วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

e-Education : มิติใหม่ทางการศึกษาในโลกไร้พรมแดน

ประทุมทิพย์  ทองเจริญ *
สมบูรณ์  ศิริสรรหิรัญ**

บทคัดย่อ

ทุกวันนี้ ข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี (IT) มีความสำคัญกับคนทั่วโลกมากขึ้น ทั้งในชีวิตประจำวัน การศึกษา และการทำงาน โดยเฉพาะด้านการศึกษาซึ่งที่ผ่านมาเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาได้ถูกนำมาเผยแพร่ในห้องสมุดเป็นครั้งแรกกว่า 50 ปีมาแล้ว สำหรับประเทศไทยนำมาใช้ครั้งแรก เมื่อ พ..2483 จากนั้นได้พัฒนารูปแบบเรื่อยมา กระทั่งได้นำอิเลคทรอนิกส์ (e) เข้ามาใช้อย่างจริงจัง จนกลายมาเป็นนโยบาย e-Education ของรัฐบาลชุดปัจจุบัน (พ..2555-2558) โดยมี CAI  WBI และ E-learning เป็นเครื่องมือหลักที่ใช้ขับเคลื่อนนโยบาย บทความนี้ได้นำตัวแบบหลายกระแส (Multiple Streams) ของ John Kingdon (ค..1984 และ 1995) มาทำการวิเคราะห์นโยบายเพื่อหาความสัมพันธ์ของบริบทและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ 3 กระแสหลัก  คือ กระแสปัญหา (Problem Stream) กระแสนโยบาย (Policy Stream) และกระแสทางการเมือง (Political Stream) 

วัตถุประสงค์ของการวิจัยมี 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาและบริบทที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย e-Education 2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของบริบทและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย e-Education กับตัวแบบหลายกระแส (Multiple Streams) 3) เพื่อหาแนวทางและข้อเสนอแนะการประเมินผลนโยบาย e-Education ทั้งเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติ

ผลการศึกษาพบว่า 1) กระแสปัญหา - สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคไร้พรมแดนที่กลายมาเป็นสังคมฐานความรู้ (KBS) และเศรษฐกิจฐานความรู้ (KBE)  2) กระแสนโยบาย - สัมพันธ์กับกฎหมาย แผน และนโยบายก่อนหน้านี้  ได้แก่ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542   แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ฉบับที่ 10 และฉบับที่ 11 (ฉบับปัจจุบัน)  รวมถึงกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT 2010) กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT 2020) และนโยบายการศึกษาของรัฐบาลชุดปัจจุบัน  3) กระแสทางการเมือง - สัมพันธ์กับกลุ่มผลประโยชน์ที่ให้ความสำคัญกับ IT มากขึ้น โดยเฉพาะการสานต่อนโยบาย IT สมัยนายกรัฐมนตรี พ...ทักษิณ ชินวัตร สำหรับแนวทางการประเมินผลนโยบายทั้งในเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติ มีการเสนอว่าควรใช้ระบบประเมินและให้ข้อเสนอแนะผ่านโฮมเพจในเวบไซต์ของสถานศึกษาและของกระทรวงศึกษาธิการ ตลอดจนจัดกิจกรรมสร้างสรรค์และการประกวดของเยาวชนเพื่อสร้างความตระหนักและกระตุ้นการเรียนรู้ผ่านระบบ e-Education  รวมถึงการสำรวจสถิติการเข้าไปใช้เครื่องมือทั้ง 3 อย่าง (CAI  WBI และ E-learning) ของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปประมวลผลและสังเคราะห์ในเชิงลึกต่อไป

คำสำคัญ : e-Education/ ตัวแบบหลายกระแส/ สารสนเทศทางการศึกษา 


*อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี,  
นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต  คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล
** รองศาสตราจารย์ ดร, ภาควิชาสังคมศาสตร์  คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล, อาจารย์ที่ปรึกษา

e-Education : A New Dimension of Education in Globalization

Pratumtip Thongcharoen *
Somboon  Sirisunhirun**

Abstract

Information Technology (IT) plays an important role in various ways in today society: daily life, work and education, particularly through studying and learning. IT has been introduced in academic in libraries for more than 50 years. IT has been using in Thai education since 1940, and then it was set to be e-Education policy of the Thai Government (2012-2015). There are three special components of e-Education; CAI WBI and E-learning to drive this policy in order to encourage the Thai society becoming globalization.

