วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การตีพิมพ์บทความในวารสารวิชาการนานาชาติ (สาขา Public Administration)

ประทุมทิพย์ ทองเจริญ

สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และนักวิชาการที่กำลังมองหาแหล่งตีพิมพ์บทความในวารสารสาขารัฐประศาสนศาสตร์ (Public Administration) วันนี้ยิ้มมีฐานขัอมูลวารสารสาขานี้มาฝากค่ะ ปกติแล้วเมื่อพูดถึงการตีพิมพ์ผลงานวิชาการในวารสารก็จะนึกถึงวารสารที่ได้มาตรฐานสากล อาทิ SCI (Science Citation Index), SSCI (Social Science Citation Index) และ SCOPUS หากเป็นฐานข้อมูลของแต่ละประเทศ อาทิ ประเทศไทย ก็จะเป็น TCI (Thai Journal Citation Index) ส่วนวารสารของกลุ่มประเทศ อาทิ อาเซียน ACI (Asean Citation Index)


จากฐานข้อมูล SSCI โดย Thomson reuters พบวารสารทางสังคมศาสตร์กว่า 3,000 รายการhttp://onlinelibrary.maastrichtuniversity.nl/database/ssci/ ซึ่งรัฐประศาสนศาสตร์ จัดอยู่ในกลุ่มสังคมศาสตร์ประยุกต์ (applied social science)ในบรรดาวารสารทางสังคมศาสตร์ 3 พันกว่ารายการที่ว่านี้ ก็ยังแบ่งย่อยตามสาขาอีก เฉลี่ยแล้ววารสารที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆทางด้านสังคมศาสตร์จะอยู่ที่ราวๆ 80-100 วารสาร/สาขาวิชา ซึ่งวารสารทางสาขารัฐประศาสนศาสตร์มีประมาณ 60-70 วารสาร สามารถเข้าไปสืบค้นรายชื่อวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลได้ที่ http://science.thomsonreuters.com/cgi-bin/jrnlst/jlresults.cgi?PC=SS  หรือจะสืบค้นโดยการใส่ชื่อวารสาร หรือ ISSNs ก็ได้ที่ http://publik.tuwien.ac.at/info/sci_search.php




จากเวบไซต์ บัณฑิตวิทยาลัย ม.มหิดล หมวด ข้อบังคับ กฏ ระเบียบต่างๆ หัวข้อ "หลักเกณฑ์การตีพิมพ์ผลงานวิจัยจากวิทยานิพนธ์เพื่อขอสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก พ.ศ. ๒๕๕๔" แบ่งประเภทวารสารที่ได้มาตรฐานสากล (นานาชาติ) เอาไว้ 2 ประเภท ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การแพทย์ พยาบาล สาธารณสุข สังคมศาสตร์ และสาขามนุษยศาสตร์ (วารสารต่างประเทศจะแยกสังคมศาสตร์ออกจากมนุษยศาสตร์อย่างชัดเจน ขณะที่ในประเทศไทยส่วนใหญ่รวมสังคมศาสตร์กับมนุษยศาสตร์ไว้ด้วยกัน) รายละเอียด ดังนี้
             1. วารสารวิชาการระดับนานาชาติ ที่ตีพิมพ์ในต่างประเทศหรือตีพิมพ์ในประเทศไทย ที่มีระบบประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก (International Peer-reviewed Journal) ตีพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบของวารสารฉบับพิมพ์ และ/หรือฉบับอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีฉบับล่าสุดปรากฎชื่ออยู่ในฐานข้อมูลสากล ดังต่อไปนี้
                    1.1 ฐานข้อมูลในกลุ่มของ Web of Science ซึ่งประกอบด้วย
                                - Science Citation Index Expanded
                                - Social Sciences Citation Index
                                - Arts & Humanities Citation Index
                    1.2 ฐานข้อมูล SCOPUS
                    1.3 ฐานข้อมูลสากลเฉพาะสาขาวิชาอื่นๆ โปรดดูจาก URL นี้เพิ่มเติมค่ะ
http://www.grad.mahidol.ac.th/grad/academicinfo/publication_guideline2554_detail_th.php
             2.วารสารวิชาการที่ตีพิมพ์ในต่างประเทศหรือตีพิมพ์ในประเทศไทย ที่มีระบบประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก (peer-reviewed journal) และ/หรือ เทียบเท่าวารสารวิชาการ ระดับนานาชาติ ที่มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยระดับปริญญาเอก http://www.grad.mahidol.ac.th/grad/academicinfo/publication_guideline2554_detail_th.php

ที่สำคัญ จะต้องคำนึงถึง "จริยธรรม" ในการตีพิมพ์ผลงาน และ "กลลวง" จากวารสารที่ไม่ได้มาตรฐาน อาทิ วารสารที่จัดทำขึ้นเพื่อเน้นการพาณิชย์ ประเด็นนี้ พึงระวังให้ดี สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากบทความ "ฝันให้ไกลแล้วไปให้ถึง: ทำอย่างไรจะได้เป็นศาสตราจารย์ก่อนอายุ 40 ปี" เขียนโดย ประทุมทิพย์ ทองเจริญ ในสารสภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล ฉบับเดือนสิงหาคม 2556 หน้า 2-6  http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=1&ved=0CCkQFjAA&url=http%3A%2F%2Fwww.senate.mahidol.ac.th%2FNewsletter%2FPDF-News%2F2556%2FAug%252056%2520vol.8.pdf&ei=OOsRU46EAcyhiQekn4DgAw&usg=AFQjCNGA-vrqOaOgIfGilW2AsFx5RH5LMg&sig2=knlv1zaMpWwU5FzlFrZrFA

