะมีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ (ที่มา : http://www.cp.eng.chula.ac.th/)
ในทรรศนะของผู้เขียน มองว่าการสอบวัดคุณสมบัติ (QE) เป็นการวัดทั้ง IQ และ EQ กล่าวคือ IQ (Intelligence Quotient) หมายถึง ความสามารถทางเชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลซึ่งถูกกำหนดขึ้นจากพันธุกรรมไปจนถึงสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ แสดงออกให้เห็นผ่านพฤติกรรมต่างๆ โดยมี นายวิลเลียม สเตอร์น เป็นคนคิดคำว่า ไอ.คิว. เป็นคนแรก สำหรับสูตรการคำนวณหาระดับ IQ คือ IQ = [ อายุสมอง (Mental Age) / อายุจริง (Chronologic Age) ] * 100 ซึ่ง IQ ถูกแบ่งออกเป็น ๓ ประเภทหลัก ได้แก่ ๑. ไอ.คิว. ด้านภาษา (Verbal I.Q.) ๒. ไอ.คิว. ด้านการปฏิบัติ (Performance I.Q.) ๓. ไอ.คิว. รวม (Full I.Q.) ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้คิดค้นวิธีการวัดระดับเชาวน์ปัญญาโดยสร้างแบบทดสอบขึ้นมาเพื่อวัดทักษะด้านต่างๆ ของบุคคล ได้แก่ ทักษะด้านคณิตศาสตร์ การใช้ภาษา การคิดเชิงตรรกะ การมองเห็น การจัดหมวดหมู่ ด้านความจำในระยะสั้นๆ ด้านความรู้ทั่วไป และด้านความเร็วในการคำนวณ โดยปกติการวัดระดับไอคิวจะต้องอาศัยนักจิตวิทยาคลินิกที่ได้รับการฝึกฝนการใช้แบบทดสอบจนชำนาญเป็นผู้วัดให้จึงจะมีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ (ที่มา : http://www.cp.eng.chula.ac.th/)
นอกจากนี้ ในทรรศนะของผู้เขียนมองว่าการสอบ QE ยังเป็นการวัด EQ ร่วมด้วย โดยเฉพาะใช้กับการสอบแบบปากเปล่า
(Oral)
แต่สัดส่วนที่ต้องการวัดจะมีความเข้มข้นน้อยกว่าการวัด IQ ประมาณ ๓ เท่า กล่าวคือ E.Q. (Emotional Quotient) หรือ
ความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึง ความรู้จักแยกแยะความรู้สึก การควบคุมความรู้สึก การแสดงออกทางอารมณ์ และการจัดการกับอารมณ์ของตนเอง
(การเรียนรู้ การรับรู้ และการเข้าใจตนเอง) อย่างสร้างสรรค์ ถูกกาลเทศะ รวมถึงการมีความเข้าใจอารมณ์และความรู้สึกของผู้อื่น
มีความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน (empathy) ด้วยเหตุนี้ จึงแบ่ง EQ ออกเป็น
๒ ประเภทหลัก ได้แก่ ๑.
ความฉลาดทางอารมณ์ที่มีต่อตนเอง (Intrapersonal
Emotional Intelligence) ๒.ความฉลาดทางอารมณ์ที่เกี่ยวข้องกับคนรอบข้าง (Interpersonal Intelligence) จากที่กล่าวมา
ผู้เขียนจึงนำมาสร้างเป็นสมการ ได้ ดังนี้
QE
= 3(IQ)+ EQ
ภาพที่
1 : สมการ QE เสนอโดย ประทุมทิพย์ ทองเจริญ
