วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

JICA องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่นที่ใครๆก็รู้จัก


ประทุมทิพย์ ทองเจริญ
 
The Japan International Cooperation Agency (JICA)  เป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น  ซึ่งมุ่งเน้นภารกิจในการพัฒนามนุษยชาติให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยเฉพาะประเทศที่ยากจน ด้วยการสนับสนุนเทคโนโลยี ผู้เชี่ยวชาญ และความร่วมมือด้านการวิจัยกับองค์กรต่างๆทั่วโลก (ยุโรป  เอเชีย  ตะวันออกกลาง  แอฟริกา โอเชียเนีย  ลาตินอเมริกา) ซึ่งที่เน้นเป็นพิเศษ ก็คือ กลุ่มประเทศในแถบเอเชีย ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA : Southeast Asia) และกลุ่มประเทศอาเซียน (ASEAN) ทั้งกลุ่มประเทศสมาชิกเดิม 6 ประเทศ และประเทศสมาชิกใหม่ในอาเซียน หรือ CLMV (Cambodia / Laos / Myanmar / Vietnam) โดยเฉพาะการสนับสนุนในหลากหลายสาขาทางด้านวิศวกรรม (Engineering) ได้แก่ วิศวกรรมเคมี (Chemical) วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environment) วิศวกรรมการผลิต (Manufacturing) วัสดุวิศวกรรม (Material) วิศวกรรมโยธา (Civil) วิศวกรรมไฟฟ้า (Electric & Electronic) วิศวกรรมข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) วิศวกรรมเครื่องกลและอากาศยาน และวิศวกรรมธรณี (geological) ร่วมกับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา (Higher Education) ซึ่งหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการประสานเชื่อมโยงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยของภูมิภาค คือ AUN (ASEAN University Network)  และ SEED-Net  (Southeast Asia Engineering Education Development Network)  ร่วมกับมหาวิทยาลัยในอาเซียน 19 แห่ง และมหาวิทยาลัยของญี่ปุ่น 11 แห่ง ซึ่งในอนาคตการพัฒนาการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของกลุ่มประเทศที่กล่าวมา คือ การพัฒนาโปรแกรมปริญญาโทและปริญญาเอกให้มีความเป็นสากลในภูมิภาคเดียวกันมากขึ้น

จากการศึกษาดูงานที่ JICA ในครั้งนี้  ทำให้คณะนักศึกษาได้รับข้อคิดที่เป็นประโยชน์และนำไปสู่การประยุกต์ใช้กับบริบทของประเทศไทยดังนี้

1)  สำหรับประเทศไทยควรมีองค์กรกลางที่ทำหน้าที่ในการประสานงานระหว่างองค์กร เนื่องจากในทางปฏิบัติพบว่าบริบทของสังคมไทยส่วนใหญ่เป็นการทำงานแบบแยกส่วน ขาดการประสานงานเชื่อมโยงที่ดีระหว่างหน่วยงานกับหน่วยงาน  อาทิ การขุดเจาะถนนเพื่อวางท่อของเทศบาล การประปา  การไฟฟ้า เพื่อทำโครงการอะไรบางอย่าง บนถนนสายเดียวกัน แต่ทำกันคนละครั้ง ภายในเวลาใกล้เคียงกัน ด้วยเหตุผลที่ว่าใช้งบประมาณคนละหน่วยงาน  ซึ่งในสายตาของประชาชน ต้องการให้มีการพูดคุยกันของหน่วยงาน วางแผนร่วมกัน เป็นการประหยัดงบประมาณ ประหยัดเวลา และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน ดังนั้น การมีองค์กรกลางซึ่งทำหน้าที่ประสานงานเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างองค์กรจึงเป็นความคิดที่ดีในการพัฒนาและต่อยอดการทำงานในภาพใหญ่ระดับประเทศ  ภูมิภาค และระดับโลกให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น

