ประเด็น
|
รายละเอียด
|
สภาพทั่วไป
|
- พระจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน คือ จักรพรรดิอะกิฮิโตะ
– นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ นายชินโสะ อาเบะ (ธ.ค.2555 เป็นต้นไป)
- ประชากรประมาณ 127 ล้านคน (อันดับ 10 ของโลก / 2008)
- ตั้งอยู่บนเกาะ 4 เกาะ มีเกาะเล็กๆ 3,900 เกาะ
- มีภูเขาไฟจำนวนมาก
- เกิดภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง (โดยเฉพาะแผ่นดินไหว)
- มีพื้นที่ทำการเกษตรจำกัด
|
ผู้ปกครอง
|
- พระจักรพรรดิไม่ทรงปกครองประเทศ และมิได้ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ
พระองค์มีพระราชอำนาจเท่าที่รัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นให้ไว้ แต่ในฐานะที่ทรงเป็น ผู้นำในทางพิธีการ รัฐธรรมนูญจึงบัญญัติว่า ทรงเป็น "สัญลักษณ์แห่งประเทศและ แห่งความสามัคคีของชนในรัฐ”
- ผู้ปกครองประเทศที่แท้จริง คือ นายกรัฐมนตรี (Prime minister) มีอำนาจแต่งตั้ง
รัฐมนตรีและให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง |
จุดเด่น
|
ญี่ปุ่นเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก
|
รูปแบบการปกครอง
|
- ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญมี
- ประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา
|
การแบ่งการปกครอง
|
2 ส่วน ได้แก่ 1) ส่วนกลาง และ2) ส่วนท้องถิ่น
|
องค์กรนิติบัญญัติ
|
-กฎหมายของญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลทางประวัติศาสตร์จากกฎหมายของจีน
และมีพัฒนาการเฉพาะตัวในยุคเอโดะผ่านทางเอกสารต่าง ๆ เช่น ประชุมราชนีติ
- สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎร และมนตรีสภา
- สภาผู้แทนราษฎร (สภาล่าง) มีสมาชิก 480 คน มีวาระดำรงตำแหน่งสี่ปี
- มนตรีสภา (สภาสูง) มีสมาชิก 242 คน มีวาระดำรงตำแหน่ง 6 ปี
- มีการเลือกตั้งสมาชิกมนตรีสภาจำนวนครึ่งหนึ่งสลับกันไปทุก 3 ปี
|
องค์กรนิติบัญญัติ (ต่อ)
|
- สมาชิกของสภาทั้งสองมาจากการเลือกตั้งทั่วประเทศ
- ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์เป็นต้นไป[1]
- พรรคเสรีประชาธิปไตยเป็นพรรครัฐบาลมาโดยตลอดตั้งแต่ก่อตั้งพรรคใน
พ.ศ. 2498[2] จนในปี พ.ศ. 2552 พรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่นชนะการเลือกตั้ง จึงทำให้
- กฎหมายสูงสุดแห่งรัฐ คือ รัฐธรรมนูญ
- กฎหมายหลักของญี่ปุ่นเรียกประมวลกฎหมายทั้งหก มีสภาพเป็นประมวลกฎหมาย
ที่สำคัญหกฉบับ
-บรรดากฎหมายแม่บทของญี่ปุ่นมีสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้ตรา พระจักรพรรดิ
เป็นผู้ทรงประกาศใช้โดยต้องทรงประทับพระราชลัญจกรในประกาศด้วย ทั้งนี้ โดยนิตินัยแล้ว พระจักรพรรดิไม่มีพระราชอำนาจในการยับยั้งกฎหมาย
-ประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่ง โดยมีประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมันเป็นต้นแบบ
และคงมีผลใช้บังคับอยู่นับแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนปัจจุบัน |
ศาล
|
- ศาลญี่ปุ่นนั้นมีระบบเดียว คือ ศาลยุติธรรม แบ่งเป็นสามชั้นจากต่ำขึ้นไป ดังนี้
ศาลชั้นต้น ประกอบด้วย ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลครอบครัว
ศาลอุทธรณ์ เรียก ศาลสูง
ศาลสูงสุด เรียก ศาลสูงสุด
- ตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษ 2400 เป็นต้นมา ได้มีการวางรากฐานระบบตุลาการใน
ญี่ปุ่นขนานใหญ่โดยใช้ระบบซีวิลลอว์ของยุโรป โดยเฉพาะของฝรั่งเศสและเยอรมนี เป็นต้นแบบ[4] |
ช่วงเวลาเริ่มการปฏิรูป
|
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และ ทำอย่างจริงจังช่วง ค.ศ.1999-2000