การสืบค้นรายชื่อวารสารของแต่ละสาขา
อาทิ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ (PA) ก็อาจจะพิมพ์ key words ซึ่งยิ้มใช้ key words คำว่า "Ranking" ตามด้วยสาขาก็จะปรากฏคำว่า Journal Ranking on Public Administration ซึ่งข้อมูลการจัดอันดับวารสารของสาขา PA ที่น่าสนใจมี 2 แหล่ง ดังนี้
         1.SJR จัดอันดับวารสารทางด้าน PA ปีล่าสุด (2012) มีทั้งหมด 57 วารสาร
         2.Google Scholars ปรากฏรายชื่อวารสารที่จัดอันดับ 20 รายชื่อ (รายชื่อวารสารส่วนใหญ่ซ้ำกับฐานข้อมูลแรกแต่การจัดอันดับ ขึ้น-ลงอาจสลับที่กัน)
            http://scholar.google.com/citationsview_op=top_venues&hl=en&vq=soc_publicpolicyadministration
ข้อสังเกต
จากฐานข้อมูล 2 แหล่ง พบวารสารทางด้าน PA ทั้งหมดเกือบ 60 วารสาร แต่ละวารสารจะเน้น Theme ที่ต่างกัน ล้อตามสาขาย่อยของ PA อาทิ Public Budgeting,  Ethic, Governance, Local Government, Policy Analysis, HR. รวมถึงการเจาะจงด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ อาทิ Poverty, Social Sececurity,Social Justice, Public Relation,Public Transport, Information Technology,Transforming Government, Genses, Elderly, Environment & Planning, หรือ อาจเจาะจงไปที่การศึกษาเฉพาะพื้นที่ หรือ ภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง อาทิ America, ASEAN, และ Asia เป็นต้น ดังนั้น หากท่านใดเขียนบทความที่มีหัวข้อสอดคล้องกับ Theme เหล่านี้ก็จะยิ่งสะดวกในการเสนอไปยังวารสารนั้นๆ โดยตรง ทั้งนี้ การคัดเลือกวารสารที่จะส่งไปให้เหมาะกับบทความของเราก็มีความจำเป็นนะคะ จะได้ไม่เสียเวลา

หลักเกณฑ์การจัดรูปแบบ (Format) บทความ
1.หลักเกณฑ์ส่วนใหญ่ขึ้นกับแต่ละวารสารเป็นสำคัญ

2.จำนวนคำมีการระบุไว้ชัดเจนว่า กรณีบทความวิจัยส่วนใหญ่อยู่ที่ 4,000-6,000 คำ บางแห่งก็อนุญาต 8,000 คำ (ขึ้นกับแต่ละวารสาร) ขณะที่บทความ Book review จำกัดจำนวนคำที่ 1,000-1,500 คำ สำหรับบทคัดย่อ มีการระบุตั้งแต่ 150-250 คำ ส่วนใหญ่จะไม่เกินนี้ บางวารสารก็ระบุให้ใส่ Key words 3-4 คำ บางวารสารก็มิได้ระบุว่าให้ใส่ Key words (ถ้าไม่ระบุก็ไม่ต้องใส่)
    หมายเหตุ การนับจำนวนคำ ดูได้จากไฟล์ word ด้านล่างซ้ายมือ ใกล้กับที่ระบุหน้า จะบอกจำนวนคำเอาไว้

3.กั้นหน้า-หลัง ซ้าย-ขวา ส่วนใหญ่ไม่น้อยกว่า 1 นิ้ว (ขึ้นกับแต่ละวารสาร)

4. อ้างอิงส่วนใหญ่ใช้แบบ APA(American Psychological Association) http://library.hu.ac.th/apa_style_psu.pdf  ขณะที่แบบ Chicago style (พบน้อย)

5.ส่วนใหญ่ให้ submit ผ่าน 2 ช่องทาง คือ email หรือ ระบบออนไลน์

6.การพิจารณา จะใช้เวลาประมาณ1-2 เดือน ก็จะทราบความคืบหน้าของการพิจารณาบทความบางส่วน (แต่กว่าจะครบกระบวนการใช้เวลาประมาณ 6-8 เดือน) ในเบื้องต้นบรรณาธิการวารสารจะเป็นคนตรวจแบบ Scan ก่อนว่าบทความที่ส่งไปได้มาตรฐาน (เข้าตากรรมการ) หรือไม่ หากผ่านการตรวจรอบแรกนี้ บทความของผู้ส่งก็จะมี Manuscript ID แล้วแจ้งกลับมายังผู้เขียนบทความว่ากำลังจะส่งไปให้ Peer review ตรวจประเมิน หลังจากนั้น จะตอบกลับมาว่า "ตอบรับ" หรือ "ปฏิเสธ" แต่บางกรณีที่ส่งไปแล้วไม่เข้าประเด็น หรือ ไม่ตรงกับ Theme ของวารสารบรรณาธิการจะรีบตอบกลับมาภายใน 2-3 วัน พร้อมคำแนะนำดีๆให้เราสำหรับการส่งไปยังวารสารที่เหมาะสมกว่า ถ้าได้รับการตอบรับก็สามารถเอาหนังสือตอบรับ (แบบทางการ) ไปเสนอบัณฑิตวิทยาลัยเพื่อขอสำเร็จการศึกษาได้
    ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย ม.มหิดล ระบุว่าสามารถยื่นหลักฐาน "การตอบรับ"ให้ตีพิมพ์บทความไปยังบัณฑิตวิทยาลัย โดยการเสนอก่อนสอบจบ หรือ หลังสอบจบก็ได้ (เสนอผ่าน บฑ.43)  เมื่อได้หนังสือตอบรับมาแล้วเจ้าของบทความจะต้องดำเนินการแก้ไขตามที่ Peer review แนะนำแล้วส่งกลับไปให้วารสารพิจารณาอีกรอบก่อนตีพิมพ์ เมื่อทราบจากทางวารสารแล้วว่าบทความจะได้ตีพิมพ์ ปีไหน เดือนอะไร Volume ที่เท่าไหร่ ก็ต้องแจ้งให้บัณฑิตวิทยาลัยทราบตามแบบฟอร์มที่ระบุไว้ด้วย

