ประทุมทิพย์ ทองเจริญ
สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และนักวิชาการที่กำลังมองหาแหล่งตีพิมพ์บทความในวารสารสาขารัฐประศาสนศาสตร์ (Public Administration) วันนี้ยิ้มมีฐานขัอมูลวารสารสาขานี้มาฝากค่ะ ปกติแล้วเมื่อพูดถึงการตีพิมพ์ผลงานวิชาการในวารสารก็จะนึกถึงวารสารที่ได้มาตรฐานสากล อาทิ SCI (Science Citation Index), SSCI (Social Science Citation Index) และ SCOPUS หากเป็นฐานข้อมูลของแต่ละประเทศ อาทิ ประเทศไทย ก็จะเป็น TCI (Thai Journal Citation Index) ส่วนวารสารของกลุ่มประเทศ อาทิ อาเซียน ACI (Asean Citation Index)
จากฐานข้อมูล SSCI โดย Thomson reuters พบวารสารทางสังคมศาสตร์กว่า 3,000 รายการhttp://onlinelibrary.maastrichtuniversity.nl/database/ssci/ ซึ่งรัฐประศาสนศาสตร์ จัดอยู่ในกลุ่มสังคมศาสตร์ประยุกต์ (applied social science)ในบรรดาวารสารทางสังคมศาสตร์ 3 พันกว่ารายการที่ว่านี้ ก็ยังแบ่งย่อยตามสาขาอีก เฉลี่ยแล้ววารสารที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆทางด้านสังคมศาสตร์จะอยู่ที่ราวๆ 80-100 วารสาร/สาขาวิชา ซึ่งวารสารทางสาขารัฐประศาสนศาสตร์มีประมาณ 60-70 วารสาร สามารถเข้าไปสืบค้นรายชื่อวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลได้ที่ http://science.thomsonreuters.com/cgi-bin/jrnlst/jlresults.cgi?PC=SS หรือจะสืบค้นโดยการใส่ชื่อวารสาร หรือ ISSNs ก็ได้ที่ http://publik.tuwien.ac.at/info/sci_search.php
จากเวบไซต์ บัณฑิตวิทยาลัย ม.มหิดล หมวด ข้อบังคับ กฏ ระเบียบต่างๆ หัวข้อ "หลักเกณฑ์การตีพิมพ์ผลงานวิจัยจากวิทยานิพนธ์เพื่อขอสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก พ.ศ. ๒๕๕๔" แบ่งประเภทวารสารที่ได้มาตรฐานสากล (นานาชาติ) เอาไว้ 2 ประเภท ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การแพทย์ พยาบาล สาธารณสุข สังคมศาสตร์ และสาขามนุษยศาสตร์ (วารสารต่างประเทศจะแยกสังคมศาสตร์ออกจากมนุษยศาสตร์อย่างชัดเจน ขณะที่ในประเทศไทยส่วนใหญ่รวมสังคมศาสตร์กับมนุษยศาสตร์ไว้ด้วยกัน) รายละเอียด ดังนี้
1. วารสารวิชาการระดับนานาชาติ ที่ตีพิมพ์ในต่างประเทศหรือตีพิมพ์ในประเทศไทย ที่มีระบบประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก (International Peer-reviewed Journal) ตีพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบของวารสารฉบับพิมพ์ และ/หรือฉบับอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีฉบับล่าสุดปรากฎชื่ออยู่ในฐานข้อมูลสากล ดังต่อไปนี้
1.1 ฐานข้อมูลในกลุ่มของ Web of Science ซึ่งประกอบด้วย
- Science Citation Index Expanded
