วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

สถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของไทยที่เปิดสอน รัฐศาสตร์ และ รัฐประศาสนศาสตร์ ระดับบัณฑิตศึกษา

ประทุมทิพย์ ทองเจริญ
เกณฑ์ที่ใช้พิจารณาเบื้องต้น 4 เกณฑ์หลัก ได้แก่
1)       ชื่อเสียง / ความนิยมที่จะเข้ารับการศึกษา
2)       ระยะเวลาการเปิดสอน
3)       การจัดอันดับ
4)       การสำเร็จการศึกษาของบัณฑิต

ที่
คณะ
   สถาบันอุดมศึกษา
หลักสูตรปริญญาเอก
1[1]
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต
2
คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ รัฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชารัฐศาสตร์)
3
ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์
 
ม.เกษตรศาสตร์ (ป.เอกยังไม่เปิดสาขานี้) เท่าที่มี คือ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  (สาขาสังคมศาสตร์)
4
คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ม.เชียงใหม่
 
(กำลังเตรียมที่จะเปิดสอน 2 หลักสูตร)
1) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐศาสตร์)
2) รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การเมืองและการบริหารรัฐกิจ)
5
ภาควิชาสังคมศาสตร์
คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
ม.มหิดล   รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต
สาขานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ
6
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ขอนแก่น ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ม.ขอนแก่น รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต
สาขาการบริหารกิจการสาธารณะ  
(หลักสูตรนานาชาติ)
7
คณะวิทยาการจัดการ
ม.สงขลานครินทร์
(วิทยาเขตหาดใหญ่)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การจัดการ)
8[2]
คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)  รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต
(หลักสูตรภาษาไทย และ หลักสูตรนานาชาติ)
9
คณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตรัฐประศาสนศาสตร์
10 -สาขาวิชารัฐศาสตร์
-สาขาวิชาวิทยาการจัดการ  
(รปศ..โท)
ม.สุโขทัยธรรมาธิราช รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต
11[3] วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ .บูรพา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์)
12 คณะวิทยาการจัดการ ม.ศิลปากร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การจัดการ)
13 วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา (U-MDC) .ทักษิณ (เดิม คือ มศว.ภาคใต้) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์)
14 ภาควิชารัฐศาสตร์    
คณะสังคมศาสตร์
.ศรีนครินทรวิโรฒ ยังไม่เปิดสอนระดับป.เอก



[1] ลำดับที่ 1-7 รายชื่อ 7 มหาวิทยาลัยชั้นนำทางสังคมศาสตร์ ตามการจัดอันดับของ QS University Ranking ค.ศ.2009-2012 
ทั้งนี้  บางปีลำดับล่างๆ เช่น ลำดับที่ 4-7 อาจสลับกัน
[2] ในงานของ เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ (2554: 79) เรื่อง"ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรปศ" บทที่ 4 พูดถึงหลักสูตรรปศ.ของไทย เป็นการนำงานของ อุทัย เลาวิเชียร ที่ได้กล่าวถึงสถาบันอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงและเปิดสอนสาขารัฐประศาสนศาสตร์มาอย่างยาวนานมาวิพากษ์ ซึ่งมีรายชื่อเพิ่มเติมอีก 3 แห่ง คือ ลำดับที่ 8-10 (ที่มา Uthai Laohavichien, "Education for public administration in Thailand", in Ledivina V Carino,ed. Public Education management in ASIA amd The Pacific (Manila: Philipines Institute for Development Studies,1991), pp.305-328)
[3] ลำดับที่ 11-14 (เพิ่มเติม) เนื่องจากปัจจุบันมีการเปิดสอนในระดับปริญญาเอกแล้ว และกำลังได้รับความนิยมจากผู้สนใจทั่วไป รวมถึงมีบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขานี้แล้ว เช่น ม.บูรพา

ข้อสังเกต:
1. ชื่อปริญญาที่ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ..1) รัฐศาสตร์ 2) รปศ. 3)การจัดการ
2. มีเพียงวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ม.ขอนแก่น และ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ที่เปิดสอน

หลักสูตรนานาชาติ ขณะที่สถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ ในกลุ่ม เปิดสอนเฉพาะหลักสูตรภาษาไทย นอกจากนี้ ยังพบว่า
ชื่อสาขาก็แตกต่างออกไปจากกลุ่มคือ ใช้คำว่า "สาขาการบริหารกิจการสาธารณะ"
3. การวัดผลการศึกษา พบว่าม.ธรรมศาสตร์ และ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์มีการให้เกรดเป็น "ประจุลบ" ด้วย
กล่าวคือ ม.ธรรมศาสตร์ เพิ่มประจุ A-, B- เข้ามาในเกรดปกติ ขณะที่นิด้า เพิ่ม A-,B- และ C- ในระบบด้วยเพื่อให้การวัดผล
มีความเที่ยงธรรมมากขึ้น เนื่องจากการศึกษาระดับปริญญาเอกคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนอาจจะใกล้เคียงกันมาก ห่างกันเพียงเล็กน้อย แต่ก็ถือว่ามีความต่างกันอยู่ การเพิ่มเกรดให้มีความหลากหลายจะช่วยให้เกิดความยุติธรรมมากขึ้น การให้เกรด
แบบประจุลบนี้สอดคล้องกับการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกา จึงถือว่ามีความเป็นสากล และมีแนวโน้มว่าในอนาคตสถาบันอุดมศึกษาของไทยอีกหลายแห่งจะมีการปรับเกณฑ์การวัดผลให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป