วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

พรก.ฉุกเฉิน กับ สถานการณ์การเมืองไทย ณ ปัจจุบันนำมาใช้ ถูกคน-ถูกที่-ถูกเวลาหรือไม่

โดย ประทุมทิพย์ ทองเจริญ

เท่าที่ฟังการวิเคราะห์จากนักวิชาการและกลุ่มต่างๆดูเหมือนรัฐบาลจะมีนัยยะแอบแฝงบางอย่างหรือวาระซ่อนเร้น(hidden agenda)เพื่อที่จะใช้อำนาจรัฐ & อาวุธในการปราบปรามการชุมนุมโดยที่เจ้าหน้าที่รัฐ(ตำรวจ & ผู้สั่งการ)ไม่ต้องรับผิดชอบใดๆซึ่งปกติกฎหมายนี้(พรก.ฉุกเฉิน)จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อมีสถานการณ์รุนแรงเลวร้ายที่ไม่สามารถจะควบคุมความสงบของบ้านเมืองขณะนั้นได้อย่างเหตุการณ์สลายการชุมนุมปี 2553 เป็นต้น สำหรับเหตุการณ์บ้านเมืองขณะนี้คนส่วนใหญ่มองว่าเป็นการชุมนุมโดยสันติ(อหิงสา)มิได้มีความรุนแรงเลวร้ายถึงขั้นจะต้องนำกฎหมายตัวนี้มาใช้จึงเท่ากับว่ารัฐบาลรักษาการณ์นำกฎหมายนี้มาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือทำร้ายประชาชนอย่างเลือดเย็นและขาดความชอบธรรม

นอกจากนี้ นักวิชาการบางท่านยังมองว่าจะกระทบต่อการเลือกตั้งโดยเฉพาะการออกไปฟังการปราศรัยหาเสียงของพรรคการเมืองในเขตพื้นที่ที่ประกาศใช้พรก.(กทม.& ปริมณฑล)หลัง18.00 น.เป็นความได้เปรียบเสียเปรียบต่อพรรคการเมืองอื่นๆซึ่งทางกกต.กำลังหาทางออกว่าจะต้องเลื่อนการเลือกตั้งออกไปหรือไม่ซึ่งนักกฎหมายบางท่านเสนอว่าการประกาศพรก.ฉุกเฉินเวลานี้เป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญประชาชนสามารถฟ้องร้องเอาผิดต่อรัฐบาลที่บริหารงานโดยมิชอบขัดต่อหลักรัฐธรรมนูญอันอาจกระทบต่อการเลือกตั้งและความได้เปรียบเสียเปรียบของพรรคการเมืองอื่นๆ

เหตุการณ์การเมืองไทยขณะนี้คล้ายกับที่เคยเกิดขึ้นกับฟิลิปปินส์สมัยประธานาธิบดีเฟอร์ดินานมาร์กอสที่วอกเป็นต่อเขียนไว้ในFB ความจริงก่อนหน้านี้ก็มีนักวิชาการหลายท่านวิเคราะห์ไว้แบบนี้เหมือนกันต่างกันตรงที่คราวนี้ทหารมองเกมขาดจึงประกาศจุดยืนชัดเจนที่จะไม่ร่วมมือกับรัฐบาลรักษาการณ์ชุดนี้แต่จะมาช่วยประชาชนหรือยืนข้างผู้ชุมนุมอย่างชัดเจนหรือไม่นั้นตอนนี้ยังไม่เต็มร้อยดูทีท่าของทหารแล้วก็มีใจเอนเอียงมาทางฝั่งผู้ชุมนุมอยู่พอสมควร