- Social Sciences Citation Index
- Arts & Humanities Citation Index
1.2 ฐานข้อมูล SCOPUS
1.3 ฐานข้อมูลสากลเฉพาะสาขาวิชาอื่นๆ โปรดดูจาก URL นี้เพิ่มเติมค่ะ
http://www.grad.mahidol.ac.th/grad/academicinfo/publication_guideline2554_detail_th.php
2.วารสารวิชาการที่ตีพิมพ์ในต่างประเทศหรือตีพิมพ์ในประเทศไทย ที่มีระบบประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก (peer-reviewed journal) และ/หรือ เทียบเท่าวารสารวิชาการ ระดับนานาชาติ ที่มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยระดับปริญญาเอก http://www.grad.mahidol.ac.th/grad/academicinfo/publication_guideline2554_detail_th.php
ที่สำคัญ จะต้องคำนึงถึง "จริยธรรม" ในการตีพิมพ์ผลงาน และ "กลลวง" จากวารสารที่ไม่ได้มาตรฐาน อาทิ วารสารที่จัดทำขึ้นเพื่อเน้นการพาณิชย์ ประเด็นนี้ พึงระวังให้ดี สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากบทความ "ฝันให้ไกลแล้วไปให้ถึง: ทำอย่างไรจะได้เป็นศาสตราจารย์ก่อนอายุ 40 ปี" เขียนโดย ประทุมทิพย์ ทองเจริญ ในสารสภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล ฉบับเดือนสิงหาคม 2556 หน้า 2-6 http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=1&ved=0CCkQFjAA&url=http%3A%2F%2Fwww.senate.mahidol.ac.th%2FNewsletter%2FPDF-News%2F2556%2FAug%252056%2520vol.8.pdf&ei=OOsRU46EAcyhiQekn4DgAw&usg=AFQjCNGA-vrqOaOgIfGilW2AsFx5RH5LMg&sig2=knlv1zaMpWwU5FzlFrZrFA
การสืบค้นรายชื่อวารสารของแต่ละสาขา
อาทิ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ (PA) ก็อาจจะพิมพ์ key words ซึ่งยิ้มใช้ key words คำว่า "Ranking" ตามด้วยสาขาก็จะปรากฏคำว่า Journal Ranking on Public Administration ซึ่งข้อมูลการจัดอันดับวารสารของสาขา PA ที่น่าสนใจมี 2 แหล่ง ดังนี้
จากฐานข้อมูล SSCI โดย Thomson reuters พบวารสารทางสังคมศาสตร์กว่า 3,000 รายการhttp://onlinelibrary.maastrichtuniversity.nl/database/ssci/ ซึ่งรัฐประศาสนศาสตร์ จัดอยู่ในกลุ่มสังคมศาสตร์ประยุกต์ (applied social science)ในบรรดาวารสารทางสังคมศาสตร์ 3 พันกว่ารายการที่ว่านี้ ก็ยังแบ่งย่อยตามสาขาอีก เฉลี่ยแล้ววารสารที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆทางด้านสังคมศาสตร์จะอยู่ที่ราวๆ 80-100 วารสาร/สาขาวิชา ซึ่งวารสารทางสาขารัฐประศาสนศาสตร์มีประมาณ 60-70 วารสาร สามารถเข้าไปสืบค้นรายชื่อวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลได้ที่ http://science.thomsonreuters.com/cgi-bin/jrnlst/jlresults.cgi?PC=SS หรือจะสืบค้นโดยการใส่ชื่อวารสาร หรือ ISSNs ก็ได้ที่ http://publik.tuwien.ac.at/info/sci_search.php