There are three main objectives of the research; 1) to study background and contexts of e-Education; 2) to analyze the relation of contextual factors related to e-Education policy which concern with The Multiple Streams Model of John Kingdon (1984 and 1995); 3) to guideline for evaluation and recommendations for e-Education as a theoretical and practical.

The results showed that firstly, the problem stream – related to the transformation of the world becoming a global knowledge-based society (KBS) and knowledge-based economy (KBE). Secondly, the policy stream – in relation to earlier laws plans and policies (IT strategic plan 2010, ICT strategic plan 2020, The National Education Act 1999, and The National Economic and Social Development Plan No.9, 10 and 11). The last, the political stream - relations with interest groups that focus on IT and stakeholders who increasing awareness of using IT in Education, especially IT policy to continue the former Prime Minister Thaksin Shinawatra for the evaluation of policies both theoretical and practical.

Finally, to evaluate e-Education policy, the results suggested that it should use evaluate and provide feedback via the homepage in the website of Educational Institutes and the Ministry of Education. As well as, creative activities and competition for young people to raise awareness and simulate learning through e-Education as well as a statistical survey of the use of three components of e-Education (CAI WBI and E-learning) to be advantages of improvement and development this policy in the future.

Keywords: e-Education/ Multiple Streams/ Information Technology


* Instructor of the Department of Public Administration, Suratthani Rajabhat University,
Ph.D. Candidate at The Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University.
**Associate Professor, Dr., Faculty of Social Sciences and Humanities, Mahidol University, Advisor

 

วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Reinventing Government / ปฏิรูประบบราชการญี่ปุ่น