ทั้งนี้"ทหาร"คือตัวแปรสำคัญที่จะมีส่วนทำให้เรื่องนี้จบลงโดยเร็วหรือจะช่วยควบคุมสถานการณ์ให้คลี่คลายลงได้โดยที่ไม่ต้องเสียเลือดเนื้อไปมากกว่านี้หากแต่ยังติดอยู่กับบาดแผลเก่าๆเนื่องจากทุกครั้งเมื่อเหตุการณ์ความไม่สงบจบลงทหารมักตกเป็นจำเลยสังคมหรือแพะรับบาปทุกครั้งไปทั้งๆที่บางครั้งเป็นการปฏิวัติโดยปราศจากการสูญเสียเลือดเนื้อและความรุนแรงอาจเป็นเพราะเราถูกวาทกรรม(discourse)ของประชาธิปไตยครอบงำ(dominate)ว่าเมื่อใดก็ตามที่ทหารซึ่งมีอาวุธมีรถถังเข้ามาจัดการจะต้องเป็น"เผด็จการ"ซึ่งจะไปสอดคล้องกับบ้านเมืองยุคเก่าช่วงการปฏิรูปการเปลี่ยนแปลงการปกครองรวมถึงไปสอดคล้องกับหลักการบางอย่างของคอมมิวนิสต์ที่ส่วนใหญ่ทหารเป็นผู้คุมอำนาจในการบริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จเพื่อพยายามให้ทุกคนในสังคมที่มีความต่างกันมากมีความเท่าเทียมกันให้มากที่สุดซึ่งความจริงแล้วการปกครองรูปแบบนี้เหมาะกับบางประเทศ เช่น ประเทศที่ขาดแคลน มีความกันดาร มีประชากรจำนวนมาก และมีความต่างของชนชั้นในสังคมแบบสุดขั้ว เป็นต้น

แต่สำหรับประเทศไทยบริบทต่างๆมิได้เหมาะกับการปกครองรูปแบบคอมมิวนิสต์เพียงแต่มีรัฐบาลบางชุด อาทิ ยุคทักษิณ & รัฐบาลชุดปัจจุบันกำลังใช้ระบบคอมมิวนิสต์มาบริหารจัดการประเทศโดยใช้ตำรวจ(ซึ่งก็มีอาวุธ)มาเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนการดำเนินการต่างๆเพื่อให้ตนเองมีความชอบธรรมแม้ว่าบางอย่างอาจขัดต่อหลักมนุษยชน(Human rights)ก็ตาม

สำหรับเหตุการณ์นี้ทหารสามารถเลือกข้างมาสนับสนุนประชาชน(ผู้ชุมนุม)ได้เพราะที่ผ่านมาถือว่าประเทศไทยได้เกิดการปฏิวัติขึ้นแล้วตั้งแต่เริ่มมีการชุมนุมของกปปส.ซึ่งครั้งนี้ถือว่าเป็น"การปฏิวัติโดยประชาชน"มิได้เริ่มต้นโดยทหารเหมือนครั้งก่อนๆในเมื่อรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรมและขาดคุณธรรมเข้ามาบริหารแม้จะเป็นเพียงรัฐบาลรักษาการณ์แต่ก็สั่งการปราบปรามผู้ชุมนุม อาทิ ใช้แก๊สน้ำตา รวมถึงใช้ปืนและระเบิดซึ่งส่วนใหญ่มองว่าเป็นการกระทำเกินกว่าเหตุเพราะผู้ชุมนุมมาอย่างสงบ สันติ ปราศจากอาวุธ จะมีก็แต่เพียงบางประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกาที่เอนเอียงไปทางรัฐบาลเพราะมีผลประโยชน์ทับซ้อนบางอย่างร่วมกันเช่นหากรัฐบาลชุดนี้กลับมาสหรัฐฯจะได้เข้ามาใช้ไทยเพื่อตั้งฐานทัพเรือในการสอดแนมและเป็นฐานต่อกรกับจีน & เกาหลีเหนือโดยอ้างความชอบธรรมว่าตนเองคือตำรวจโลกผู้พิทักษ์โลกแต่ความจริงสหรัฐฯต้องการช่วงชิงอำนาจในการที่จะได้ครอบครองทรัพยากรจากพื้นที่ทางเอเชีย และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นดินแดนอันสมบูรณ์ เต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติมากมายรวมถึงน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก

ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา สหรัฐฯ และทางฝั่งยุโรป ต้องเผชิญวิกฤติเศรษฐกิจมายาวนานต่อเนื่องกระทั่งความยิ่งใหญ่ที่เคยผงาดในอดีตค่อยๆลดลง ตรงกันข้ามกับทางฝั่งเอเชียที่มี จีน เกาหลี (เหนือ-ใต้) รวมถึงญี่ปุ่น และ สิงคโปร์ ขึ้นมาผงาดบนเวทีเศรษฐกิจโลกแทน พูดง่ายๆก็คือ momentum เปลี่ยนมาทางฝั่งเอเชีย นั่นเอง

นี่คือ "รัฐศาสตร์โลก" ว่าด้วยเรื่องการช่วงชิงอำนาจ (power) และทรัพยากรโลกโดยพยายามเข้าไปแทรกแซง 4 เสาหลัก(ดินแดน/ประชากร/ผู้ปกครอง/อำนาจอธิปไตย)ของประเทศต่่างๆเท่าที่จะทำได้เช่นผ่านกองทุนการเงินระหว่างประเทศเพื่อใช้กฎหมายและเงิ่อนไขเข้ามาบังคับกับประเทศคู่ค้าประเทศสมาชิกเพื่อต่อรองผลประโยชน์ในการเข้าไปลงทุน & ใช้ทรัพยากรของประเทศต่างๆได้อย่างชอบธรรมซึ่งเปลี่ยนรูปแบบจากการล่าอาณานิคมในอดีตมาเป็นผู้ครอบงำเศรษฐกิจโลกแทนหากมองดีๆแล้วประเทศมหาอำนาจเหล่านี้บางครั้งก็ไปในคราบ "นักบุญซาตาน"

สรุปว่า...
ในเมื่อรัฐบาลมีตำรวจ(มีอาวุธและใช้อาวุธโดยถูกกฎหมายทั้งพรก.ความมั่นคง และ พรก.ฉุกเฉิน) vs ผู้ชุมนุม (มือ & ตีน+นกหวีด)เหลือแต่"ทหาร"ที่ยังเป็นตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศและเป็นตัวเดินเรื่องให้เกมนี้จบลงโดยเร็วหากครั้งนี้"ทหาร"เลือกที่จะยืนเคียงข้างประชาชน(เจ้าของประเทศ & เจ้าของอำนาจที่แท้จริง)ทหารก็เป็นเพียงเครื่องมือของประชาชนในการหยิบยืมมาใช้เพื่อพิทักษ์สิทธิอันชอบธรรมของประชาชนมิได้เป็นผู้กระทำ(actor)แต่อย่างใดต่างจากเหตุการณ์ครั้งก่อนๆที่ทหารอยู่ในฐานะผู้กระทำ ดังนั้น เมื่อเหตุการณ์ครั้งนี้สงบลง "ทหาร"จะเป็น"วีรบุรุษ"ในสายตาประชาชนมิใช่ในฐานะผู้สั่งการ /โจร /ผู้ทำลายประชาธิปไตยแต่อย่างใด เพราะเมื่อใดก็ตามที่รัฐ หรือเจ้าหน้าที่รัฐ(ตำรวจ)ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการใช้อาวุธกับประชาชนผู้บริสุทธิ์(ผู้เสียภาษีให้กับประเทศ)โดยอ้างความชอบธรรม เมื่อนั้นรัฐบาล & เจ้าหน้าที่รัฐเหล่านั้นก็มิต่างอะไรกับ "โจร" ที่ปล้นชาติและทำร้ายประชาชน

อย่างที่ ดร.กัญจนา จากธรรมศาสตร์ บอกไว้ว่าประเทศไทย(ซึ่งความจริงแล้วก็เกือบทุกแห่งทั่วโลก)ล้วนมี"ทหาร"เข้าไปมีอิทธิพลในการดำเนินการ 2 ลักษณะ คือ 1)ในฐานะผู้ก่อจลาจลเสียเอง(actor)เพื่อยึดอำนาจบริหารประเทศมาเป็นของตนแบบเบ็ดเสร็จอย่างในอดีตหรือ 2)ฐานะที่เป็นเครื่องมือ(tool)เพื่อสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในการปราบปรามจลาจลเพื่อ"คานอำนาจ"ของฝ่ายต่างๆเพื่อนำความสงบเรียบร้อยกลับคืนสู่บ้านเมืองให้เป็นปกติอีกครั้ง...