จากเวบไซต์ บัณฑิตวิทยาลัย ม.มหิดล หมวด ข้อบังคับ กฏ ระเบียบต่างๆ หัวข้อ "หลักเกณฑ์การตีพิมพ์ผลงานวิจัยจากวิทยานิพนธ์เพื่อขอสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก พ.ศ. ๒๕๕๔" แบ่งประเภทวารสารที่ได้มาตรฐานสากล (นานาชาติ) เอาไว้ 2 ประเภท ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การแพทย์ พยาบาล สาธารณสุข สังคมศาสตร์ และสาขามนุษยศาสตร์ (วารสารต่างประเทศจะแยกสังคมศาสตร์ออกจากมนุษยศาสตร์อย่างชัดเจน ขณะที่ในประเทศไทยส่วนใหญ่รวมสังคมศาสตร์กับมนุษยศาสตร์ไว้ด้วยกัน) รายละเอียด ดังนี้
1. วารสารวิชาการระดับนานาชาติ ที่ตีพิมพ์ในต่างประเทศหรือตีพิมพ์ในประเทศไทย ที่มีระบบประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก (International Peer-reviewed Journal) ตีพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบของวารสารฉบับพิมพ์ และ/หรือฉบับอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีฉบับล่าสุดปรากฎชื่ออยู่ในฐานข้อมูลสากล ดังต่อไปนี้
1.1 ฐานข้อมูลในกลุ่มของ Web of Science ซึ่งประกอบด้วย
- Science Citation Index Expanded
- Social Sciences Citation Index
- Arts & Humanities Citation Index
1.2 ฐานข้อมูล SCOPUS
1.3 ฐานข้อมูลสากลเฉพาะสาขาวิชาอื่นๆ โปรดดูจาก URL นี้เพิ่มเติมค่ะ
http://www.grad.mahidol.ac.th/grad/academicinfo/publication_guideline2554_detail_th.php
2.วารสารวิชาการที่ตีพิมพ์ในต่างประเทศหรือตีพิมพ์ในประเทศไทย ที่มีระบบประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก (peer-reviewed journal) และ/หรือ เทียบเท่าวารสารวิชาการ ระดับนานาชาติ ที่มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยระดับปริญญาเอก http://www.grad.mahidol.ac.th/grad/academicinfo/publication_guideline2554_detail_th.php
ที่สำคัญ จะต้องคำนึงถึง "จริยธรรม" ในการตีพิมพ์ผลงาน และ "กลลวง" จากวารสารที่ไม่ได้มาตรฐาน อาทิ วารสารที่จัดทำขึ้นเพื่อเน้นการพาณิชย์ ประเด็นนี้ พึงระวังให้ดี สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากบทความ "ฝันให้ไกลแล้วไปให้ถึง: ทำอย่างไรจะได้เป็นศาสตราจารย์ก่อนอายุ 40 ปี" เขียนโดย ประทุมทิพย์ ทองเจริญ ในสารสภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล ฉบับเดือนสิงหาคม 2556 หน้า 2-6 http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=1&ved=0CCkQFjAA&url=http%3A%2F%2Fwww.senate.mahidol.ac.th%2FNewsletter%2FPDF-News%2F2556%2FAug%252056%2520vol.8.pdf&ei=OOsRU46EAcyhiQekn4DgAw&usg=AFQjCNGA-vrqOaOgIfGilW2AsFx5RH5LMg&sig2=knlv1zaMpWwU5FzlFrZrFA