ประเด็น
รายละเอียด
สภาพทั่วไป
- พระจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน คือ จักรพรรดิอะกิฮิโตะ
นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ นายชินโสะ อาเบะ (ธ.ค.2555 เป็นต้นไป)
- ประชากรประมาณ 127 ล้านคน (อันดับ 10 ของโลก / 2008)
- ตั้งอยู่บนเกาะ 4 เกาะ มีเกาะเล็กๆ 3,900 เกาะ
- มีภูเขาไฟจำนวนมาก
- เกิดภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง (โดยเฉพาะแผ่นดินไหว)
- มีพื้นที่ทำการเกษตรจำกัด
ผู้ปกครอง
- พระจักรพรรดิไม่ทรงปกครองประเทศ และมิได้ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ
พระองค์มีพระราชอำนาจเท่าที่รัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นให้ไว้ แต่ในฐานะที่ทรงเป็น
ผู้นำในทางพิธีการ รัฐธรรมนูญจึงบัญญัติว่า ทรงเป็น "สัญลักษณ์แห่งประเทศและ
แห่งความสามัคคีของชนในรัฐ”
- ผู้ปกครองประเทศที่แท้จริง คือ นายกรัฐมนตรี (Prime minister) มีอำนาจแต่งตั้ง
รัฐมนตรีและให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง
จุดเด่น
ญี่ปุ่นเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก
รูปแบบการปกครอง
- ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญมี
- ประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา
การแบ่งการปกครอง
2 ส่วน ได้แก่  1) ส่วนกลาง   และ2) ส่วนท้องถิ่น
องค์กรนิติบัญญัติ  
-กฎหมายของญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลทางประวัติศาสตร์จากกฎหมายของจีน
และมีพัฒนาการเฉพาะตัวในยุคเอโดะผ่านทางเอกสารต่าง ๆ เช่น ประชุมราชนีติ
- สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎร และมนตรีสภา
- สภาผู้แทนราษฎร (สภาล่าง) มีสมาชิก 480 คน มีวาระดำรงตำแหน่งสี่ปี
- มนตรีสภา (สภาสูง) มีสมาชิก 242 คน มีวาระดำรงตำแหน่ง 6 ปี
- มีการเลือกตั้งสมาชิกมนตรีสภาจำนวนครึ่งหนึ่งสลับกันไปทุก 3 ปี
องค์กรนิติบัญญัติ  (ต่อ)
- สมาชิกของสภาทั้งสองมาจากการเลือกตั้งทั่วประเทศ
- ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์เป็นต้นไป[1]
- พรรคเสรีประชาธิปไตยเป็นพรรครัฐบาลมาโดยตลอดตั้งแต่ก่อตั้งพรรคใน
พ.ศ. 2498[2] จนในปี พ.ศ. 2552 พรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่นชนะการเลือกตั้ง จึงทำให้
พรรคเสรีประชาธิปไตยเสียตำแหน่งพรรครัฐบาลซึ่งครองมายาวนานกว่า 54 ปี[3]
- กฎหมายสูงสุดแห่งรัฐ คือ รัฐธรรมนูญ
- กฎหมายหลักของญี่ปุ่นเรียกประมวลกฎหมายทั้งหก มีสภาพเป็นประมวลกฎหมาย
ที่สำคัญหกฉบับ
-บรรดากฎหมายแม่บทของญี่ปุ่นมีสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้ตรา พระจักรพรรดิ
เป็นผู้ทรงประกาศใช้โดยต้องทรงประทับพระราชลัญจกรในประกาศด้วย ทั้งนี้
โดยนิตินัยแล้ว พระจักรพรรดิไม่มีพระราชอำนาจในการยับยั้งกฎหมาย 
-ประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่ง โดยมีประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมันเป็นต้นแบบ
และคงมีผลใช้บังคับอยู่นับแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนปัจจุบัน
ศาล
- ศาลญี่ปุ่นนั้นมีระบบเดียว คือ ศาลยุติธรรม แบ่งเป็นสามชั้นจากต่ำขึ้นไป ดังนี้
        ศาลชั้นต้น ประกอบด้วย ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลครอบครัว
        ศาลอุทธรณ์ เรียก ศาลสูง
        ศาลสูงสุด เรียก ศาลสูงสุด
- ตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษ 2400 เป็นต้นมา ได้มีการวางรากฐานระบบตุลาการใน
ญี่ปุ่นขนานใหญ่โดยใช้ระบบซีวิลลอว์ของยุโรป โดยเฉพาะของฝรั่งเศสและเยอรมนี
เป็นต้นแบบ[4]
ช่วงเวลาเริ่มการปฏิรูป
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และ ทำอย่างจริงจังช่วง ค..1999-2000
การปฏิรูประบบราชการ
(ส่วนกลาง)
-การเสริมสร้างความเป็นผู้นำของนายกรัฐมนตรีและการปฏิรูปอำนาจหน้าที่
ของคณะรัฐมนตรีเพื่อให้การบริหารงานมีความยืดหยุ่น คล่องตัว สามารถตอบสนอง
ข้อเรียกร้องของประชาชนได้อย่างแท้จริง 
-ปรับปรุงโครงสร้างของการบริหารราชการใหม่เพื่อลดขนาด และเพิ่ม
ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของการทำงานโดยภาครัฐ              
- มีการจัดตั้งสถาบันอิสระ (Independence Administration Institute /IAI) ขึ้น
จำนวน 59 แห่ง
การปฏิรูประบบราชการ
(ส่วนกลาง) (ต่อ)
เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบการบริหารงานของหน่วยงานรัฐทั้ง 89 แห่ง
 -ปรับลดขนาดองค์การและจำนวนข้าราชการให้เล็กลงเพื่อให้รัฐบาลสามารถ
บริหารแบบองค์กรขนาดเล็กแต่มีประสิทธิภาพ (Slim and Effective)  
- กฎหมายเลือกตั้งแบบใหม่ของญี่ปุ่น
การปฏิรูประบบราชการ
(ส่วนท้องถิ่น)
-เริ่มมีการกระจายอำนาจการปกครองอย่างจริงจังหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
เนื่องจากรัฐธรรมนูญบังคับไว้
- ประกอบด้วย 2 รูปแบบ คือ จังหวัด และ เทศบาล
- หลักการว่า ภารกิจใดที่ท้องถิ่นสามารถทำได้ ส่วนกลางจะถ่ายโอนไปให้ท้องถิ่น
ทำทั้งหมด โดยรัฐบาลจะพยายามจัดสรรงบประมาณไปให้ท้องถิ่นทำให้มากที่สุด
- ท้องถิ่นได้รับเงินอุดหนุนในอัตราส่วน (2 : 3)
-ส่วนกลางมีบทบาทน้อยลงทำหน้าที่ในการหาเงินลงทุนกับต่างประเทศแต่การ
บริหารจัดการในประเทศโอนภารกิจให้จังหวัดและเทศบาลดำเนินการเกือบทั้งหมด
ถือเป็นต้นแบบของการกระจายอำนาจแห่งหนึ่งของโลกก็ว่าได้
ผลของการปฏิรูป
ระบบราชการในญี่ปุ่น
-ระบบราชการมีความคล่องตัวขึ้น ลดขนาดองค์กร ลดจำนวนข้าราชการ
ปรับโครงสร้างเหลือเพียง 2 ส่วน (ส่วนกลาง และ ส่วนท้องถิ่น)
- สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง (Change)
- ท้องถิ่นมีบทบาทและภารกิจที่สำคัญมาก สอดคล้องการกระจายอำนาจ (Decentralization)
- ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารระบบราชการ
- ผู้นำส่วนกลางและท้องถิ่นเข้มแข็ง
- ลดการทุจริตคอรัปชั่นลง เนื่องจากมีข้อห้ามไว้ เช่น ห้ามแจกเงิน ห้ามแจกของขวัญ
ห้ามแจกพวงหรีด ห้ามจัดเลี้ยงทุกชนิด ห้ามไปเปิดงาน ห้ามเปิดป้ายร้านค้า
ห้ามให้รางวัลนักกีฬา  เป็นต้น
ปัจจัยที่เอื้อความสำเร็จ
การปฏิรูประบบราชการในญี่ปุ่น
- การมีส่วนร่วมของประชาชน
- ผู้นำประเทศ ทั้งส่วนกลางและท้องถิ่นที่เข้มแข็งมีวิสัยทัศน์
โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี 3 คน คือ
      1) นายกรัฐมนตรี นาคาโซเนะ (ค.ศ. 1982 - 1987)  
      2) นายกรัฐมนตรี ฮะชิโมโตะ (ค.ศ. 1996 - 1998)  
      3) นายกรัฐมนตรี โคอิสุมิ (ค.ศ. 2001 - 2006)
- ข้าราชการมีความทุ่มเทเต็มที่ ตั้งใจ
ตราสัญลักษณ์
ของระบบราชการ