2) ทำให้เกิดแนวคิดต่อการนำประเด็นมาสู่การพัฒนานโยบายทางด้านการศึกษาของประเทศไทย  กล่าวคือ ในการสร้างสังคมฐานความรู้ให้เกิดขึ้นสำหรับการสนับสนุนการพัฒนาประเทศ  สิ่งที่ต้องทำ คือ  กระทรวงศึกษาธิการของไทยควรมีนโยบายที่ชัดเจนต่อการสนับสนุนการสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัยในประเทศในการสร้างความร่วมมือเพื่อพัฒนาความรู้ทางด้านเศรษฐกิจ  สังคม  วัฒนธรรม  และเทคโนโลยีร่วมกัน  โดยสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยต่างๆ มีการแลกเปลี่ยนบุคลาการทางวิชาการ  ชี้แนะประเด็นที่มีความจำเป็นต่อการทำวิจัยร่วมกันในลักษณะเครือข่ายทางวิชาการ

ย่ำแดนอาทิตย์อุทัย

ย่ำแดนอาทิตย์อุทัย
ประทุมทิพย์ ทองเจริญ / สรุป
 
 
1.ความทันสมัยและเทคโนโลยี  ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศระดับโลก ภายหลังจากที่สูญเสียจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ญี่ปุ่นแทบจะไม่เหลืออะไรเลย นอกจากมันสมองและสองมือที่พวกเขาเหลืออยู่ กระทั่งได้พัฒนาและคิดค้นนวัตกรรมต่างๆ สู่สายตาชาวโลก รวมถึงพัฒนามาตรฐานและระบบประกันคุณภาพของสินค้าและบริการให้เป็นที่น่าเชื่อถือภายใต้คำว่า “Made in Japan  เทคโนโลยีสารสนเทศที่ว่านี้มีตั้งแต่การใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ห้องน้ำ  ไปจนถึงเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ญี่ปุ่นนำไปช่วยเหลือเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาแห่งมวลมนุษยชาติอย่าง Olympic London 2012 ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ รวมถึงเทคโนโลยีดาวเทียมและอวกาศ เป็นต้น

 2 บุคลิกของคนญี่ปุ่น  คนญี่ปุ่นเป็นคนที่มีความขยัน ซื่อสัตย์ อดทนสูง มีระเบียบวินัยในการใช้ชีวิต มีความรับผิดชอบ รักเกียรติยศและศักดิ์ศรีของวงศ์ตระกูลและประเทศอย่างมาก  หรือ อาจเรียกว่ามีเลือดของความเป็นชาตินิยมสูง ด้วยสภาวการณ์ที่แข่งขันสูงในญี่ปุ่นจึงทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เกิดความเครียดแฝง สะสมวันแล้ววันเล่ากระทั่งต้องหาวิธีการระบายออก เช่น การร้องเพลงคาราโอเกะ เกมส์ขว้างแก้ว จาน ชาม หรือแม้กระทั่งการคิดสั้นฆ่าตัวตาย  ซึ่งมัคคุเทศก์บอกกับคณะศึกษาดูงานว่าบุคลิกของคนญี่ปุ่นมี 2 ด้าน “ภายใน-ภายนอก” หรือ “อุระ โอโมเตะ” กล่าวคือ คนภายนอกมองคนญี่ปุ่นว่ามีความสดใส ร่าเริง สนุกสนานและมีความสุขกับการใช้ชีวิตและการทำงาน แต่ภายในซึ่งคนญี่ปุ่นทราบดีว่าแฝงไปด้วยความเครียด กดดัน ในสภาวะของการแข่งขันและค่าครองชีพสูง เป็นต้น ซึ่งตรงนี้สะท้อนให้เห็นว่าทุกอย่างมีสองด้านเสมอ ไม่ขาวก็ดำ ไม่มีใครหรือสิ่งใดในโลกสมบูรณ์แบบ ซึ่งหากญี่ปุ่นแก้ไข หรือ เยียวยาตรงนี้ได้  คนญี่ปุ่นจะเป็นพลเมืองที่วิเศษมาก