7.ไฟล์ที่จะใช้ส่งประกอบด้วย 3 ไฟล์หลัก (ส่วนใหญ่ให้แยกไฟล์)
      7.1 จดหมายนำ (Cover letter) บอกว่าเป็นใคร ทำงานที่ไหน เป็นนักศึกษาที่ใด หลักสูตรอะไร บอกความจำนงค์สำคัญที่จะตีพิมพ์บทความในวารสารด้วยวัตถุประสงค์อะไร มีเงื่อนไขอะไรเป็นพิเศษเพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการ (กรณีนักวิชาการ) หรือ เพื่อใช้ขอสำเร็จการศึกษา (กรณีเป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา)
      7.2 หน้าแรก (Cover page) ชื่อบทความ ชื่อผู้เขียนทุกคน ระบุตำแหน่ง วันที่รับเข้าเป็นนักศึกษา email ติดต่อ
            หมายเหตุ: วารสารนานาชาติส่วนใหญ่จะให้แยกไฟล์หน้าแรกออกจากเนื้อหา เพื่อความโปร่งใส กล่าวคือ ทางวารสารจะส่งไปให้ Peer review เป็นผู้ประเมินบทความโดยจะส่งไปเฉพาะส่วนที่เป็นเนื้อหา (manuscript) เท่านั้น มิได้ส่งหน้าแรกว่าใครเขียนไป เพื่อป้องกันอคติส่วนตัว (Individual Bias) ต่อทั้งผู้เขียนบทความ และผู้ประเมินบทความ ลักษณะนี้จะไม่มีใครทราบว่าใครตรวจ ตรวจของใคร เป็นต้น
      7.3 บทความ (Manuscript) หน้าแรกชื่อบทความ ตามด้วย Introduction และข้อมูลอื่นๆที่ได้จากการวิจัยตามแบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย อยู่ที่ประมาณ 15-20 หน้า (ตามจำนวนคำที่วารสารกำหนด)

8. การส่งไฟล์ที่ submit ทั้ง 3 ไฟล์ดังข้อ 7 ส่วนใหญ่จะให้ส่งแบบ WORD เนื่องจากเขาจะเอาไปตรวจสอบกับระบบอิเลคทรอนิค (จำนวนคำ & การอ้างอิง) ที่เราทำไปได้มาตรฐานของเขาหรือไม่ ระบบจะคัดกรองได้ในระดับหนึ่ง

9. ก่อนส่งไฟล์ใดๆ ไปให้ทางวารสารพิจารณาควรให้ผู้เชี่ยวชาญทางภาษาตรวจสอบไวยากรณ์ การใช้สำนวนภาษาให้สละสลวย ถูกต้องเสียก่อน ทั้งนี้การส่งบทความไปยังวารสารวิชาการในไทยก็เช่นกัน เคยทราบมาว่าวารสารบางแห่งตั้งข้อกำหนดว่าหากมีคำผิดเกิน 5 คำในบทความทางบรรณาธิการจะตีกลับ ไม่ส่งบทความไปให้ Peer review อ่านเพราะถือว่าผู้เขียนไม่ได้ตรวจทานเนื้อหามาก่อนที่จะส่ง และขาดความรับผิดชอบในชิ้นงานซึ่งส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของบทความที่เขียนส่งไปให้พิจารณาด้วย (Reliability) (ประเด็นนี้เคยสอบถามไปยังบรรณาธิการวารสารของไทยหลายแห่งได้ข้อมูลตรงกัน) โดยปกติบทความ 1 ชิ้นจะส่งไปให้ Peer review 2-3 ท่านเป็นคนตรวจประเมิน

10. กรณีได้รับหนังสือตอบรับให้ตีพิมพ์บทความในวารสาร เจ้าของบทความจะต้องจ่ายเงินค่าดำเนินการในการตีพิมพ์ (ออนไลน์ & เล่ม) ให้กับทางวารสาร โดยทั่วไปอยู่ที่ 120-150 USD (ราว 3,500-5,000 บาท/บทความ) บางแห่งก็สูงถึง 250 USD (7,500 บาท) กรณีเป็นนักศึกษาอาจได้รับการลดค่าตีพิมพ์บางส่วนขึ้นอยู่กับวารสารจะพิจารณา
         หมายเหตุ: ต่างจากวารสารของไทยที่ทางวารสารจะจ่ายค่าตอบแทนให้กับเจ้าของบทความ ค่าตอบแทนผู้เขียนในไทยส่วนใหญ่อยู่ที่ 1,500-2,000 บาท บางวารสารก็ให้ค่าตอบแทนสูงราว 4,000 บาท อาทิ วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี

         ที่สำคัญ อย่าทำนอกเหนือเงื่อนไขที่ทางวารสารกำหนดไว้ มิเช่นนั้นจะไม่ได้รับการพิจารณาใดๆ ประเด็นนี้วารสารต่างประเทศให้ความสำคัญมาก เขาจะไม่ยอมเสียเวลาพิจารณางานของคนที่ทำนอกเหนือเงื่อนไข บางวารสารก็โยนไฟล์ทิ้งในถังขยะโดยที่ไม่ตอบกลับมาให้ทราบเลยก็มี (จากคำบอกเล่าของ ดร.อุทัย ดุลยเกษม) ดังนั้น ทำให้ดีที่สุดก่อนที่จะส่งไฟล์ใดๆไป และจะต้องตรวจสอบว่าทำครบถ้วนตามเงื่อนไขที่เขาระบุไว้หรือไม่ ขาดอะไรบ้าง หากทำเกินก็ตัดออกไปให้พอดีกับที่เขาต้องการ (ตามหลักการทางสายกลาง Muddling Through / Middle Way) เป็นกำลังใจให้นักวิชาการและนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทุกท่านค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ฟักข้าว: มหัศจรรย์พืชไทย ต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง

 โดย ยิ้มสยาม
 
สืบเนื่องจากที่ได้ยินหลวงปู่ท่านหนึ่ง แถวศาลายา อ.พุทธมณฑล ที่ท่านป่วยเป็นมะเร็งเล่าให้ฟังว่า คุณหมอที่ดูแลรักษาอาการป่วยของท่าน รักษาเซลล์มะเร็งให้ด้วยวิธีการธรรมชาติบำบัด คุณหมอแนะนำให้ท่านรับประทาน "ฟักข้าว" พอท่านทดลองทานก็พบว่า จากที่ท่านมีเซลล์มะเร็งระดับ 10 ก็ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 8 แต่ก็ยังอยู่ในขั้นวิกฤติ เพราะระดับที่ปลอดภัย คือ ระดับ 4 (สามารถควบคุมได้) ข้อมูลเพิ่มเติมโปรดอ่านในบทความ "การอาพาตของสงฆ์จากการฉันอาหารที่ไม่สามารถเลือกได้" ใน blog yim-siam ที่ได้โพสต์ไว้ก่อนหน้านี้
 
หลวงปู่บอกว่าท่านเป็นคนไข้ทดลองของคุณหมอในการรักษามะเร็งโดยวิธีธรรมชาติ ซึ่งการทดลองนับว่าได้ผลดีมาก แต่ก็ต้องค่อยเป็นค่อยไป ใจร้อนไม่ได้ เพราะก่อนที่จะเป็นยังต้องใช้เวลา ดังนั้น เมื่อเป็นแล้วจะรักษาให้หายก็ต้องใช้เวลาเช่นกัน ทำนองเดียวกับคนอ้วน ก่อนที่จะอ้วนต้องใช้เวลาฉันใด การจะทำให้ผอมก็ย่อมต้องใช้เวลาฉันนั้น...

ประโยชน์ของฟักข้าว
1. ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
2. ป้องกันการติดเชื้อ
3. ป้องกันการเกิดสารก่อมะเร็ง
4. ลดความเสี่ยงจากโรคโลหิตจาง
5. ป้องกันและรักษาตับอักเสบ
6. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด  ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ
7. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
8. เพื่อป้องกันและบรรเทาการขาดวิตามิน  สารอาหารต่างๆ ในเด็กและผู้ใหญ่
9. ชะลอความแก่ ป้องกันผิวหนังแห้ง  บำรุงผิวพรรณ
10. ช่วยให้อัตราการเผาผลาญพลังงานสม่ำเสมอ  การดูดซึมสารอาหารได้ดียิ่งขึ้น
11. ช่วยกระตุ้นพัฒนาการและการเติบโตของเด็ก  ให้แข็งแรง
12. ช่วยป้องกันและรักษาการติดเชื้อในการฉายรังสี
13. ช่วยป้องกันการได้รับสารพิษในผัก ผลไม้  ผักต่างๆ
14. ช่วยปรับสภาพร่างกายให้ฟื้นฟูโดยเร็ว

ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าทั้งคนปกติที่รักสุขภาพ อยากมีผิวพรรณสวยงาม เปล่งปลั่ง หน้าตาสดใส ก็สามารถรับประทาน "ฟักข้าว" ได้ทั้งแบบผล ชนิดน้ำบรรจุขวด หรือ เป็นแคปซูล ตามความชอบ สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง "ฟักข้าว" ถือเป็น "อาหาร" ชั้นยอดในการบำบัดรักษาโรคมะเร็งและบรรเทาอาการของโรคอื่นๆ ทั้งนี้ ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์แผนปัจจุบันร่วมด้วย เนื่องจากแต่ละคนจะมีอาการป่วยที่แสดงผลออกมาแตกต่างกัน ส่งผลให้แพทย์ต้องออกแบบการรักษา เลือกวิธีการ ชนิดของยาและวิตามินในขนาดและปริมาณที่ต่างกันเพื่อให้เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละคน  (อย่างที่เคยได้ยินมาว่า แม้จะเป็นโรคเดียวกันแต่ยาของคนไข้คนหนึ่งจะเอาไปให้อีกคนรับประทานโดยไม่ปรึกษาแพทย์มิได้ เป็นอันตรายอย่างยิ่ง ยกเว้นยาสามัญประจำบ้านที่ผลิตมาเพื่อใช้รักษาคนทั่วไป)