[1] สำรวจญี่ปุ่น: รัฐบาล สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
[2] ยกเว้นช่วงสั้น ๆ ใน พ.ศ. 2536 ที่เกิดรัฐบาลผสมของพรรคฝ่ายค้าน "A History of the Liberal Democratic Party". พรรคเสรีประชาธิปไตยญี่ปุ่น. http://www.jimin.jp/jimin/english/history/index.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 2007-03-27.
[3] Ian Rowley. "Historic victory for DPJ in Japan's election". Business Week. http://www.businessweek.com/globalbiz/blog/eyeonasia/archives/2009/08/historic_victor.html.
[4] Japanese Civil Code"". Encyclopædia Britannica. 2006. http://www.britannica.com/eb/article-9043364?hook=6804.

วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ป.เอก Cornell University เรียนอะไร?

ประทุมทิพย์ ทองเจริญ


สรุปการฟังบรรยายพิเศษ
การศึกษาปริญญาเอก ณ Cornell University
โดย อ.จตุรงค์ นภาธร
รายวิชาการศึกษาอิสระสำหรับนักนโยบาย (SHPP 571)  สอนโดย อ.ดร.โชคชัย สุทธาเวศ
วันที่ 30 กรกฎาคม 2555 เวลา 13.30-14.30 . มหาวิทยาลัยมหิดล
 

ประเด็น
หลักสูตรปริญญาเอก
Cornell University
อันดับโลก
อันดับ 15 ของโลก
(QS University Ranking 2011-2012)
ระยะเวลา
ไม่เกิน 8 ปี
จำนวนนักศึกษา
5-7 คน
ชิ้นงานต่อสัปดาห์
(Review หนังสือ /บทความ)
6-8 ชิ้น/สัปดาห์
ภาระงานอื่น
TA : Teaching Assistant
(ขึ้นปี 5 สอนนศ..ตรี)
RA: Research Assistant
(ทำวิจัยร่วมกับอ.ที่ปรึกษา)
Coursework
2 ปี (4 ภาคการศึกษา)
จำนวนรายวิชาที่เรียน
18-20 วิชา
ระเบียบวิธีวิจัย
5 วิชา
Qualify Examination : QE
2 ครั้ง
ครั้งแรกปี 2 หลังจบ Coursework
ถ้าไม่ผ่านสอบปีถัดไป
ถ้าไม่ผ่านทั้ง 2 ครั้ง ต้องย้ายมหาวิทยาลัย แต่อ.ที่ปรึกษาจะช่วยหาที่เรียนใหม่ให้
รูปแบบการเรียน
Discussion /
Leader 1 คน/สัปดาห์/
เกรด
5 เกรด (รวม 4.00)
A+, A-, A, B+, B
ปริญญาที่ได้รับ
โท และ เอก
 