3 วัฒนธรรม ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม  จากการได้ไปเยือนที่ญี่ปุ่น พบว่าคนญี่ปุ่นมีความตระหนักในเรื่องการรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมที่ดีงามเพื่อคนในชาติและชาวโลกที่มาเยือนได้ศึกษาเรียนรู้วัฒนธรรมอันสะท้อนอัตลักษณ์และจิตวิญญาณของคนญี่ปุ่น รวมถึงการรักษาธรรมชาติ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สังเกตได้จากการที่คนญี่ปุ่นจะเปิดเครื่องปรับอากาศที่อุณหภูมิ 28-30 องศาเซลเซียส เพื่อประหยัดพลังงาน และการนิยมดื่มน้ำขวดเล็กเพื่อให้ดื่มหมดภายในครั้งเดียว (ป้องกันการดื่มทิ้งๆ ขว้างๆ) ตลอดจนการขุดเจาะอุโมงค์ผ่านภูเขาโดยใช้วิธีการขุดเจาะแทนการระเบิดให้แยกออกจากกัน เป็นต้น เหล่านี้ หากมองจากคนภายนอกจะพบว่าญี่ปุ่นได้ผสานวัฒนธรรม ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเข้ากันอย่างลงตัว พร้อมๆกับการก้าวหน้าทางเทคโนโลยีโดยที่มิได้ขัดแย้งกันแต่อย่างใด  

4 ความเอาใจใส่ต่อคุณภาพชีวิตของพลเมือง  ตลอดการศึกษาดูงาน 3 วัน พบว่ารัฐบาลญี่ปุ่นมีความเอาใจใส่ต่อคุณภาพชีวิตของพลเมืองในประเทศของเขาอย่างมาก  ทั้งเรื่องอาหารการกินที่ปลอดภัยจากสารพิษ การทำถนนหนทางที่สะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย  การทำกำแพงสูง 2-3 เมตรให้มีลักษณะโค้งออกมาเพื่อป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกเข้าไปในตัวอาคาร  ตลอดจนน้ำประปาดื่มได้ และส้วมสาธารณะที่สะอาดและทันสมัย เป็นต้น เหล่านี้ สะท้อนถึงความเอาใจใส่ต่อพลเมืองที่รัฐบาลญี่ปุ่นมอบให้รวมทั้งความเท่าเทียมและเสมอภาคด้วยการกำหนดราคาสินค้าและบริการทั้งคนญี่ปุ่นและชาวต่างชาติในราคาเดียวกัน  ไม่มีการแบ่งแยก เป็นต้น

5 การรักษาความปลอดภัยในองค์กร  จากการศึกษาดูงาน พบว่าการรักษาความปลอดภัยในการติดต่อกับหน่วยงานของญี่ปุ่นมีสูงมาก เห็นได้ชัดเจนจากติดต่อประสานเพื่อการศึกษาดูงานในหน่วยงานของญี่ปุ่นทั้ง 3 แห่ง ได้แก่  JICA (The Japan International Cooperation Agency) MEXT (Ministry of Education, Culture, Sports, Science and Technology)  และ GRIPS (National Graduate Institute for Policy Studies)  พบว่า บุคคลภายนอกที่จะเข้ามาติดต่อ  ไม่สามารถเดินเข้าไปในหน่วยงานดังกล่าวได้โดยพลกาล  ต้องรออยู่บริเวณที่นั่งรอ  เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เราติดต่อประสานมาต้อนรับและพาคณะศึกษาดูงานขึ้นไปตามภารกิจที่ได้ติดต่อล่วงหน้า   ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับเมืองไทยแล้ว ในบ้านเรายังขาดความตระหนักในเรื่องนี้  เปิดโอกาสให้คนภายนอกเข้านอกออกในได้สะดวก  และเข้า-ออกภายในหน่วยงานได้ง่าย เช่น คนขายประกัน  เจ้าหน้าที่ธนาคารที่มาขายบัตรเครดิต หรือแม้แต่กลุ่มมิจฉาชีพที่อาจแฝงตัวเข้ามาเพื่อลักเล็กขโมยน้อย โจรกรรม หรือ ก่ออาชญากรรม เป็นต้น  ดังนั้น ประเด็นนี้จึงควรแก่การนำมาเป็นแบบอย่างในบ้านเราเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่พนักงานและองค์กรมากขึ้น

6. การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง  ที่ได้รับจากการศึกษาดูงาน ณ ต่างประเทศ ซึ่งมีลักษณะต่างที่ ต่างถิ่น และต่างวัฒนธรรม ทำให้คณะนักศึกษาได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่นอกเหนือไปจากในหนังสือ ตำรา ซึ่งเป็นข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) แต่การได้มาศึกษาดูงานในครั้งนี้เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ซึ่งจะได้รับข้อมูลแบบปฐมภูมิ (Primary Data) ได้เห็น ได้สัมผัส จากของจริง สอดคล้องกับการศึกษาทางเลือก และสำนวนไทยที่ว่า “สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น  ซึ่งการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาควรสนับสนุนการศึกษาดูงานนอกสถานที่ทั้งภายในประเทศ และภายนอกประเทศมากขึ้น เพื่อเติมเต็มความรู้และประสบการณ์ให้กับผู้เรียนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

 

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

e-Education : มิติใหม่ทางการศึกษาในโลกไร้พรมแดน

ประทุมทิพย์  ทองเจริญ *
สมบูรณ์  ศิริสรรหิรัญ**

บทคัดย่อ

ทุกวันนี้ ข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี (IT) มีความสำคัญกับคนทั่วโลกมากขึ้น ทั้งในชีวิตประจำวัน การศึกษา และการทำงาน โดยเฉพาะด้านการศึกษาซึ่งที่ผ่านมาเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาได้ถูกนำมาเผยแพร่ในห้องสมุดเป็นครั้งแรกกว่า 50 ปีมาแล้ว สำหรับประเทศไทยนำมาใช้ครั้งแรก เมื่อ พ..2483 จากนั้นได้พัฒนารูปแบบเรื่อยมา กระทั่งได้นำอิเลคทรอนิกส์ (e) เข้ามาใช้อย่างจริงจัง จนกลายมาเป็นนโยบาย e-Education ของรัฐบาลชุดปัจจุบัน (พ..2555-2558) โดยมี CAI  WBI และ E-learning เป็นเครื่องมือหลักที่ใช้ขับเคลื่อนนโยบาย บทความนี้ได้นำตัวแบบหลายกระแส (Multiple Streams) ของ John Kingdon (ค..1984 และ 1995) มาทำการวิเคราะห์นโยบายเพื่อหาความสัมพันธ์ของบริบทและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ 3 กระแสหลัก  คือ กระแสปัญหา (Problem Stream) กระแสนโยบาย (Policy Stream) และกระแสทางการเมือง (Political Stream) 

วัตถุประสงค์ของการวิจัยมี 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาและบริบทที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย e-Education 2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของบริบทและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย e-Education กับตัวแบบหลายกระแส (Multiple Streams) 3) เพื่อหาแนวทางและข้อเสนอแนะการประเมินผลนโยบาย e-Education ทั้งเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติ

ผลการศึกษาพบว่า 1) กระแสปัญหา - สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคไร้พรมแดนที่กลายมาเป็นสังคมฐานความรู้ (KBS) และเศรษฐกิจฐานความรู้ (KBE)  2) กระแสนโยบาย - สัมพันธ์กับกฎหมาย แผน และนโยบายก่อนหน้านี้  ได้แก่ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542   แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ฉบับที่ 10 และฉบับที่ 11 (ฉบับปัจจุบัน)  รวมถึงกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT 2010) กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT 2020) และนโยบายการศึกษาของรัฐบาลชุดปัจจุบัน  3) กระแสทางการเมือง - สัมพันธ์กับกลุ่มผลประโยชน์ที่ให้ความสำคัญกับ IT มากขึ้น โดยเฉพาะการสานต่อนโยบาย IT สมัยนายกรัฐมนตรี พ...ทักษิณ ชินวัตร สำหรับแนวทางการประเมินผลนโยบายทั้งในเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติ มีการเสนอว่าควรใช้ระบบประเมินและให้ข้อเสนอแนะผ่านโฮมเพจในเวบไซต์ของสถานศึกษาและของกระทรวงศึกษาธิการ ตลอดจนจัดกิจกรรมสร้างสรรค์และการประกวดของเยาวชนเพื่อสร้างความตระหนักและกระตุ้นการเรียนรู้ผ่านระบบ e-Education  รวมถึงการสำรวจสถิติการเข้าไปใช้เครื่องมือทั้ง 3 อย่าง (CAI  WBI และ E-learning) ของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปประมวลผลและสังเคราะห์ในเชิงลึกต่อไป

