วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วิเคราะห์ "Time and Motion" กับ SCG (เครือซีเมนต์ไทย)

วิเคราะห์โดย ประทุมทิพย์ ทองเจริญ
หลักเวลาและการเคลื่อนไหว (Time and Motion) ที่เสนอโดยFrederick W. Taylor บิดาการจัดการวิทยาศาสตร์ ผู้วิพากษ์มีทรรศนะว่าปัจจุบัน หลักการดังกล่าวถูกนำมาใช้กับกิจการและงานเกือบทุกประเภท เพราะการทำงานในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคที่มีการแข่งขันสูง (high competetion) ทั้งวงการราชการและเอกชนล้วนนำหลักการนี้มาใช้อย่างหลากหลายและกว้างขวาง เช่น บริการส่งของ ได้แก่ Pizza McDonald KFC แจกใบปลิว ขนส่งน้ำมัน ขนส่งวัตถุดิบป้อนโรงงาน ขนส่งอาหารสด  ไปรษณีย์ เป็นต้น หรือแม้แต่การให้บริการต่างๆ เช่น บริษัทรถยนต์ เช่น โตโยต้า ฮอนด้าที่จะต้องทำงานให้ทันตามเวลาที่แจ้งไว้กับลูกค้า รวมถึงงานที่มีระบบคิวอื่นๆ เช่น ธนาคาร เป็นต้นนอกจากนี้ ในสถาบันอุดมศึกษาก็นำหลักการนี้มาใช้ เช่น งานรับ-ส่งเอกสาร/หนังสือราชการ  งานขับรถส่งวิทยากร งานฝึกซ้อมรับปริญญา เป็นต้น ส่วนงานสาธารณะ เช่น กู้ภัยที่จะต้องใช้มากเป็นพิเศษ เพราะเพียงเสี้ยววินาทีหมายถึง “ความเป็น” และ “ความตาย” ของผู้บาดเจ็บ หรือ หากเคลื่อนย้ายผู้ประสบเหตุแบบผิดวิธีอาจทำให้พิการ หรือ เสียชีวิตได้ด้วย

สำหรับเครือซีเมนต์ไทยนำหลักการเวลาและการเคลื่อนไหวมาใช้กับองค์กรในเครือบริษัท ไม่ว่าจะเป็นงานปูนซีเมนต์ (SCG Cement) สารเคมี ( SCG Chemicals)  กระดาษ (SCG Papers) การลงทุน (SCG Investment)  ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง (SCG Building Materials)  และผู้แทนจำหน่าย (ขนส่ง กระจายสินค้า คลังสินค้า) (SCG Distribution) จะเห็นได้ว่าประเภทของธุรกิจในเครือซีเมนต์ไทยที่ได้นำหลัก “เวลาและการเคลื่อนไหว” หรือ “Time and Motion” มาใช้เกี่ยวข้องกับกิจการทุกประเภท เพียงแต่จะนำมาใช้มากหรือน้อยต่างกันเท่านั้นโดยเฉพาะ SCG Distribution ที่เกี่ยวข้องมากที่สุด ส่วนประเภทอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้แก่ การขนส่งวัตถุดิบให้รวดเร็ว และทันต่อการทำงาน หรือ การส่งมอบสินค้า / วัตถุดิบ  สำหรับประเภทสารเคมี ก็มีความจำเป็นที่จะต้องควบคุมการดำเนินการทุกขั้นตอนเพราะเกี่ยวข้องกับ “ความปลอดภัย” ของผู้ที่รับผิดชอบดำเนินการรวมทั้งคนรอบข้างที่อาจได้รับผลกระทบหากเกิดกรณีผิดพลาดจากขั้นตอนดำเนินการ เช่น วัตถุไวไฟ เป็นต้น เหล่านี้ล้วนนำหลักการ “เวลาและความเคลื่อนไหว"มาใช้เกือบทุกขั้นตอนก็ว่าได้เพื่อควบคุม “คุณภาพ” “ปริมาณ” ให้ได้ตามที่ต้องการตามหลัก “ประสิทธิภาพ”  “ประสิทธิผล” รวมทั้ง “ความปลอดภัย” ที่บริษัทจะต้องรับผิดชอบต่อชีวิตผู้คนและสิ่งแวดล้อมด้วย
ในภาพรวมเครือซีเมนต์ไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของหลักการนี้มานานแล้ว ตั้งแต่เริ่มดำเนินการก็ว่าได้ โดยการนำมาใช้กับการคัดเลือกทำเลที่ตั้งโรงงานแต่ละแห่งเพื่อให้สะดวกในการขนส่งวัตถุดิบ/ สินค้า (Logistic) ซึ่งจะเลือกทำเลที่ใกล้กับการคมนาคมขนส่ง อาทิ โรงงานแห่งแรกแถวบางซื่อเพราะติดกับเขตรถไฟ โรงงานที่จังหวัดสระบุรีเพราะความสะดวกในการคมนาคมทั้งทางรถไฟและรถยนต์ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางและการขนส่งดินขาวอันเป็นวัตถุดิบสำคัญจากตำบลบ้านหมอ อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี ซึ่งอยู่ห่างกันเพียง 10 กิโลเมตรเท่านั้น  รวมถึงเหตุผลของการตั้งโรงงานแห่งที่สามที่อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราชก็เช่นเดียวกันเพราะเป็นเมืองใหญ่การคมนาคมสะดวก  ดังนั้น การคัดเลือกทำเลที่ตั้งให้สะดวกแก่การเดินทางและการขนส่งวัตถุดิบมาป้อนโรงงานให้ใกล้ สะดวก และรวดเร็วจึงช่วยประหยัดต้นทุนการขนส่งสินค้าไปได้มาก นอกจากนี้ หลักการคัดเลือกทำเลที่ตั้งยังไปสอดคล้องกับหลัก 4Ps (Price /Place/ Product / and Promotion) ตามทฤษฎีองค์การและการจัดการอีกด้วย  