นอกจากนี้ บางคนก็เอาใบ ดอก ผล มารับประทานโดยการทำเป็นกับข้าว รับประทานกับน้ำพริก ขณะที่ผู้ประกอบการบางรายเอามาทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมความงาม อาทิ สบู่ เครื่องประทินผิวต่างๆ หากบ้านใครมีพื้นที่พอที่จะปลูกไว้กินเองก็สามารถหาซื้อเมล็ดพันธุ์มาปลูกไว้รับประทานเองและแบ่งปันเพื่อนบ้านได้ด้วย

 
ราคาชนิดแคปซูล และ ชนิดเม็ด
      1.ชนิดแคปซูล แผงละ 10 เม็ด เม็ดละ 10-12 บาท (แผงละ 100-120 บาท) บางรายขายแบบบรรจุกล่อง 1 กล่องมี 3 แผง ราคาประมาณ 300-350 บาท แต่อย่างที่บอกว่าพึงระวัง "เชื้อรา" จากกระบวนการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน
 
 
      2.ชนิดเม็ด (ฟักข้าวสกัดในน้ำมัน) จำนวน 60 เม็ด บางยี่ห้อก็บรรจุ 100 เม็ด ขวดละ 950-1,200 บาท
         ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ถ้าทานแบบสกัดในน้ำมัน จะมีเลข อย. เพราะได้มาตรฐานของกรรมวิธีการสกัด ต่างจากแบบแคปซูลที่อาจปนเปื้อนเชื้อราเป็นอันตรายแก่ผู้ป่วยได้  เคยโทรไปสอบถามราคากับเจ้าของร้านตามเวบไซต์นี้ http://joelgac.com/vinaga-dha/  เจ้าของร้านบอกว่าถ้าซื้อถวายพระสงฆ์ที่อาพาต 5 ขวดขึ้นไปจะลดราคาให้ 1 ขวด (100 เม็ด) = 800 บาท (จากราคาปกติ 1 ขวด  = 1,200 บาท / 2 ขวด = 950 บาท)
          **พึงระวังของปลอม อาทิ ผู้ประกอบการบางรายที่ขาดคุณธรรม อาจนำสารสีบางชนิดมาฉีดเข้าไปแทนที่จะเป็นสารสกัดจากฟักข้าว 100% หากจะซื้ออะไรมาบริโภคควรตรวจสอบที่มาที่ไปของสินค้าและผลิตภัณฑ์ การรับรองมาตรฐานจาก อย.ร่วมด้วย จึงจะเป็นการบริโภคที่ฉลาดเลือก ฉลาดใช้และปลอดภัย
 
วิธีรับประทาน
วันละ 2-4 เม็ด/แคปซูล เช้า และ ก่อนนอน (รับประทานขณะท้องว่างตอนเช้าก็ได้) ถ้าเป็นผู้ป่วยแพทย์แนะนำให้ทานวันละ 4 เม็ด/แคปซูล (เช้า 2 ก่อนนอน 2)

ข้อมูลเพิ่มเติมลองเข้าไปอ่านที่ URL เหล่านี้ค่ะ

http://www.youtube.com/watch?v=00FwtNMONp0

http://gaccapsulenutavia.blogspot.com/

http://www.greenerald.com/%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7/

ที่สำคัญ จะบริโภคอะไรก็ควรดำเนินไปอย่างมีสตินะคะ...


วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การอาพาตของสงฆ์จากการฉันอาหารที่ไม่สามารถเลือกได้

โดย ยิ้มสยาม

เมื่อวานมีโอกาสได้สนทนากับพระคุณเจ้าท่านหนึ่ง ขณะกำลังฟังการแนะนำทุนออสเตรเลีย พระคุณเจ้าติดภารกิจเรียนอยู่ห้องข้างๆ จึงว่ายวานให้ช่วยอัดเทปให้ด้วย ยิ้มเลยบอกท่านไปว่าไม่เป็นไรค่ะ เสร็จแล้วจะทำสรุปส่งไปให้ทาง email นะคะ เพราะปกติยิ้มสามารถจดได้ทุกคำพูดของวิทยากรค่ะ ไม่ต้องเป็นห่วง และแล้วค่ำคืนนั้นก็ทำสรุปส่งให้พระคุณเจ้าตามคำสัญญา พร้อมส่งให้เพื่อนๆ ป.เอกทราบด้วย

อีกอย่าง ที่ได้สนทนากับท่าน พระคุณเจ้าเล่าว่าตอนนี้สงฆ์ทั่วประเทศกำลังอาพาต 1 แสนกว่าราย เนื่องจากฉันอาหารที่ญาติโยมถวายเข้าไป อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ พระไม่มีสิทธิ์เลือกอาหาร ญาติโยมถวายอะไรมาก็ต้องฉันตามนั้น จึงทำให้พระอาพาตจำนวนมาก ร่างกายไม่มีภูมิต้านทานโรค ข้อมูลนี้เป็นอะไรใหม่ที่ยิ้มเพิ่งทราบ จึงอยากบอกต่อกับเพื่อนๆใน FB ว่าเวลาเราจะถวายอาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ เราควรคำนึงถึงหลักโภชนาการด้วย เพราะคนปกติสามารถเลือกกินได้เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ แถมด้วยวิตามิน อาหารเสริมมากมาย แต่สงฆ์ไม่มีทางเลือก ดังนั้น ปัญหานี้จึงเป็นโจทย์วิจัยสำคัญในวิทยานิพนธ์ของพระคุณเจ้าที่กำลังหาทางออกให้กับปัญหาที่เกิดกับสงฆ์อยู่ในขณะนี้