คำสำคัญ : e-Education/ ตัวแบบหลายกระแส/ สารสนเทศทางการศึกษา 


*อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี,  
นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต  คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล
** รองศาสตราจารย์ ดร, ภาควิชาสังคมศาสตร์  คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล, อาจารย์ที่ปรึกษา

e-Education : A New Dimension of Education in Globalization

Pratumtip Thongcharoen *
Somboon  Sirisunhirun**

Abstract

Information Technology (IT) plays an important role in various ways in today society: daily life, work and education, particularly through studying and learning. IT has been introduced in academic in libraries for more than 50 years. IT has been using in Thai education since 1940, and then it was set to be e-Education policy of the Thai Government (2012-2015). There are three special components of e-Education; CAI WBI and E-learning to drive this policy in order to encourage the Thai society becoming globalization.

There are three main objectives of the research; 1) to study background and contexts of e-Education; 2) to analyze the relation of contextual factors related to e-Education policy which concern with The Multiple Streams Model of John Kingdon (1984 and 1995); 3) to guideline for evaluation and recommendations for e-Education as a theoretical and practical.

The results showed that firstly, the problem stream – related to the transformation of the world becoming a global knowledge-based society (KBS) and knowledge-based economy (KBE). Secondly, the policy stream – in relation to earlier laws plans and policies (IT strategic plan 2010, ICT strategic plan 2020, The National Education Act 1999, and The National Economic and Social Development Plan No.9, 10 and 11). The last, the political stream - relations with interest groups that focus on IT and stakeholders who increasing awareness of using IT in Education, especially IT policy to continue the former Prime Minister Thaksin Shinawatra for the evaluation of policies both theoretical and practical.

Finally, to evaluate e-Education policy, the results suggested that it should use evaluate and provide feedback via the homepage in the website of Educational Institutes and the Ministry of Education. As well as, creative activities and competition for young people to raise awareness and simulate learning through e-Education as well as a statistical survey of the use of three components of e-Education (CAI WBI and E-learning) to be advantages of improvement and development this policy in the future.

Keywords: e-Education/ Multiple Streams/ Information Technology


* Instructor of the Department of Public Administration, Suratthani Rajabhat University,
Ph.D. Candidate at The Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University.
**Associate Professor, Dr., Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University, Advisor

 

วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Reinventing Government / ปฏิรูประบบราชการญี่ปุ่น

