วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ป.เอก Cornell University เรียนอะไร?

ประทุมทิพย์ ทองเจริญ


สรุปการฟังบรรยายพิเศษ
การศึกษาปริญญาเอก ณ Cornell University
โดย อ.จตุรงค์ นภาธร
รายวิชาการศึกษาอิสระสำหรับนักนโยบาย (SHPP 571)  สอนโดย อ.ดร.โชคชัย สุทธาเวศ
วันที่ 30 กรกฎาคม 2555 เวลา 13.30-14.30 . มหาวิทยาลัยมหิดล
 

ประเด็น
หลักสูตรปริญญาเอก
Cornell University
อันดับโลก
อันดับ 15 ของโลก
(QS University Ranking 2011-2012)
ระยะเวลา
ไม่เกิน 8 ปี
จำนวนนักศึกษา
5-7 คน
ชิ้นงานต่อสัปดาห์
(Review หนังสือ /บทความ)
6-8 ชิ้น/สัปดาห์
ภาระงานอื่น
TA : Teaching Assistant
(ขึ้นปี 5 สอนนศ..ตรี)
RA: Research Assistant
(ทำวิจัยร่วมกับอ.ที่ปรึกษา)
Coursework
2 ปี (4 ภาคการศึกษา)
จำนวนรายวิชาที่เรียน
18-20 วิชา
ระเบียบวิธีวิจัย
5 วิชา
Qualify Examination : QE
2 ครั้ง
ครั้งแรกปี 2 หลังจบ Coursework
ถ้าไม่ผ่านสอบปีถัดไป
ถ้าไม่ผ่านทั้ง 2 ครั้ง ต้องย้ายมหาวิทยาลัย แต่อ.ที่ปรึกษาจะช่วยหาที่เรียนใหม่ให้
รูปแบบการเรียน
Discussion /
Leader 1 คน/สัปดาห์/
เกรด
5 เกรด (รวม 4.00)
A+, A-, A, B+, B
ปริญญาที่ได้รับ
โท และ เอก
 


ข้อสังเกต
               1. สำหรับเกรดในเมืองไทย ส่วนใหญ่ปริญญาเอกจะมี 3 เกรดหลัก คือ A B+ และ B  ถ้าต่ำกว่า B จะต้องลงทะเบียนเรียนในรายวิชานั้นใหม่ ซึ่งมหาวิทยาลัยในต่างประเทศที่เรียนเนื้อหาวิชา (Coursework) คำนึงถึงความต่างของการให้เกรดที่มีความละเอียดและซับซ้อน รวมถึงเกณฑ์การให้คะแนนในระดับปริญญาเอก เนื่องจากการศึกษาระดับนี้มีจำนวนผู้เรียนในชั้นเรียนน้อย (ประมาณ 5-10 คน) ส่วนใหญ่ผู้เรียนจะเป็นหัวกะทิที่คัดมาแล้วอย่างดี ดังนั้น  คะแนนและชิ้นงานจึงมีความใกล้เคียงกัน สุดท้ายเมื่อรวมคะแนนแล้วมีความต่างกันไม่มากนัก ถ้าเป็นการแข่งขันกีฬาระดับโลกก็เทียบเคียงได้กับการวิ่งเข้าเส้นชัย หรือ แตะขอบสระ(น้ำ)แบบพร้อมๆกันจนต้องนำภาพช้ามาตัดสิน เป็นต้น ดังนั้น ความลำบากใจจึงตกแก่ผู้ประเมินผลการเรียน (อาจารย์ผู้สอน) ด้วยเหตุนี้ หลักสูตรในต่างประเทศจึงมีประจุลบ (-) เพิ่มขึ้นมาเพื่อเป็นตัวเลือกในการประเมินความต่างกันของระดับความรู้ความสามารถของผู้เรียนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม (equity and legitemacy) ตลอดจนความชัดเจนในการประเมินผลการศึกษามากยิ่งขึ้น
               2. รายวิชาระเบียบวิธีวิจัย ในบ้านเรา (เมืองไทย) หลักสูตรปริญญาเอกส่วนใหญ่จะกำหนดให้ศึกษาเพียงแค่รายวิชาเดียว ซึ่งหากเปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกอย่าง Cornell University และมหาวิทยาลัยชั้นนำอีกหลายแห่งโดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาที่มักกำหนดให้มีการเรียนเนื้อหาวิชา (Coursework) มักจะระบุจำนวนวิชาที่เกี่ยวข้องกับระเบียบวิธีวิจัยในรายวิชาบังคับ ให้นักศึกษาปริญญาเอกได้เรียนหลายวิชาด้วยกัน เพราะเขามีฐานคิดที่ว่าการเรียนปริญญาเอกจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความเชี่ยวชาญทั้งทฤษฎีและระเบียบวิธีวิทยาการวิจัย หากไม่มีความเข้มข้นของทั้งสองสิ่งนี้แล้ว เมื่อสำเร็จการศึกษาไปแล้วจะนำไปประยุกต์ใช้ได้ค่อนข้างลำบาก  ดังนั้น หลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาเอกในบ้านเราจึงควรพิจารณาถึงประเด็นนี้ด้วย

อื่นๆ
-ช่วงหน้าหนาวอุณหภูมิ -30 องศาเซลเซียส
-เมืองการศึกษา ปลอดภัย แต่ค่อนข้างเงียบ บรรยากาศดีร่มรื่น
-ห้างสรรพสินค้า มีแต่เฉพาะขายของใช้เท่าที่จำเป็น อยู่ห่างไกล ไม่คึกครื้นเหมือนเมืองไทย
-อาหารไทยแพงมาก ถ้าจะกินให้อร่อยและประหยัดต้องทำกินเอง
-ค่าตั๋วเครื่องบินถ้าจองไปกลับ (Two way tickets) จะถูกกว่าจองเที่ยวเดียว ราคาตั๋วไป-กลับประมาณ 70,000 บาท ส่วนใหญ่จึงเลือกจองแบบไป-กลับ (คุ้มกว่า) ถ้าไปเที่ยวเดียวก็ราคาประมาณนี้ ยกเว้นช่วงที่เกิดเหตุการณ์ 911 ตั๋วถูกมากประมาณหมื่นกว่าบาท

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมายเหตุ : อ.จตุรงค์ นภาธร อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์การ สังกัดคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ปริญญาโท (Master of Industrial and Labor Relations) (Human Resource Management and Organization), กำลังศึกษาปริญญาเอก ณ  Cornell University, USA ปี 2547 (ทุนธนาคารแห่งประเทศไทย)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น