นอกจากนี้ เมื่อเช้าใส่บาตรหลวงปู่ท่านหนึ่ง หลวงปู่ท่านนี้ยิ้มจะมีโอกาสได้ใส่บาตรท่านบ่อย (ถ้าเวลาเราตรงกัน) ท่านบอกว่าเป็นพระมีข้อห้ามและวินัยหลายอย่าง ตอนนี้ท่านป่วยเป็นมะเร็งเพราะติดเชื้อในกระแสเลือดตั้งแต่ครั้งน้ำท่วมใหญ่ ปลายปี 2554 เป็นต้นมา ทำให้ท่านฉันเนื้อสัตว์ไม่ได้ ขณะนี้กำลังอยู่ในความดูแลของคุณหมอหลายท่าน อาทิ ศ.นพ.กำพล และอ.หมอท่านอื่นๆ หลวงปู่บอกว่า อาหารที่เหมาะกับคนป่วยมะเร็ง คือ ข้าวกล้อง กล้วย ถั่ว ฟักข้าว
งดเว้นเนื้อสัตว์ทุกชนิดเพราะเนื้อสัตว์จะไปเร่งปฏิกิริยากับมะเร็ง พูดง่ายๆก็คือ อันไหนที่คนชอบมะเร็งก็ชอบด้วย ท่านยังเล่าอีกว่าตอนนี้โรคที่คนไทยป่วยมากที่สุด คือ มะเร็ง ทั้งที่แสดงอาการและยังไม่แสดงอาการ เป็นกันตั้งแต่เด็กเล็ก วัยรุ่นหนุ่มสาว วัยทำงาน รวมถึงผู้สูงอายุ ปัจจัยสำคัญ คือ การบริโภคอาหาร ถ้าเราเลือกทานอาหารที่เป็นประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารพิษ เซลล์มะเร็งในร่างกายที่มีอยู่ในทุกคนก็จะไม่ทำงาน ไม่มีตัวเร่ง แต่ปัจจุบันผู้ประกอบการใช้สารพิษกับสัตว์เพื่อให้มีกำไร เช่น สารเร่งเนื้อแดง หมูหลุม ไก่กะทิ เป็นต้น เมื่อคนกินเข้าไปย่อมไปสะสมในร่างกายและเจ็บป่วยตามมา

หลวงปู่เล่าว่า มะเร็งมี 10 ระดับ ตอนนี้ท่านอยู่ในระดับ 8 ถือว่ายังอยู่ในขั้นวิกฤติ จะไปวันนี้พรุ่งนี้ได้ทุกเมื่อ หมอบอกว่าถ้าอยู่ในระดับ 4 คือ ระดับที่ควบคุมได้ ปัจจุบันการแพทย์สมัยใหม่หันมาสนใจการรักษาโดยไม่พึ่งยา (คีโม) เป็นการรักษาแบบชีวจิต ใช้ธรรมชาติรักษาธรรมชาติ เพราะที่ผ่านมาผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาล้วนพบจุดจบคือ การเสียชีวิตในเวลาต่อมา ซึ่งใช้เวลาไม่นาน ขณะที่การรักษาด้วยวิธีใหม่โดยใช้ธรรมชาติในการรักษา สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งไม่ให้ลุกลาม และควบคุมเซลล์เก่าไว้ได้ อันนี้เป็นวิธีการรักษาที่ถูกต้องที่สุด แพทย์ส่วนใหญ่จึงหันมาใช้วิธีการรักษาด้วยวิธีนี้มากขึ้น เพราะหัวใจของแพทย์ทุกคนไม่อยากเห็นผู้ป่วยต้องตายไปต่อหน้าต่อตา คนแล้วคนเล่า

หลวงปู่ยังบอกอีกว่า แพทย์แนะนำให้รับประทานข้าวกล้อง ฝักข้าว งดเว้นเนื้อสัตว์ทุกชนิด ทานผักผลไม้ และวิตามินที่เป็นประโยชน์ ที่สำคัญ เลิกทานน้ำมันปาล์ม เพราะน้ำมันปาล์มมีสารที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาของเซลล์มะเร็ง ขณะที่พ่อค้า-แม่ขาย ล้วนใช้น้ำมันปาล์มในการทำอาหาร เพราะมีราคาถูก ซึ่งความจริงควรนำน้ำมันปาล์มไปใช้ทำไบโอดีเซลล์เป็นพลังงานทดแทน ดีกว่าการนำมารับประทานเพราะมีแต่โทษ ไม่มีคุณต่อร่างกาย
ยิ้มทราบเรื่องราวเหล่านี้ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ คนรอบข้างบ้างตามที่เห็นสมควรค่ะ

Endeavour Scholarships and Fellowships 2015

สรุปโดย ประทุมทิพย์ ทองเจริญ
จากการฟังการ PR ทุนโครงการ Endeavour Scholarships and Fellowships
โดยคุณวาทินี ขานวงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษา สถานทูตออสเตรเลีย
เมื่อวันที่ 26 กพ.2557 
ณ ห้อง 408 อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ม.มหิดล ศาลายา
  
1.Endeavour Scholarships and Fellowships เป็นทุนของรัฐบาล Australia
  (Endeavour = ความพยายาม / ตั้งใจจริง)

2.เป็นทุนน้องใหม่เพิ่งก่อตั้งอายุ 7-8 ปี ภายใต้ร่มใหญ่ คือ ทุนรัฐบาลออสเตรเลีย (Australia awards)