การสืบค้นรายชื่อวารสารของแต่ละสาขา
อาทิ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ (PA) ก็อาจจะพิมพ์ key words ซึ่งยิ้มใช้ key words คำว่า "Ranking" ตามด้วยสาขาก็จะปรากฏคำว่า Journal Ranking on Public Administration ซึ่งข้อมูลการจัดอันดับวารสารของสาขา PA ที่น่าสนใจมี 2 แหล่ง ดังนี้
1.SJR จัดอันดับวารสารทางด้าน PA ปีล่าสุด (2012) มีทั้งหมด 57 วารสาร
2.Google Scholars ปรากฏรายชื่อวารสารที่จัดอันดับ 20 รายชื่อ (รายชื่อวารสารส่วนใหญ่ซ้ำกับฐานข้อมูลแรกแต่การจัดอั นดับ ขึ้น-ลงอาจสลับที่กัน)
http://scholar.google.com/ citationsview_op=top_venues& hl=en&vq=soc_ publicpolicyadministration
http://scholar.google.com/
ข้อสังเกต
จากฐานข้อมูล 2 แหล่ง พบวารสารทางด้าน PA ทั้งหมดเกือบ 60 วารสาร แต่ละวารสารจะเน้น Theme ที่ต่างกัน ล้อตามสาขาย่อยของ PA อาทิ Public Budgeting, Ethic, Governance, Local Government, Policy Analysis, HR. รวมถึงการเจาะจงด้านใดด้านหนึ่ งโดยเฉพาะ อาทิ Poverty, Social Sececurity,Social Justice, Public Relation,Public Transport, Information Technology,Transforming Government, Genses, Elderly, Environment & Planning, หรือ อาจเจาะจงไปที่การศึกษาเฉพาะพื้ นที่ หรือ ภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง อาทิ America, ASEAN, และ Asia เป็นต้น ดังนั้น หากท่านใดเขียนบทความที่มีหั วข้อสอดคล้องกับ Theme เหล่านี้ก็จะยิ่ งสะดวกในการเสนอไปยังวารสารนั้ นๆ โดยตรง ทั้งนี้ การคัดเลือกวารสารที่จะส่งไปให้ เหมาะกับบทความของเราก็มี ความจำเป็นนะคะ จะได้ไม่เสียเวลา
จากฐานข้อมูล 2 แหล่ง พบวารสารทางด้าน PA ทั้งหมดเกือบ 60 วารสาร แต่ละวารสารจะเน้น Theme ที่ต่างกัน ล้อตามสาขาย่อยของ PA อาทิ Public Budgeting, Ethic, Governance, Local Government, Policy Analysis, HR. รวมถึงการเจาะจงด้านใดด้านหนึ่
หลักเกณฑ์การจัดรูปแบบ (Format) บทความ
1.หลักเกณฑ์ส่วนใหญ่ขึ้นกับแต่ละวารสารเป็นสำคัญ
2.จำนวนคำมีการระบุไว้ชัดเจนว่า กรณีบทความวิจัยส่วนใหญ่อยู่ที่ 4,000-6,000 คำ บางแห่งก็อนุญาต 8,000 คำ (ขึ้นกับแต่ละวารสาร) ขณะที่บทความ Book review จำกัดจำนวนคำที่ 1,000-1,500 คำ สำหรับบทคัดย่อ มีการระบุตั้งแต่ 150-250 คำ ส่วนใหญ่จะไม่เกินนี้ บางวารสารก็ระบุให้ใส่ Key words 3-4 คำ บางวารสารก็มิได้ระบุว่าให้ใส่ Key words (ถ้าไม่ระบุก็ไม่ต้องใส่)
หมายเหตุ การนับจำนวนคำ ดูได้จากไฟล์ word ด้านล่างซ้ายมือ ใกล้กับที่ระบุหน้า จะบอกจำนวนคำเอาไว้