|
การปฏิรูประบบราชการ
(ส่วนกลาง)
|
-การเสริมสร้างความเป็นผู้นำของนายกรัฐมนตรีและการปฏิรูปอำนาจหน้าที่
ของคณะรัฐมนตรีเพื่อให้การบริหารงานมีความยืดหยุ่น คล่องตัว สามารถตอบสนอง
ข้อเรียกร้องของประชาชนได้อย่างแท้จริง
-ปรับปรุงโครงสร้างของการบริหารราชการใหม่เพื่อลดขนาด และเพิ่ม
ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของการทำงานโดยภาครัฐ
- มีการจัดตั้งสถาบันอิสระ (Independence Administration Institute /IAI) ขึ้น
จำนวน 59 แห่ง |
การปฏิรูประบบราชการ
(ส่วนกลาง) (ต่อ)
|
เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบการบริหารงานของหน่วยงานรัฐทั้ง 89 แห่ง
-ปรับลดขนาดองค์การและจำนวนข้าราชการให้เล็กลงเพื่อให้รัฐบาลสามารถ
บริหารแบบองค์กรขนาดเล็กแต่มีประสิทธิภาพ (Slim and Effective)
- กฎหมายเลือกตั้งแบบใหม่ของญี่ปุ่น
|
การปฏิรูประบบราชการ
(ส่วนท้องถิ่น)
|
-เริ่มมีการกระจายอำนาจการปกครองอย่างจริงจังหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
เนื่องจากรัฐธรรมนูญบังคับไว้
- ประกอบด้วย 2 รูปแบบ คือ จังหวัด และ เทศบาล
- หลักการว่า ภารกิจใดที่ท้องถิ่นสามารถทำได้ ส่วนกลางจะถ่ายโอนไปให้ท้องถิ่น
ทำทั้งหมด โดยรัฐบาลจะพยายามจัดสรรงบประมาณไปให้ท้องถิ่นทำให้มากที่สุด
- ท้องถิ่นได้รับเงินอุดหนุนในอัตราส่วน (2 : 3)
-ส่วนกลางมีบทบาทน้อยลงทำหน้าที่ในการหาเงินลงทุนกับต่างประเทศแต่การ
บริหารจัดการในประเทศโอนภารกิจให้จังหวัดและเทศบาลดำเนินการเกือบทั้งหมด ถือเป็นต้นแบบของการกระจายอำนาจแห่งหนึ่งของโลกก็ว่าได้ |
ผลของการปฏิรูป
ระบบราชการในญี่ปุ่น
|
-ระบบราชการมีความคล่องตัวขึ้น ลดขนาดองค์กร ลดจำนวนข้าราชการ
ปรับโครงสร้างเหลือเพียง 2 ส่วน (ส่วนกลาง และ ส่วนท้องถิ่น)
- สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง (Change)
- ท้องถิ่นมีบทบาทและภารกิจที่สำคัญมาก สอดคล้องการกระจายอำนาจ (Decentralization)
- ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารระบบราชการ
- ผู้นำส่วนกลางและท้องถิ่นเข้มแข็ง
- ลดการทุจริตคอรัปชั่นลง เนื่องจากมีข้อห้ามไว้ เช่น ห้ามแจกเงิน ห้ามแจกของขวัญ
ห้ามแจกพวงหรีด ห้ามจัดเลี้ยงทุกชนิด ห้ามไปเปิดงาน ห้ามเปิดป้ายร้านค้า ห้ามให้รางวัลนักกีฬา เป็นต้น |
ปัจจัยที่เอื้อความสำเร็จ
การปฏิรูประบบราชการในญี่ปุ่น
|
- การมีส่วนร่วมของประชาชน
- ผู้นำประเทศ ทั้งส่วนกลางและท้องถิ่นที่เข้มแข็งมีวิสัยทัศน์
โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี 3 คน คือ
1) นายกรัฐมนตรี นาคาโซเนะ (ค.ศ. 1982 - 1987)
2) นายกรัฐมนตรี ฮะชิโมโตะ (ค.ศ. 1996 - 1998)
3) นายกรัฐมนตรี โคอิสุมิ (ค.ศ. 2001 - 2006)
- ข้าราชการมีความทุ่มเทเต็มที่ ตั้งใจ
|
ตราสัญลักษณ์
ของระบบราชการ
| |
[1] สำรวจญี่ปุ่น: รัฐบาล สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
[2] ยกเว้นช่วงสั้น ๆ ใน พ.ศ. 2536 ที่เกิดรัฐบาลผสมของพรรคฝ่ายค้าน "A History of the Liberal Democratic Party". พรรคเสรีประชาธิปไตยญี่ปุ่น. http://www.jimin.jp/jimin/english/history/index.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 2007-03-27.
[3] Ian Rowley. "Historic victory for DPJ in Japan's election". Business Week. http://www.businessweek.com/globalbiz/blog/eyeonasia/archives/2009/08/historic_victor.html.
[4] Japanese Civil Code"". Encyclopædia Britannica. 2006. http://www.britannica.com/eb/article-9043364?hook=6804.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น