เมื่อ "เงินเดือน" กับ "ค่าครองชีพ" สวนทางกัน คำว่า "เงินออม" และคุณภาพชีวิตที่ดีจึงอาจเป็นเพียงความฝันของหนุ่มสาววัยทำงานยุคนี้ รัฐบาลควรปรับฐานเงินเดือนตามความเป็นจริงและควบคุมราคาสินค้ามิให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนแซงหน้าเงินเดือน #คำนวณเฉพาะคนโสด ถ้ามีครอบครัวแต่งงานมีลูกค่าใช้จ่ายอื่น ๆ คงมากกว่านี้
> ค่าใช้จ่ายรายเดือน...25,000 บาท
วานนี้ ในห้องเรียนวิเคราะห์เงินเดื อนและค่าครองชีพ ในหัวข้อ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ได้ข้อมูลเชิงประจักษ์ ดังนี้
> เงินเดือน ป.ตรี จบใหม่ 15,000 บาท
******************************
#ค่าห้องพักรายเดือน = 3500-5000 บ.
#ค่าน้ำ+ค่าไฟ = 1000-1500 บ.
#ค่าโทรศัพท์ = 500-1000 บ.
#ค่าอินเตอร์เน็ต = 500-800 บ.
#ค่ากิน = 5000-6000 บ.
#ค่าชุดทำงาน 1 ชุด = 1500-2000
#ค่าสันทนาการกับเพื่อน = 1500 บ.
#ค่าน้ำมันรถ (มอเตอร์ไซต์/รถยนต์) = 500-2000
# ของใช้ส่วนตัว /เครื่องสำอางค์ = 2,000-5,000 บ#ค่าน้ำ+ค่าไฟ = 1000-1500 บ.
#ค่าโทรศัพท์ = 500-1000 บ.
#ค่าอินเตอร์เน็ต = 500-800 บ.
#ค่ากิน = 5000-6000 บ.
#ค่าชุดทำงาน 1 ชุด = 1500-2000
#ค่าสันทนาการกับเพื่อน = 1500 บ.
#ค่าน้ำมันรถ (มอเตอร์ไซต์/รถยนต์) = 500-2000
#ค่าภาษีสังคม (ซอง) =500-1500 บ.
ผลกระทบ..
เงินเดือนในระบบราชการที่น้อยกว่าเอกชน 2 เท่า ส่งผลต่อความเสี่ยงการทุจริตคอรัปชั่น นายลีกวนยู อดีตนายกฯ คนแรกของสิงคโปร์จึงปรับฐานเงินเดือนในระบบราชการให้เท่ากับเอกชน รวมถึงมาตรการอื่น ๆ รองรับ
สิ่งที่กระทบอีกอย่าง คือ เมื่อรายได้ไม่พอ คนทำงานจึงหาอาชีพเสริม หลายคนต้องทำงานเสาร์-อาทิตย์ ยอมแลกวันหยุดกับรายได้ที่จะมาจุนเจือครอบครัว ความอบอุ่นและกิจกรรมของครอบครัวจึงขาดหายไป
น้อง ๆ ที่รู้จักกัน เพิ่งจบใหม่ บอกว่าเขารายได้ไม่พอจ่าย ต้องหาอาชีพเสริม ขายโน้น นี้ นั้น หลายทาง ...ทำช่วงกลางคืน แล้วก็วันหยุด ...ฟังแล้วสะเทือนใจ...นึกถึงหนูที่ต้องวิ่งบนสายพานตลอดเวลา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น