วิเคราะห์ "One best way" กับ SCG (เครือซีเมนต์ไทย)


วิเคราะห์โดย ประทุมทิพย์ ทองเจริญ

จากภาพที่ 1 การบริหารจัดการแบบวิทยาศาสตร์ของบริษัทเครือซีเมนต์ไทย ตามหลักการ “One best way” ของ Frederick W. Taylor / เสนอแผนภาพโดยผู้วิพากษ์  สามารถอธิบายตามแผนภาพเพิ่มเติม ดังนี้
                อุดมการณ์ เครือซีเมนต์ไทย นำหลักการ One best way” มาใช้กับองค์กร โดยดำเนินการตามอุดมการณ์ 4 ประการ คือ
1) ตั้งมั่นในความเป็นธรรม (Adherence to Fairness)
2) มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ (DEDICATION TO EXCELLENCE)
3) เชื่อมั่นในคุณค่าของคน (BELIEF IN THE VALUE OF THE INDIVIDUAL)
4) ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม (CONCERN FOR SOCIAL RESPONSIBILITY)

จากอุดมการณ์ทั้ง 4 ข้อของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จะเห็นได้ว่า อุดมการณ์ข้อที่ 2) มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ (DEDICATION TO EXCELLENCE) สอดคล้องกับหลักการ “One best way” ซึ่งจากอุดมการณ์ในข้อนี้ นำไปสู่ภารกิจต่างๆ ที่บริษัทดำเนินการให้ไปสู่ความเป็นเลิศในหลายๆ ด้าน ตั้งแต่การเลือกทำเลที่ตั้ง ความเป็นเลิศของคน (Talent)  ความเป็นเลิศทางเทคโนโลยี เป็นต้น