3.กั้นหน้า-หลัง ซ้าย-ขวา ส่วนใหญ่ไม่น้อยกว่า 1 นิ้ว (ขึ้นกับแต่ละวารสาร)
4. อ้างอิงส่วนใหญ่ใช้แบบ APA(American Psychological Association) http://library.hu.ac.th/apa_style_psu.pdf ขณะที่แบบ Chicago style (พบน้อย)
5.ส่วนใหญ่ให้ submit ผ่าน 2 ช่องทาง คือ email หรือ ระบบออนไลน์
6.การพิจารณา จะใช้เวลาประมาณ1-2 เดือน ก็จะทราบความคืบหน้าของการพิจารณาบทความบางส่วน (แต่กว่าจะครบกระบวนการใช้เวลาประมาณ 6-8 เดือน) ในเบื้องต้นบรรณาธิการวารสารจะเป็นคนตรวจแบบ Scan ก่อนว่าบทความที่ส่งไปได้มาตรฐาน (เข้าตากรรมการ) หรือไม่ หากผ่านการตรวจรอบแรกนี้ บทความของผู้ส่งก็จะมี Manuscript ID แล้วแจ้งกลับมายังผู้เขียนบทความว่ากำลังจะส่งไปให้ Peer review ตรวจประเมิน หลังจากนั้น จะตอบกลับมาว่า "ตอบรับ" หรือ "ปฏิเสธ" แต่บางกรณีที่ส่งไปแล้วไม่เข้าประเด็น หรือ ไม่ตรงกับ Theme ของวารสารบรรณาธิการจะรีบตอบกลับมาภายใน 2-3 วัน พร้อมคำแนะนำดีๆให้เราสำหรับการส่งไปยังวารสารที่เหมาะสมกว่า ถ้าได้รับการตอบรับก็สามารถเอาหนังสือตอบรับ (แบบทางการ) ไปเสนอบัณฑิตวิทยาลัยเพื่อขอสำเร็จการศึกษาได้
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย ม.มหิดล ระบุว่าสามารถยื่นหลักฐาน "การตอบรับ"ให้ตีพิมพ์บทความไปยังบัณฑิตวิทยาลัย โดยการเสนอก่อนสอบจบ หรือ หลังสอบจบก็ได้ (เสนอผ่าน บฑ.43) เมื่อได้หนังสือตอบรับมาแล้วเจ้าของบทความจะต้องดำเนินการแก้ไขตามที่ Peer review แนะนำแล้วส่งกลับไปให้วารสารพิจารณาอีกรอบก่อนตีพิมพ์ เมื่อทราบจากทางวารสารแล้วว่าบทความจะได้ตีพิมพ์ ปีไหน เดือนอะไร Volume ที่เท่าไหร่ ก็ต้องแจ้งให้บัณฑิตวิทยาลัยทราบตามแบบฟอร์มที่ระบุไว้ด้วย
7.ไฟล์ที่จะใช้ส่งประกอบด้วย 3 ไฟล์หลัก (ส่วนใหญ่ให้แยกไฟล์)
7.1 จดหมายนำ (Cover letter) บอกว่าเป็นใคร ทำงานที่ไหน เป็นนักศึกษาที่ใด หลักสูตรอะไร บอกความจำนงค์สำคัญที่จะตีพิมพ์บทความในวารสารด้วยวัตถุประสงค์อะไร มีเงื่อนไขอะไรเป็นพิเศษเพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการ (กรณีนักวิชาการ) หรือ เพื่อใช้ขอสำเร็จการศึกษา (กรณีเป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา)
7.2 หน้าแรก (Cover page) ชื่อบทความ ชื่อผู้เขียนทุกคน ระบุตำแหน่ง วันที่รับเข้าเป็นนักศึกษา email ติดต่อ
หมายเหตุ: วารสารนานาชาติส่วนใหญ่จะให้แยกไฟล์หน้าแรกออกจากเนื้อหา เพื่อความโปร่งใส กล่าวคือ ทางวารสารจะส่งไปให้ Peer review เป็นผู้ประเมินบทความโดยจะส่งไปเฉพาะส่วนที่เป็นเนื้อหา (manuscript) เท่านั้น มิได้ส่งหน้าแรกว่าใครเขียนไป เพื่อป้องกันอคติส่วนตัว (Individual Bias) ต่อทั้งผู้เขียนบทความ และผู้ประเมินบทความ ลักษณะนี้จะไม่มีใครทราบว่าใครตรวจ ตรวจของใคร เป็นต้น