3.ข้อมูลทั่วไปของออสเตรเลีย
        # มีสัญลักษณ์ คือ จิงโจ้ กับ นกอีมู หมายถึง การก้าวกระโดดไปข้างหน้า พัฒนาไปเรื่อยๆไม่หยุดนิ่ง บางคนเข้าใจผิดว่าเป็นจิงโจ้กับโคล่า เหตุผลที่ไม่ใช้โคล่าเพราะวันๆโคล่าเอาแต่กินกับนอน (นอนราว 18-20 ชม. ตื่นขึ้นมาก็กิน 3-4 ชม. แล้วก็นอนต่อ) มิได้แสดงถึงการพัฒนาตนเองอย่างใด จึงมิได้นำมาเป็นสัญลักษณ์
        # เมืองหลวง คือ  Canberra เป็นเมืองเงียบๆ คล้าย Washington DC. เต็มไปด้วยสถานที่ราชการ หลายคนเข้าใจผิดว่าเมืองหลวง คือ Sydney
        # การเดินทางโดยเครื่องบินจากไทยไปออสเตรเลีย ราว 6-9 ชม.การติดต่อสะดวกผ่านทางโทรศัพท์ และ Internet
        # มหาวิทยาลัยในออสเตรเลียมี 39 แห่ง กล่าวคือ 37 แห่งเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ อีก 2 แห่งเป็นวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเอกชน
        # สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งในออสเตรเลียมีมาตรฐานการเรียนการสอนเหมือนกัน จึงไม่มีการทำ Ranking เนื่องจากแต่ละแห่งจะมีความโดดเด่นที่แตกต่างกัน แต่จะมี AQUA เป็นหน่วยงานในการตรวจสอบ ประเมินคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาทุกๆ 5 ปี แล้วตีพิมพ์ออกมาเผยแพร่ว่าแต่ละแห่งมีคุณภาพเป็นอย่างไร ต้องปรับปรุงพัฒนาตนเองอย่างไรเพื่อรักษามาตรฐาน

4.ทุนนี้มี 3 ประเภท คือ
   4.1 สำหรับนักศึกษาปริญญาโท (ปีครึ่ง-2 ปี) และ ปริญญาเอก (4 ปี)
   4.2 สำหรับนักวิจัย ระยะสั้น 4-6 เดือน (นศ.ป.โท เอก ที่ต้องการไปทำวิจัยก็สามารถขอได้)
   4.3 สำหรับผู้ต้องการไปศึกษาดูงานระยะสั้น 1-4 เดือน เช่น คนทำงานในหน่วยงานต่างๆ ที่ต้องการพัฒนาตนเองในสายงานของตน จึงต้องการไปดูงานตำแหน่งเดียวกันที่ประเทศออสเตรเลียเพื่อแลกเปลี่ยนซึ่งกัน ที่ผ่านมาเคยมีรองอธิการบดี รองคณบดี ขอทุนเพื่อไปดูงานในตำแหน่งเดียวกันว่าบุคคลในตำแหน่งนี้ในประเทศออสเตรเลียเขาทำงานอย่างไร มีอะไรที่น่าจะเอามาปรับใช้กับมาตรฐานการทำงานของตนเองได้บ้าง เป็นต้น

หมายเหตุ: ผู้สมัครทุนประเภทวิจัย กับ ทุนศึกษาดูงาน ควรเขียนในใบสมัครโดยแยกวัตถุประสงค์ที่จะไปให้ชัดเจน อย่าเขียนแบบคลุมเครือ หรือ สับสน เพราะจะมีผลต่อการพิจารณาทุนด้วย

5.ที่ผ่านมาในรอบ 7-8 ปีมานี้ มีคนไทยได้รับทุนนี้ ราว 136 คน เฉลี่ยปีละ 15-25 คน ขณะที่บางประเทศ อาทิ เวียดนาม อินเดีย มีคนได้ทุนนี้เฉลี่ยปีละ 80-90 คนขึ้นไป ทั้งนี้ ทุนดังกล่าวไม่มีโควต้าให้ ขึ้นกับ "คุณภาพ" และ "คุณสมบัติ" ของผู้สมัคร โดยปกติแล้วเขาจะสนับสนุนหัวกะทิ (cream of cream)ด้านต่างๆ เพื่อไปพัฒนาตนเองในด้านต่างๆต่อเนื่อง ปีที่แล้วมีนศ.และบุคลากรจาก ม.มหิดล ได้รับทุนนี้ จำนวน 3 คน เมื่อกลับมาแล้ว สถานทูตจะจัดงานเลี้ยงฉลองและมอบโล่พร้อมประกาศนียบัตรให้แก่ผู้ได้รับทุนเพื่อเป็นเกียรติประวัติ