วิสัยทัศน์ หรือ Vision ขององค์กรซึ่งเน้น 2 ประเด็นหลัก คือ “นวัตกรรม” และ “คน” โดยมีใจความว่า วิสัยทัศน์ของเครือซิเมนต์ไทย (SCG) คือ ภายในปี .. 2558 เครือซิเมนต์ไทยจะเป็นองค์กรที่ได้รับการยกย่องในฐานะเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมที่น่าร่วมงานด้วย และเป็นแบบอย่างด้านบรรษัทภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2558  เครือซิเมนต์ไทย การพัฒนาเทคโนโลยี และการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีความเป็นเลิศ
จะเห็นได้ว่า เครือซิเมนต์ไทยทุ่มเทให้กับการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมและสังคม ให้เติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน ตลอดจนการสร้างนวัตกรรมของบริษัทในเครือฯ ไม่ได้เพียงเพื่อพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ ที่สามารถแข่งขันได้ในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังมองถึงความต้องการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อตอบสนองรูปแบบชีวิตของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป สร้างสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น และรองรับกฎเกณฑ์ทางการค้าต่างๆที่อาจเกิดขึ้นด้วยการลงทุนด้านการพัฒนาเทคโนโลยี อาทิ ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ และการจัดทำ Technology roadmap เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการเติบโตในระยะยาว
สำหรับผู้บริหารองค์กรคนสำคัญที่นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กร อาทิ จรัส ชูโต ซึ่งท่านได้นำเอาระบบการจัดการและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการดำเนินกิจการ  และ พารณ อิศรเสนา อยุธยา  ซึ่งเน้นที่การพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องไม่ว่าสถานการณ์จะเปลี่ยนแปลงอย่างไร สิ่งที่ต้องปรับเปลี่ยนจะเป็นในส่วนของ Content ที่จะต้องให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกัน เครือซิเมนต์ไทยยังนิยมใช้การสื่อสารในองค์กร โดยเฉพาะการสื่อสารแบบออนไลน์ด้วยเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในองค์กร (Internet) เพื่อสื่อสารข้อความ ข้อมูลต่างๆ ไปยังพนักงานระดับต่างๆอย่างทันท่วงที และทั่วถึงได้มากกว่าการฝึกอบรมในห้องเรียน
ส่วนวิสัยทัศน์เกี่ยวกับ “คน” เนื่องจาก คน  หรือ ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource) ปัจจุบันมองว่าคนเป็น “ทุน” ขององค์กรอย่างหนึ่ง จึงกลายมาเป็น “ทุนมนุษย์” (Human Capital)  สอดคล้องกับอุดมการณ์ข้อที่สาม  เชื่อมั่นในคุณค่าของคน (BELIEF IN THE VALUE OF THE INDIVIDUAL)  ซึ่งบริษัทปูนซีเมนต์ไทย (SCG)  นำหลักการ “One Best Way” มาใช้ตั้งแต่การคัดเลือก (Selecting) คนเข้ามาทำงานกับองค์กร โดยจะเลือกนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่มีผลการเรียนดีเยี่ยมเข้ามาทำงานกับองค์กร หรือ คนที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วที่จะมาสมัครงานกับบริษัท ด่านแรกที่จะต้องผ่าน คือ เกรดเฉลี่ยจะต้องสูงตามมาตรฐานที่วางไว้ เพราะองค์กรมีความเชื่อพื้นฐานว่าคนเก่ง (Talent) เป็นทุนมนุษย์ที่จะพัฒนาองค์กรไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ตลอดจนสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่างๆได้ และหากเกิดปัญหาพวกเขาก็จะสามารถนำพาองค์กรฝ่าวิกฤติไปได้
แม้ว่าบริษัทปูนซีเมนต์ไทยจะเต็มไปด้วยคนเก่งในองค์กร แต่ทางบริษัทก็มิได้ละเลย “ความดี” ของคนด้วย เพราะ “คนเก่ง” ที่เต็มไปด้วยความรู้ จะต้องควบคู่กับ “คุณธรรม” จากจุดนี้ SCG จึงให้ความสำคัญในการสรรหาบุคลากรเพื่อให้ได้มาซึ่ง คนเก่ง และ คนดี มีคุณภาพสูงและซื่อสัตย์เข้าร่วมปฏิบัติงาน และมุ่งพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง  นอกจากนี้ ยังให้คุณค่ากับ ลูกค้า และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายภายใต้คุณภาพการบริหารงานระดับโลก สอดคล้องกับหลักบรรษัทภิบาล และมีมาตรฐานความปลอดภัยสูง อีกทั้งยังมุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คน
โดยเฉพาะคุณค่าของพนักงาน  ซึ่งเครือซิเมนต์ไทย เชื่อมั่นในคุณค่าและศักยภาพของพนักงาน ซึ่งจะทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ ในบรรยากาศการทำงานที่เปิดเผยโปร่งใส เปี่ยมด้วยพลังแห่งความกระตือรือล้น โดยพนักงานของเราทุกคนจะยึดมั่นและปฏิบัติตามอุดมการณ์ 4 และจรรยาบรรณของเครือซิเมนต์ไทย ภายในปี พ.ศ. 2558 เครือซิเมนต์ไทย จะพัฒนาพนักงานซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ วัฒนธรรม และประสบการณ์ให้มีความมุ่งมั่นตอบสนองความต้องการของลูกค้า มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล
ผู้นำ ผู้นำของบริษัทเครือซีเมนต์ไทย หรือ ที่มักเรียกว่า “นายห้าง” จากอดีตถึงปัจจุบัน 10 รุ่น ได้แก่  
รุ่นที่ 1  มิสเตอร์สคาร์ ชูลท์ซ   
รุ่นที่ 2  มิสเตอร์อีริค ทูน 
รุ่นที่ 3  มิสเตอร์คาร์สเตน ฟรีส เยสเปอร์เซ่น
รุ่นที่ 4  มิสเตอร์คาร์ มิสเตอร์วิกโก เฟรดเฮม-มิงเซ่น
รุ่นที่ 5 บุญมา วงษ์สวรรค์  
รุ่นที่ 6 สมหมาย ฮุนตระกูล  
รุ่นที่ 7 จรัส ชูโต
รุ่นที่ 8 พารณ อิศรเสนา อยุธยา 
รุ่นที่ 9 ชุมพล ลำเลียง
รุ่นที่ 10 กานต์ ตระกูลฮุน
                ที่ผ่านมา ตลอดระยะเวลาที่ผู้บริหารแต่ละรุ่นดำเนินการภายใต้อุดมการณ์ ทั้ง 4 ประการ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ที่เน้นทั้ง “นวัตกรรม” และ “คน” ซึ่งได้ดำเนินการโดยยึดหลักการเหล่านี้ในการขับเคลื่อนและสานต่องานมาโดยตลอด

