วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วิเคราะห์ "Time and Motion" กับ SCG (เครือซีเมนต์ไทย)

วิเคราะห์โดย ประทุมทิพย์ ทองเจริญ
หลักเวลาและการเคลื่อนไหว (Time and Motion) ที่เสนอโดยFrederick W. Taylor บิดาการจัดการวิทยาศาสตร์ ผู้วิพากษ์มีทรรศนะว่าปัจจุบัน หลักการดังกล่าวถูกนำมาใช้กับกิจการและงานเกือบทุกประเภท เพราะการทำงานในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคที่มีการแข่งขันสูง (high competetion) ทั้งวงการราชการและเอกชนล้วนนำหลักการนี้มาใช้อย่างหลากหลายและกว้างขวาง เช่น บริการส่งของ ได้แก่ Pizza McDonald KFC แจกใบปลิว ขนส่งน้ำมัน ขนส่งวัตถุดิบป้อนโรงงาน ขนส่งอาหารสด  ไปรษณีย์ เป็นต้น หรือแม้แต่การให้บริการต่างๆ เช่น บริษัทรถยนต์ เช่น โตโยต้า ฮอนด้าที่จะต้องทำงานให้ทันตามเวลาที่แจ้งไว้กับลูกค้า รวมถึงงานที่มีระบบคิวอื่นๆ เช่น ธนาคาร เป็นต้นนอกจากนี้ ในสถาบันอุดมศึกษาก็นำหลักการนี้มาใช้ เช่น งานรับ-ส่งเอกสาร/หนังสือราชการ  งานขับรถส่งวิทยากร งานฝึกซ้อมรับปริญญา เป็นต้น ส่วนงานสาธารณะ เช่น กู้ภัยที่จะต้องใช้มากเป็นพิเศษ เพราะเพียงเสี้ยววินาทีหมายถึง “ความเป็น” และ “ความตาย” ของผู้บาดเจ็บ หรือ หากเคลื่อนย้ายผู้ประสบเหตุแบบผิดวิธีอาจทำให้พิการ หรือ เสียชีวิตได้ด้วย

สำหรับเครือซีเมนต์ไทยนำหลักการเวลาและการเคลื่อนไหวมาใช้กับองค์กรในเครือบริษัท ไม่ว่าจะเป็นงานปูนซีเมนต์ (SCG Cement) สารเคมี ( SCG Chemicals)  กระดาษ (SCG Papers) การลงทุน (SCG Investment)  ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง (SCG Building Materials)  และผู้แทนจำหน่าย (ขนส่ง กระจายสินค้า คลังสินค้า) (SCG Distribution) จะเห็นได้ว่าประเภทของธุรกิจในเครือซีเมนต์ไทยที่ได้นำหลัก “เวลาและการเคลื่อนไหว” หรือ “Time and Motion” มาใช้เกี่ยวข้องกับกิจการทุกประเภท เพียงแต่จะนำมาใช้มากหรือน้อยต่างกันเท่านั้นโดยเฉพาะ SCG Distribution ที่เกี่ยวข้องมากที่สุด ส่วนประเภทอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้แก่ การขนส่งวัตถุดิบให้รวดเร็ว และทันต่อการทำงาน หรือ การส่งมอบสินค้า / วัตถุดิบ  สำหรับประเภทสารเคมี ก็มีความจำเป็นที่จะต้องควบคุมการดำเนินการทุกขั้นตอนเพราะเกี่ยวข้องกับ “ความปลอดภัย” ของผู้ที่รับผิดชอบดำเนินการรวมทั้งคนรอบข้างที่อาจได้รับผลกระทบหากเกิดกรณีผิดพลาดจากขั้นตอนดำเนินการ เช่น วัตถุไวไฟ เป็นต้น เหล่านี้ล้วนนำหลักการ “เวลาและความเคลื่อนไหว"มาใช้เกือบทุกขั้นตอนก็ว่าได้เพื่อควบคุม “คุณภาพ” “ปริมาณ” ให้ได้ตามที่ต้องการตามหลัก “ประสิทธิภาพ”  “ประสิทธิผล” รวมทั้ง “ความปลอดภัย” ที่บริษัทจะต้องรับผิดชอบต่อชีวิตผู้คนและสิ่งแวดล้อมด้วย
ในภาพรวมเครือซีเมนต์ไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของหลักการนี้มานานแล้ว ตั้งแต่เริ่มดำเนินการก็ว่าได้ โดยการนำมาใช้กับการคัดเลือกทำเลที่ตั้งโรงงานแต่ละแห่งเพื่อให้สะดวกในการขนส่งวัตถุดิบ/ สินค้า (Logistic) ซึ่งจะเลือกทำเลที่ใกล้กับการคมนาคมขนส่ง อาทิ โรงงานแห่งแรกแถวบางซื่อเพราะติดกับเขตรถไฟ โรงงานที่จังหวัดสระบุรีเพราะความสะดวกในการคมนาคมทั้งทางรถไฟและรถยนต์ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางและการขนส่งดินขาวอันเป็นวัตถุดิบสำคัญจากตำบลบ้านหมอ อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี ซึ่งอยู่ห่างกันเพียง 10 กิโลเมตรเท่านั้น  รวมถึงเหตุผลของการตั้งโรงงานแห่งที่สามที่อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราชก็เช่นเดียวกันเพราะเป็นเมืองใหญ่การคมนาคมสะดวก  ดังนั้น การคัดเลือกทำเลที่ตั้งให้สะดวกแก่การเดินทางและการขนส่งวัตถุดิบมาป้อนโรงงานให้ใกล้ สะดวก และรวดเร็วจึงช่วยประหยัดต้นทุนการขนส่งสินค้าไปได้มาก นอกจากนี้ หลักการคัดเลือกทำเลที่ตั้งยังไปสอดคล้องกับหลัก 4Ps (Price /Place/ Product / and Promotion) ตามทฤษฎีองค์การและการจัดการอีกด้วย  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น