6. หลักเกณฑ์การให้ทุน
     6.1 ทุนนี้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายทุกอย่าง พูดง่ายๆ คือ ไปแบบไม่ลำบาก กล่าวคือ ขณะที่ทุนอื่นๆ จะให้ค่าใช้จ่ายรายเดือน ราว 1,000-1,500 USD (ประมาณ 30,000 บาท) แต่สำหรับ Endeavour Scholarships จะให้ค่าใช้จ่ายรายเดือน 2,500 USD (2,500x30 บาท = 75,000 บาท/เดือน)บางคนพาครอบครัวไปด้วย บางคนมีเงินเก็บกลับมาดาวน์รถได้ด้วย แต่ถ้าใครที่ได้ทุนแล้วอยากทำงานด้วย ทุนนี้ก็สนับสนุนให้ทำงานได้ตามความต้องการ แต่ส่วนใหญ่จะไม่มีใครทำเพราะเบี้ยเลี้ยงสูงอยู่แล้ว อยู่แบบไม่ลำบาก
   6.2 ไม่จำกัดอายุ
   6.3 ไม่ต้องกลับมาใช้ทุน
   6.4 คนที่ได้ทุนอื่นอยู่แล้วก็ขอได้ แต่ให้คุยกับเจ้าของทุนที่ได้ก่อนหน้านี้ด้วยว่าเขามีเงื่อนไขอย่างไร หากรับทุนนี้ด้วย
   6.5 การยกเว้นผลคะแนนภาษาอังกฤษ สำหรับคนที่จบปริญญาเอกแล้ว หรือ ผู้ที่เคยไปศึกษา /ที่สหราชอาณาจักร หรือประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นทางการช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แต่ไม่เกิน 10 ปี สามารถยกเว้นผลคะแนนภาษาอังกฤษได้
   6.6 ทุนประเภทนี้ ผู้สมัครไม่จำเป็นต้องจบปริญญาตรี จบม.6 ก็ขอได้ หากมีเจตจำนงค์ที่จะพัฒนางานของตนเองที่แน่วแน่ ชัดเจน ชื่อทุนก็บอกแล้วว่าพิจารณาจากความพยายามและความตั้งใจจริงของผู้สมัคร ถ้ามีสิ่งนี้แล้วกอรปกับคุณสมบัติและใบสมัครที่น่าสนใจ โอกาสที่จะได้ทุนย่อมเป็นไปได้เสมอ
   6.7 สำหรับทุนศึกษาดูงาน ผู้สมัครต้องมีประสบการณ์การทำงานอย่างน้อย 5 ปี

7.เอกสารหลักฐานที่ใช้สมัคร
   7.1 หน้า passport / บัตรประชาชน (ID Card)
   7.2 Transcripts ป.ตรี โท เอก (ขึ้นกับทุนที่สมัคร)
   7.3 ป.ตรีต้องมีผลการเรียนระดับดีเลิศ (Top 5 ของชั้นเรียน)
   7.4 ผลคะแนน IELTS 6.5 ขึ้นไป TOEFL IBT 90 ขึ้นไป (ถ้าไปเรียนกับสถาบันภาษา อาทิ British Counsil จะได้เทคนิคการทำข้อสอบมามากมาย และคะแนนจะดีขึ้นรวดเร็ว ค่าเรียนระยะสั้น 1-2 เดือน ราว 12,000-15,000 บาท) บางคนได้คะแนน IELTS 6 แต่คุณสมบัติอื่นดีเยี่ยม ผู้ให้ทุนก็อาจพิจารณา อย่าท้อถอยลองใช้ความพยายามให้ถึงที่สุดก่อน
   7.5 หนังสือรับรองจากสถาบันอุดมศึกษาออสเตรเลียที่จะไป มี 2 แบบ
         # letter of Offer สำหรับทุนประเภทแรก ควรเป็นแบบ Unconditional Offer ไม่มีเงื่อนไข บางคนเป็นแบบมีเงื่อนไข อาทิ ต้องไปเรียนภาษาก่อน ก็จะได้ Conditional Offer
         # Acceptance letter สำหรับทุนประเภทวิจัย และศึกษาดูงาน
   7.6 บุคคลอ้างอิง 3 คน กล่าวคือ เราให้ชื่อ และ email ของบุคคลอ้างอิง ทางเจ้าหน้าที่จะส่งแบบฟอร์มไปให้บุคคลอ้างอิงกรอกทาง email แล้วส่งไปให้ทางเจ้าหน้าที่โดยตรง โดยที่ไม่ผ่านทางผู้สมัครทุน ประเด็นนี้ ควรเลือกบุคคลอ้างอิงที่หลากหลาย อาทิ 2 คนจากสถาบันการศึกษาที่สังกัด และอีก 1 คนมาจากหน่วยงานอื่นๆที่เขารู้จักผู้สมัครดีพอ
   7.7 ใบประกาศนียบัตรที่ผ่านการอบรม หรือ วุฒิบัตรต่างๆ ที่เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยน /ประสบการณ์ต่างแดน หรือ การอบรมเพื่อพัฒนางานในวิชาชีพของตน อบรมภาษาอังกฤษ เกียรติบัตรยกย่อง  การช่วยเหลือสังคม ฯลฯ

8. ภาษาที่ใช้ในการกรอกใบสมัคร เป็นภาษาสำนวนการเขียนของผู้สมัครเอง ไม่จำเป็นต้องสวยหรูมากมาย ขอให้อ่านเข้าใจ รู้เรื่องว่าจะไปทำอะไร กลับมาแล้วจะได้อะไรในการพัฒนาตนเอง และพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับออสเตรเลียได้อย่างไร

9.การสมัคร สมัครผ่านออนไลน์ ทางเวบไซต์ http://education.gov.au/australia-awards-endeavour-scholarships-and-fellowships จะเปิดรับสมัครช่วง เมษายน-มิถุนายน 2014 ประกาศผล พฤศจิกายน 2014 และผู้ที่ได้รับทุนจะต้องเดินทางไปออสเตรเลีย ตั้งแต่ 1 มค 2015 เป็นต้นไป จนถึง 30 พฤศจิกายน 2015 การพิจารณาทุนจะพิจารณาโดยเจ้าหน้าที่ที่มีความโปร่งใส และยุติธรรม เขาจะไม่รู้จักว่าเราเป็นใครมาก่อน พิจารณาจากเอกสารและหลักฐานการสมัครเป็นสำคัญ