หลักปฏิบัติ / วัฒนธรรมองค์กร ที่นำเสนอมาโดยสังเขป มี ดังนี้
·       EDP : Executive Development Program
·       Functional Management
·       General Management
·       High Value Added Product
·       Talent Pull
·       Global Mindset
·       Core Business
·       Five Important Characteristics of SCG
อธิบายเพิ่มเติมได้ว่า ทุกอย่างล้วนดำเนินการสอดคล้องกันมาตั้งแต่ อุดมการณ์ วิสัยทัศน์ ที่ถูกนำมาใช้โดยผู้นำองค์กรในแต่ละรุ่น ได้คิดค้น /นำหลักปฏิบัติ หรือ เทคนิควิธีการบริหารจัดการมาใช้กับองค์กรให้ครอบคลุมด้านต่างๆ ตั้งแต่หลักสูตรพัฒนาผู้บริหารระดับสูง (EDP : Executive Development Program)  หรือแม้แต่หลักการพื้นฐาน เช่น หน้าที่การจัดการ  (Functional Management)  หลักการจัดการทั่วไป(General Management) กระทั่งการเพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์  (High Value Added Product)  ซึ่งมองตามหลักการมองในระดับโลก / ภาพใหญ่ (Global Mindset)  การดึงมนุษย์ต้นทุนสูง (Talent) มาเป็นพนักงานในองค์กร และการบริหารตามแก่น/หัวใจของธุรกิจ (Core Business) ซึ่งดำเนินควบคู่กับวัฒนธรรมองค์กร 5 ประการ ดังที่กล่าวมาแล้ว  นอกจากนี้ ยังดำเนินไปภายใต้หลักธรรมาภิบาล (Governance) ด้วย