ข้อสังเกต
               1. สำหรับเกรดในเมืองไทย ส่วนใหญ่ปริญญาเอกจะมี 3 เกรดหลัก คือ A B+ และ B  ถ้าต่ำกว่า B จะต้องลงทะเบียนเรียนในรายวิชานั้นใหม่ ซึ่งมหาวิทยาลัยในต่างประเทศที่เรียนเนื้อหาวิชา (Coursework) คำนึงถึงความต่างของการให้เกรดที่มีความละเอียดและซับซ้อน รวมถึงเกณฑ์การให้คะแนนในระดับปริญญาเอก เนื่องจากการศึกษาระดับนี้มีจำนวนผู้เรียนในชั้นเรียนน้อย (ประมาณ 5-10 คน) ส่วนใหญ่ผู้เรียนจะเป็นหัวกะทิที่คัดมาแล้วอย่างดี ดังนั้น  คะแนนและชิ้นงานจึงมีความใกล้เคียงกัน สุดท้ายเมื่อรวมคะแนนแล้วมีความต่างกันไม่มากนัก ถ้าเป็นการแข่งขันกีฬาระดับโลกก็เทียบเคียงได้กับการวิ่งเข้าเส้นชัย หรือ แตะขอบสระ(น้ำ)แบบพร้อมๆกันจนต้องนำภาพช้ามาตัดสิน เป็นต้น ดังนั้น ความลำบากใจจึงตกแก่ผู้ประเมินผลการเรียน (อาจารย์ผู้สอน) ด้วยเหตุนี้ หลักสูตรในต่างประเทศจึงมีประจุลบ (-) เพิ่มขึ้นมาเพื่อเป็นตัวเลือกในการประเมินความต่างกันของระดับความรู้ความสามารถของผู้เรียนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม (equity and legitemacy) ตลอดจนความชัดเจนในการประเมินผลการศึกษามากยิ่งขึ้น
               2. รายวิชาระเบียบวิธีวิจัย ในบ้านเรา (เมืองไทย) หลักสูตรปริญญาเอกส่วนใหญ่จะกำหนดให้ศึกษาเพียงแค่รายวิชาเดียว ซึ่งหากเปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกอย่าง Cornell University และมหาวิทยาลัยชั้นนำอีกหลายแห่งโดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาที่มักกำหนดให้มีการเรียนเนื้อหาวิชา (Coursework) มักจะระบุจำนวนวิชาที่เกี่ยวข้องกับระเบียบวิธีวิจัยในรายวิชาบังคับ ให้นักศึกษาปริญญาเอกได้เรียนหลายวิชาด้วยกัน เพราะเขามีฐานคิดที่ว่าการเรียนปริญญาเอกจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความเชี่ยวชาญทั้งทฤษฎีและระเบียบวิธีวิทยาการวิจัย หากไม่มีความเข้มข้นของทั้งสองสิ่งนี้แล้ว เมื่อสำเร็จการศึกษาไปแล้วจะนำไปประยุกต์ใช้ได้ค่อนข้างลำบาก  ดังนั้น หลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาเอกในบ้านเราจึงควรพิจารณาถึงประเด็นนี้ด้วย

อื่นๆ
-ช่วงหน้าหนาวอุณหภูมิ -30 องศาเซลเซียส
-เมืองการศึกษา ปลอดภัย แต่ค่อนข้างเงียบ บรรยากาศดีร่มรื่น
-ห้างสรรพสินค้า มีแต่เฉพาะขายของใช้เท่าที่จำเป็น อยู่ห่างไกล ไม่คึกครื้นเหมือนเมืองไทย
-อาหารไทยแพงมาก ถ้าจะกินให้อร่อยและประหยัดต้องทำกินเอง
-ค่าตั๋วเครื่องบินถ้าจองไปกลับ (Two way tickets) จะถูกกว่าจองเที่ยวเดียว ราคาตั๋วไป-กลับประมาณ 70,000 บาท ส่วนใหญ่จึงเลือกจองแบบไป-กลับ (คุ้มกว่า) ถ้าไปเที่ยวเดียวก็ราคาประมาณนี้ ยกเว้นช่วงที่เกิดเหตุการณ์ 911 ตั๋วถูกมากประมาณหมื่นกว่าบาท

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมายเหตุ : อ.จตุรงค์ นภาธร อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์การ สังกัดคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ปริญญาโท (Master of Industrial and Labor Relations) (Human Resource Management and Organization), กำลังศึกษาปริญญาเอก ณ  Cornell University, USA ปี 2547 (ทุนธนาคารแห่งประเทศไทย)