ดังนั้น การเตรียมตัวของผู้เข้าสอบจะต้องเตรียมความพร้อมทั้งเนื้อหาสาระ และแนวคิดทฤษฎีที่ร่ำเรียนไปทั้ง ๙ รายวิชา (ตลอด ๓ ภาคการศึกษา)รวมถึงหมวดประยุกต์ซึ่งเป็นการวิเคราะห์และวิพากษ์นโยบายสาธารณะของรัฐบาลชุดปัจจุบันกับตัวแบบนโยบายสาธารณะบนฐานของแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง สรุปว่าการสอบอะไรก็ตาม หากผู้สอบต้องการที่จะประสบความสำเร็จควรมีความพร้อมทั้ง ๓ อย่าง คือ สมอง ใจ และกาย ส่วนที่นอกเหนือจากการควบคุม (Externality) บางคนก็ปล่อยให้เป็นเรื่องของโชคชะตา (Destiny) แต่จะต้องไม่ลืมว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน”
ทั้งนี้ เทคนิคส่วนตัวของผู้เขียนในการเตรียมตัวสอบ QE คือ การตั้งใจเรียนในชั้นเรียน เรียนแบบมีความสุข สนุกกับการเรียน ช่างสงสัยและค้นหาคำตอบว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น คนอื่นในแวดวงวิชาการมีความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นนี้อย่างไร และเราคิดเห็นอย่างไร สุดท้ายได้ข้อคิดเห็นจากเรื่องนี้ว่าอะไร เรามีข้อเสนอแนะอย่างไรบ้าง เพื่อให้เข้าใจในเนื้อหาและดึง “หัวใจสำคัญ” ของแต่ละเรื่องที่เรียนออกมาเป็น “คำสำคัญ” (Keywords) จากนั้นนำมาสรุปสั้นๆ ประมาณ ๕ บรรทัด เมื่อเสร็จสิ้นภาคการศึกษาก็จะรวบรวมได้ประมาณ ๓๐-๕๐ คำต่อรายวิชา (ประมาณ ๓-๕ หน้า) ทำในลักษณะนี้ทุกวิชาจนกว่าจะมีการสอบจึงจะนำเอกสารที่สรุปเหล่านี้มาทบทวน ถ้าไม่เข้าใจประเด็นไหนก็กลับไปอ่านซ้ำตรงที่ไม่เข้าใจ เทคนิคนี้ผู้เขียนใช้มาตั้งแต่สมัยเรียนปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ได้ผลดีทีเดียว เพราะเมื่อถึงเวลาสอบ นักศึกษาส่วนใหญ่ที่ไม่ได้เตรียมตัวมาตั้งแต่ต้นจะเริ่มลนลาน จับต้นชนปลายไม่ถูกว่าจะอ่านอะไรก่อน-หลัง หนังสือมากมายกองเต็มห้อง บางคนถึงกับถอดใจ เครียดลงกระเพาะ บ้างก็ล้มป่วย บางรายไม่สามารถเข้าสอบได้ก็มี ดังนั้น ผู้เขียนจึงอยากแนะนำผู้สอบทุกสนามว่าควรเตรียมตัวให้พร้อม ค่อยๆทำ ค่อยๆวางแผน ทำงานเป็นระบบ (system) สม่ำเสมอและต่อเนื่อง เมื่อถึงเวลาที่จะต้องสอบ ก็จะสามารถดึงความรู้และทักษะต่างๆ มาใช้ได้อย่างทันท่วงที
ส่วนการสอบหมวดประยุกต์ ปกตินักรัฐประศาสนศาสตร์ที่ดีจำเป็นต้องรอบรู้ข่าวสารและเหตุการณ์บ้านเมืองอยู่แล้ว ดังนั้น การสอบหมวดนี้ผู้เขียนจึงทำการอ่านบทวิเคราะห์ วิจารณ์และวิพากษ์ ของนักวิชาการต่อนโยบายที่กำลังเป็นที่สนใจ หรือ กำลังเป็นกระแส (stream) ของสังคม ในรอบ ๓-๖ เดือน ทำรายการออกมาว่ามีกี่นโยบาย จากนั้น ตามติดแต่ละนโยบายในเชิงลึกและทำสรุปนโยบายละไม่เกิน ๒ หน้า จากนั้น เชื่อมโยงเข้ากับทฤษฎีที่เรียนว่าแต่ละนโยบายควรใช้แนวคิด ทฤษฎี และตัวแบบใดมาอธิบาย สุดท้าย หลังจากที่นำเสนอแนวทางการวิเคราะห์วิพากษ์ตามแนวทางที่นักวิชาการต่างๆ เสนอมาแล้ว ต้องไม่ลืมว่าผู้ตอบข้อสอบจะต้องแสดงจุดยืนและแนวทางการแก้ไขปัญหาของนโยบายที่มาจากความคิดเห็นของตนเองบนฐานของทฤษฎีอย่าง “แยบคาย” และ “ลุ่มลึก” ด้วยเช่นกัน (ตรงนี้สำคัญมาก)
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำจ๊ะน้อง พี่เข้ามาอ่านแล้วเข้าใจเพิ่มขึ้นเลยค่ะ
ตอบลบ