เมื่อองค์กรนำหลักปฏิบัติ หรือ วัฒนธรรมองค์กรมาใช้จะถูกนำมาประยุกต์ออกมาเป็นการดำเนินการใน 4 รูปแบบหลักๆ คือ กิจกรรมต่างๆ (activities)  การเรียนรู้ (Learning) การอบรม/พัฒนาทักษะ (Training)  ตลอดจนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยเฉพาะการพัฒนาด้านการวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมเป็นการเพิ่มมูลค่าให้สินค้าและบริการ  พบว่า เครือซิเมนต์ไทยมุ่งมั่นเพิ่มศักยภาพในการวิจัย และพัฒนา เพื่อสร้างคุณค่าทั้งด้านสินค้าและบริการ กระบวนการทำงาน รวมทั้งรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ โดยเห็นได้จากจำนวนนักวิจัย และพัฒนา และงบลงทุนด้านนี้ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการ และสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า ซึ่งจะส่งผลให้รักษาความเป็นผู้นำ และเติบโตอย่างมั่นคงต่อไป เครือซีเมนต์ไทย กำหนดนโยบายให้ทุกธุรกิจพัฒนาสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันด้านราคา ส่งผลให้มีสินค้าและบริการใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ผลิตภาพ /รางวัล / ชื่อเสียง -  จากการดำเนินการที่ขับเคลื่อนมาอย่างเป็นระบบตั้งแต่ต้น  สุดท้ายก็จะออกมาในรูปของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตามหลัก “ประสิทธิภาพ” และ  “ประสิทธิผล”  หรือที่เรียกว่า “ผลิตภาพ” (Productivity)  รวมถึงออกมาในรูปของรางวัลต่างๆ เกียรติยศ ชื่อเสียงขององค์กร ผู้นำและพนักงาน กระทั่งเป็น Brand ซึ่งเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก เป็นต้น  โดยเฉพาะรางวัล (rewards) ได้แก่ 1) รางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี Thailand Corporate Excellence Awards  2) SET Awards 2008 3) รางวัลความเป็นเลิศด้านการบริการคุณภาพ (ARE-QP Award) รางวัล Best Paper Award จากผลงานวิชาการเรื่อง People Development in SCG 2008 จาก ASEAN Network for Quality  4) การจัดอันดับบริษัทผู้นำด้านการเปิดเผยข้อมูล CSR เป็นอันดับ 1 ของไทย และอันดับ 6 ของเอเซีย จาก CSR Asia   5) รางวัลอันดับ 1 ด้าน Best Corporate Governance และด้าน Most Committed to a Strong Dividend Policy จากนิตยสาร Finance Asia  6) จัดอันดับบริษัทที่น่าชื่นชมมากที่สุดในประเทศเป็นอันดับ 1 ด้านชื่อเสียงบริษัท อันดับ 2 ด้านคุณภาพและภาพรวมองค์กร และอันดับ 3 ด้านวิสัยทัศน์ระยะยาว จากหนังสือพิมพ์ วอลล์ สตรีท เจอร์นัล เอเซีย 7) บริษัทชั้นนำด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนระดับ Gold Class ในกลุ่มวัสดุและก่อสร้างของดัชนีวัดความมั่นคงของดาวโจนส์ จาก Dow Jones Sustainability Indexes (DJSI)
สิ่งเหล่านี้ เป็นเครื่องประกันอย่างหนึ่งถึงการทำงานทุกอย่างตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนขั้นตอนสุดท้ายที่ดำเนินการ หรือ ล้อตาม อุดมการณ์ วิสัยทัศน์ ผู้นำ ตามหลักปฏิบัติ และวัฒนธรรมองค์กร ออกมาใน 4 รูปแบบข้างต้น กระทั่งออกมาเป็นผลลัทธ์ทั้งที่เป็นนามธรรม เช่น ชื่อเสียง เกียรติยศ และที่เป็นรูปธรรม เช่น ผลผลิตที่มีคุณภาพ เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ใครคือครู...ครูคือใครในวันนี้

http://news.sanook.com/scoop/0/scoop_283540.php

มติชน วัน อาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 08:50 น.
ผู้อ่านใน Sanook.com จำนวน 4371 ครั้ง
 
ครูคือใคร.......

ใครคือครู ครูคือใคร ในวันนี้
ใช่อยู่ที่ ปริญญา มหาศาล
ใช่อยู่ที่ เรียกว่า ครูอาจารย์
ใช่อยู่นาน สอนนาน ในโรงเรียน

ครูคือผู้  ชี้นำ  ทางความคิด
ให้รู้ถูก รู้ผิด คิดอ่านเขียน
ให้รู้ทุกข์  รู้ยาก รู้พากเพียร
ให้รู้เปลี่ยน แปลงสู้ รู้สร้างงาน

ครูคือผู้  ยกระดับ วิญญาณมนุษย์
ให้สูงสุด กว่าสัตว์  เดรัจฉาน
ปลุกสำนึก  สั่งสม อุดมการณ์
มีดวงมาน เพื่อมวลชน ใช่ตนเอง

ครูจึงเป็น นักสร้าง  ผู้ใหญ่ยิ่ง
สร้างคนจริง  สร้างคนกล้า สร้างคนเก่ง
สร้างคนให้ ได้เป็นตัว ของตัวเอง
ขอมอบเพลง  นี้มา บูชาครู

...เนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์ /ประพันธ์...