7.3 บทความ (Manuscript) หน้าแรกชื่อบทความ ตามด้วย Introduction และข้อมูลอื่นๆที่ได้จากการวิจัยตามแบบฟอร์มการเขียนบทความวิจัย อยู่ที่ประมาณ 15-20 หน้า (ตามจำนวนคำที่วารสารกำหนด)
8. การส่งไฟล์ที่ submit ทั้ง 3 ไฟล์ดังข้อ 7 ส่วนใหญ่จะให้ส่งแบบ WORD เนื่องจากเขาจะเอาไปตรวจสอบกับระบบอิเลคทรอนิค (จำนวนคำ & การอ้างอิง) ที่เราทำไปได้มาตรฐานของเขาหรือไม่ ระบบจะคัดกรองได้ในระดับหนึ่ง
9. ก่อนส่งไฟล์ใดๆ ไปให้ทางวารสารพิจารณาควรให้ผู้เชี่ยวชาญทางภาษาตรวจสอบไวยากรณ์ การใช้สำนวนภาษาให้สละสลวย ถูกต้องเสียก่อน ทั้งนี้การส่งบทความไปยังวารสารวิชาการในไทยก็เช่นกัน เคยทราบมาว่าวารสารบางแห่งตั้งข้อกำหนดว่าหากมีคำผิดเกิน 5 คำในบทความทางบรรณาธิการจะตีกลับ ไม่ส่งบทความไปให้ Peer review อ่านเพราะถือว่าผู้เขียนไม่ได้ตรวจทานเนื้อหามาก่อนที่จะส่ง และขาดความรับผิดชอบในชิ้นงานซึ่งส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของบทความที่เขียนส่งไปให้พิจารณาด้วย (Reliability) (ประเด็นนี้เคยสอบถามไปยังบรรณาธิการวารสารของไทยหลายแห่งได้ข้อมูลตรงกัน) โดยปกติบทความ 1 ชิ้นจะส่งไปให้ Peer review 2-3 ท่านเป็นคนตรวจประเมิน
10. กรณีได้รับหนังสือตอบรับให้ตีพิมพ์บทความในวารสาร เจ้าของบทความจะต้องจ่ายเงินค่าดำเนินการในการตีพิมพ์ (ออนไลน์ & เล่ม) ให้กับทางวารสาร โดยทั่วไปอยู่ที่ 120-150 USD (ราว 3,500-5,000 บาท/บทความ) บางแห่งก็สูงถึง 250 USD (7,500 บาท) กรณีเป็นนักศึกษาอาจได้รับการลดค่าตีพิมพ์บางส่วนขึ้นอยู่กับวารสารจะพิจารณา
หมายเหตุ: ต่างจากวารสารของไทยที่ทางวารสารจะจ่ายค่าตอบแทนให้กับเจ้าของบทความ ค่าตอบแทนผู้เขียนในไทยส่วนใหญ่อยู่ที่ 1,500-2,000 บาท บางวารสารก็ให้ค่าตอบแทนสูงราว 4,000 บาท อาทิ วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ที่สำคัญ อย่าทำนอกเหนือเงื่อนไขที่ทางวารสารกำหนดไว้ มิเช่นนั้นจะไม่ได้รับการพิจารณาใดๆ ประเด็นนี้วารสารต่างประเทศให้ความสำคัญมาก เขาจะไม่ยอมเสียเวลาพิจารณางานของคนที่ทำนอกเหนือเงื่อนไข บางวารสารก็โยนไฟล์ทิ้งในถังขยะโดยที่ไม่ตอบกลับมาให้ทราบเลยก็มี (จากคำบอกเล่าของ ดร.อุทัย ดุลยเกษม) ดังนั้น ทำให้ดีที่สุดก่อนที่จะส่งไฟล์ใดๆไป และจะต้องตรวจสอบว่าทำครบถ้วนตามเงื่อนไขที่เขาระบุไว้หรือไม่ ขาดอะไรบ้าง หากทำเกินก็ตัดออกไปให้พอดีกับที่เขาต้องการ (ตามหลักการทางสายกลาง Muddling Through / Middle Way) เป็นกำลังใจให้นักวิชาการและนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทุกท่านค่ะ