ประเด็น
รายละเอียด
สภาพทั่วไป
- พระจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน คือ จักรพรรดิอะกิฮิโตะ
นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ นายชินโสะ อาเบะ (ธ.ค.2555 เป็นต้นไป)
- ประชากรประมาณ 127 ล้านคน (อันดับ 10 ของโลก / 2008)
- ตั้งอยู่บนเกาะ 4 เกาะ มีเกาะเล็กๆ 3,900 เกาะ
- มีภูเขาไฟจำนวนมาก
- เกิดภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง (โดยเฉพาะแผ่นดินไหว)
- มีพื้นที่ทำการเกษตรจำกัด
ผู้ปกครอง
- พระจักรพรรดิไม่ทรงปกครองประเทศ และมิได้ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ
พระองค์มีพระราชอำนาจเท่าที่รัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นให้ไว้ แต่ในฐานะที่ทรงเป็น
ผู้นำในทางพิธีการ รัฐธรรมนูญจึงบัญญัติว่า ทรงเป็น "สัญลักษณ์แห่งประเทศและ
แห่งความสามัคคีของชนในรัฐ”
- ผู้ปกครองประเทศที่แท้จริง คือ นายกรัฐมนตรี (Prime minister) มีอำนาจแต่งตั้ง
รัฐมนตรีและให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง
จุดเด่น
ญี่ปุ่นเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก
รูปแบบการปกครอง
- ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญมี
- ประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา
การแบ่งการปกครอง
2 ส่วน ได้แก่  1) ส่วนกลาง   และ2) ส่วนท้องถิ่น
องค์กรนิติบัญญัติ  
-กฎหมายของญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลทางประวัติศาสตร์จากกฎหมายของจีน
และมีพัฒนาการเฉพาะตัวในยุคเอโดะผ่านทางเอกสารต่าง ๆ เช่น ประชุมราชนีติ
- สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎร และมนตรีสภา
- สภาผู้แทนราษฎร (สภาล่าง) มีสมาชิก 480 คน มีวาระดำรงตำแหน่งสี่ปี
- มนตรีสภา (สภาสูง) มีสมาชิก 242 คน มีวาระดำรงตำแหน่ง 6 ปี
- มีการเลือกตั้งสมาชิกมนตรีสภาจำนวนครึ่งหนึ่งสลับกันไปทุก 3 ปี
องค์กรนิติบัญญัติ  (ต่อ)
- สมาชิกของสภาทั้งสองมาจากการเลือกตั้งทั่วประเทศ
- ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์เป็นต้นไป[1]
- พรรคเสรีประชาธิปไตยเป็นพรรครัฐบาลมาโดยตลอดตั้งแต่ก่อตั้งพรรคใน
พ.ศ. 2498[2] จนในปี พ.ศ. 2552 พรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่นชนะการเลือกตั้ง จึงทำให้
พรรคเสรีประชาธิปไตยเสียตำแหน่งพรรครัฐบาลซึ่งครองมายาวนานกว่า 54 ปี[3]
- กฎหมายสูงสุดแห่งรัฐ คือ รัฐธรรมนูญ
- กฎหมายหลักของญี่ปุ่นเรียกประมวลกฎหมายทั้งหก มีสภาพเป็นประมวลกฎหมาย
ที่สำคัญหกฉบับ
-บรรดากฎหมายแม่บทของญี่ปุ่นมีสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้ตรา พระจักรพรรดิ
เป็นผู้ทรงประกาศใช้โดยต้องทรงประทับพระราชลัญจกรในประกาศด้วย ทั้งนี้
โดยนิตินัยแล้ว พระจักรพรรดิไม่มีพระราชอำนาจในการยับยั้งกฎหมาย 
-ประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่ง โดยมีประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมันเป็นต้นแบบ
และคงมีผลใช้บังคับอยู่นับแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนปัจจุบัน
ศาล
- ศาลญี่ปุ่นนั้นมีระบบเดียว คือ ศาลยุติธรรม แบ่งเป็นสามชั้นจากต่ำขึ้นไป ดังนี้
        ศาลชั้นต้น ประกอบด้วย ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลครอบครัว
        ศาลอุทธรณ์ เรียก ศาลสูง
        ศาลสูงสุด เรียก ศาลสูงสุด
- ตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษ 2400 เป็นต้นมา ได้มีการวางรากฐานระบบตุลาการใน
ญี่ปุ่นขนานใหญ่โดยใช้ระบบซีวิลลอว์ของยุโรป โดยเฉพาะของฝรั่งเศสและเยอรมนี
เป็นต้นแบบ[4]
ช่วงเวลาเริ่มการปฏิรูป
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และ ทำอย่างจริงจังช่วง ค..1999-2000
การปฏิรูประบบราชการ
(ส่วนกลาง)
-การเสริมสร้างความเป็นผู้นำของนายกรัฐมนตรีและการปฏิรูปอำนาจหน้าที่
ของคณะรัฐมนตรีเพื่อให้การบริหารงานมีความยืดหยุ่น คล่องตัว สามารถตอบสนอง
ข้อเรียกร้องของประชาชนได้อย่างแท้จริง 
-ปรับปรุงโครงสร้างของการบริหารราชการใหม่เพื่อลดขนาด และเพิ่ม
ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของการทำงานโดยภาครัฐ              
- มีการจัดตั้งสถาบันอิสระ (Independence Administration Institute /IAI) ขึ้น
จำนวน 59 แห่ง
การปฏิรูประบบราชการ
(ส่วนกลาง) (ต่อ)
เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบการบริหารงานของหน่วยงานรัฐทั้ง 89 แห่ง
 -ปรับลดขนาดองค์การและจำนวนข้าราชการให้เล็กลงเพื่อให้รัฐบาลสามารถ
บริหารแบบองค์กรขนาดเล็กแต่มีประสิทธิภาพ (Slim and Effective)  
- กฎหมายเลือกตั้งแบบใหม่ของญี่ปุ่น
การปฏิรูประบบราชการ
(ส่วนท้องถิ่น)
-เริ่มมีการกระจายอำนาจการปกครองอย่างจริงจังหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
เนื่องจากรัฐธรรมนูญบังคับไว้
- ประกอบด้วย 2 รูปแบบ คือ จังหวัด และ เทศบาล
- หลักการว่า ภารกิจใดที่ท้องถิ่นสามารถทำได้ ส่วนกลางจะถ่ายโอนไปให้ท้องถิ่น
ทำทั้งหมด โดยรัฐบาลจะพยายามจัดสรรงบประมาณไปให้ท้องถิ่นทำให้มากที่สุด
- ท้องถิ่นได้รับเงินอุดหนุนในอัตราส่วน (2 : 3)
-ส่วนกลางมีบทบาทน้อยลงทำหน้าที่ในการหาเงินลงทุนกับต่างประเทศแต่การ
บริหารจัดการในประเทศโอนภารกิจให้จังหวัดและเทศบาลดำเนินการเกือบทั้งหมด
ถือเป็นต้นแบบของการกระจายอำนาจแห่งหนึ่งของโลกก็ว่าได้
ผลของการปฏิรูป
ระบบราชการในญี่ปุ่น
-ระบบราชการมีความคล่องตัวขึ้น ลดขนาดองค์กร ลดจำนวนข้าราชการ
ปรับโครงสร้างเหลือเพียง 2 ส่วน (ส่วนกลาง และ ส่วนท้องถิ่น)
- สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง (Change)
- ท้องถิ่นมีบทบาทและภารกิจที่สำคัญมาก สอดคล้องการกระจายอำนาจ (Decentralization)
- ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารระบบราชการ
- ผู้นำส่วนกลางและท้องถิ่นเข้มแข็ง
- ลดการทุจริตคอรัปชั่นลง เนื่องจากมีข้อห้ามไว้ เช่น ห้ามแจกเงิน ห้ามแจกของขวัญ
ห้ามแจกพวงหรีด ห้ามจัดเลี้ยงทุกชนิด ห้ามไปเปิดงาน ห้ามเปิดป้ายร้านค้า
ห้ามให้รางวัลนักกีฬา  เป็นต้น
ปัจจัยที่เอื้อความสำเร็จ
การปฏิรูประบบราชการในญี่ปุ่น
- การมีส่วนร่วมของประชาชน
- ผู้นำประเทศ ทั้งส่วนกลางและท้องถิ่นที่เข้มแข็งมีวิสัยทัศน์
โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี 3 คน คือ
      1) นายกรัฐมนตรี นาคาโซเนะ (ค.ศ. 1982 - 1987)  
      2) นายกรัฐมนตรี ฮะชิโมโตะ (ค.ศ. 1996 - 1998)  
      3) นายกรัฐมนตรี โคอิสุมิ (ค.ศ. 2001 - 2006)
- ข้าราชการมีความทุ่มเทเต็มที่ ตั้งใจ
ตราสัญลักษณ์
ของระบบราชการ







[1] สำรวจญี่ปุ่น: รัฐบาล สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
[2] ยกเว้นช่วงสั้น ๆ ใน พ.ศ. 2536 ที่เกิดรัฐบาลผสมของพรรคฝ่ายค้าน "A History of the Liberal Democratic Party". พรรคเสรีประชาธิปไตยญี่ปุ่น. http://www.jimin.jp/jimin/english/history/index.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 2007-03-27.
[3] Ian Rowley. "Historic victory for DPJ in Japan's election". Business Week. http://www.businessweek.com/globalbiz/blog/eyeonasia/archives/2009/08/historic_victor.html.
[4] Japanese Civil Code"". Encyclopædia Britannica. 2006. http://www.britannica.com/eb/article-9043364?hook=6804.